นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 63.5 มองว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงและควรเร่งแก้ไขโดยเร็วเพราะอาจนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจได้ ถัดมาร้อยละ 69.9 และร้อยละ 63.5 ต้องการให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษในปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน และปัญหาหนี้สาธารณะตามลำดับ
ส่วนปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการให้รัฐบาลเฝ้าระวังมีดังนี้ ปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ (ร้อยละ 96.9) ปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำ (ร้อยละ 93.6) ปัญหาเงินบาทแข็งค่า (ร้อยละ 90.5) ภาวะเงินเฟ้อ/ข้าวของแพง (ร้อยละ 82.5) และปัญหาการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (ร้อยละ 81.0)
สำหรับข้อเสนอแนะในการบริหารเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่เหลือของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ มีดังนี้
อันดับ 1 ขอให้เลิกและปรับเปลี่ยนการดำเนินโครงการประชานิยมต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว เช่น การกำหนดวงเงินที่ชัดเจนในแต่ละปีการผลิต และควรเป็นระบบที่อิงกับราคาตลาด มีการจัดทำโซนนิ่งพื้นที่การผลิตที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไปพร้อมๆกัน
อันดับ 2 เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินในโครงการลงทุนต่างๆ และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการ Mega projects
อันดับ 3 จริงจังกับการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ดำเนินโครงการต่างๆ ด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
อาจนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ ไม่ทราบ
1. ภาวะเงินเฟ้อ / ข้าวของแพง 17.5 47.6 20.6 14.3 0 2. เงินบาทแข็งค่า 7.9 52.4 33.3 4.8 1.6 3. หนี้สินภาคครัวเรือน 3.2 23.8 52.4 17.5 3.1 4. หนี้สาธารณะ 1.6 34.9 34.9 28.6 0 5. การทุจริตคอร์รัปชั่น 1.6 6.3 25.4 63.5 3.2 6. เศรษฐกิจโลกตกต่ำ 4.8 54 33.3 6.3 1.6 7. ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ 3.1 54 38.1 4.8 0 8. การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ 15.9 41.3 30.2 9.5 3.1 9. อื่นๆ คือ (1) เศรษฐกิจในประเทศและเอเชีย (2) การผันผวนของค่าเงินบาท (3) การกระจายรายได้(4) การกู้เงินของรัฐบาลมาลงทุนในโครงการที่ไม่คุ้มค่า (5) การปรับตัวของ SMEs ในการเปิด AEC
(6) โครงการรับจำนำข้าว (7) ความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
2. ข้อเสนอแนะในการบริหารเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่เหลือของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์
อันดับ 1 ขอให้เลิกและปรับเปลี่ยนการดำเนินโครงการประชานิยมต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว เช่น การกำหนดวงเงินที่ชัดเจน
ในแต่ละปีการผลิต และควรเป็นระบบที่อิงกับราคาตลาด มีการจัดทำโซนนิ่งพื้นที่การผลิตที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตไปพร้อมๆกัน
อันดับ 2 เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินในโครงการลงทุนต่างๆ และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุน
ในโครงการ Mega projects
อันดับ 3 จริงจังกับการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ดำเนินโครงการต่างๆ ด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
อันดับ 4 ให้ความสำคัญกับการดูแลและบริหารหนี้สาธารณะอย่างใกล้ชิด
อันดับ 5 อื่นๆ คือ รัฐมนตรีต้องเก่งมีความรู้มีความสามารถ/สร้างความแข็งแกร่งให้ภาคธุรกิจและภาคเกษตรกรรม/เตรียมความพร้อมสำหรับ
การเข้าสู่ AEC/ ควรลดปัญหาและประเด็นทางการเมือง
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงของประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น
2. เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการบริหารเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีข้างหน้า
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 31 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาต บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฟินันซ่า คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11 — 18 มิถุนายน 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 20 มิถุนายน 2556ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 27 42.9 หน่วยงานภาคเอกชน 22 34.9 สถาบันการศึกษา 14 22.2 รวม 63 100 เพศ ชาย 31 49.2 หญิง 32 50.8 รวม 63 100 อายุ 26 ปี — 35 ปี 23 36.5 36 ปี — 45 ปี 19 30.2 46 ปีขึ้นไป 21 33.3 รวม 63 100 การศึกษา ปริญญาตรี 4 6.4 ปริญญาโท 46 73 ปริญญาเอก 13 20.6 รวม 63 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 10 15.9 6-10 ปี 16 25.4 11-15 ปี 10 15.9 16-20 ปี 9 14.3 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 18 28.5 รวม 63 100--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--