กรุงเทพโพลล์: 2 ปีผ่านมาเหลียวหลังแลหน้าปัญหาน้ำท่วม

ข่าวผลสำรวจ Friday August 2, 2013 11:40 —กรุงเทพโพลล์

คนกรุงเทพฯ และปริมณฑล เชื่อมั่นแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ 69.9% ห่วงมีการทุจริตในงบประมาณบริหารจัดการน้ำ

เนื่องด้วยกรมอุตุฯ มีประกาศเตือนภัยจากพายุเชบี ซึ่งจะส่งผลให้ในช่วงวันที่ 2 — 5 สิงหาคมนี้ จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกฉียงเหนือ และอาจกระทบกับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดังที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “2 ปีผ่านมา เหลียวหลังแลหน้าปัญหาน้ำท่วม ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,194 คน พบว่า

ในภาพรวมประชาชนร้อยละ 54.5 เห็นว่ารัฐบาลพร้อมรับมือกับปัญหาน้ำท่วม ขณะที่ร้อยละ 45.5 เห็นว่ายังไม่พร้อม โดยประชาชนเห็นว่ารัฐบาลมีความพร้อมในด้านการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุด (ร้อยละ 64.9) ขณะที่มีความพร้อมในด้านการรับมือและความฉับไวในการแก้ปัญหาหากเกิดน้ำท่วมน้อยที่สุด (ร้อยละ 48.0)

เมื่อถามประชาชนว่ารัฐบาลจริงจังมากน้อยเพียงใดกับการวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เป็นรูปธรรม ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.2 เห็นว่าจริงจังมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 46.8 เห็นว่าจริงจังน้อยถึงน้อยที่สุด และเมื่อถามต่อว่าเชื่อมั่นต่อแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 43.2 บอกว่า “เชื่อมั่น” ขณะที่ร้อยละ 37.5 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 19.3 ไม่รู้เกี่ยวกับแผนบริหารจัดการน้ำเลย

ส่วนความเห็นว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่นมากน้อยเพียงใด กับการใช้เงินงบประมาณบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ร้อยละ 69.9 ระบุมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 30.1 ระบุน้อยถึงน้อยที่สุด

ด้านความกังวลว่าจะเกิดน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จากข่าวเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ39.7 กังวลมากถึงมากที่สุด และเมื่อถามว่าปีนี้จะเกิดวิกฤตอุทกภัยรุนแรงเหมือนเมื่อปี 54 หรือไม่ ร้อยละ 48.0 คิดว่าจะเกิดรุนแรงน้อยกว่าปี 54 ร้อยละ 11.0 คิดว่าจะเกิดรุนแรงเหมือนปี 54 และร้อยละ 4.4 คิดว่าจะเกิดรุนแรงกว่าปี 54 ขณะที่ร้อยละ 36.6 คิดว่าจะไม่เกิดขึ้น

สำหรับการวางแผนซื้อ น้ำดื่ม อาหารแห้ง ตุนไว้ใช้ในกรณีที่เกิดน้ำท่วม ประชาชนร้อยละ 64.3 คิดว่าจะไม่ซื้อ ขณะที่ร้อยละ 35.7 คิดว่าจะซื้อ สุดท้ายเมื่อถามความเห็นว่าหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม รัฐบาลกับ กทม. จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพหรือไม่ ร้อยละ 51.7 คิดว่าน่าจะต่างคนต่างทำงานหรือมีความร่วมมือกันน้อย ขณะที่ร้อยละ 48.3 คิดว่าน่าจะทำงานร่วมกันได้

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การเตรียมความพร้อมรับมือต่อปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
          ด้าน                                                      พร้อมแล้ว(ร้อยละ)           ยังไม่พร้อม (ร้อยละ)
1) ความพร้อมด้านแผนจัดการน้ำที่ไหลจากพื้นที่ตอนบนมาสู่ กทม. และปริมณฑล              49.2                     50.8
2) ความพร้อมด้านการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ/ ระดับน้ำ/ ปริมาณน้ำ               52.9                     47.1
3) ความพร้อมในการรับมือ และความฉับไวในการแก้ปัญหาหากเกิดน้ำท่วม                 48.0                     52.0
4) ความพร้อมในด้านการช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม                               64.9                     35.1
5) ความพร้อมด้านการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วม       57.3                     42.7
   เฉลี่ยรวม                                                             54.5                     45.5

2. รัฐบาลจริงจังมากน้อยเพียงใดกับการวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เป็นรูปธรรม
  • จริงจังมากถึงมากที่สุด
    (โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 9.6 และมากร้อยละ 43.6)             ร้อยละ      53.2
  • จริงจังน้อยถึงน้อยที่สุด
    (โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 40.0 และน้อยที่สุดร้อยละ 6.8)             ร้อยละ      46.8

3. ความเชื่อมั่นต่อแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล
   เชื่อมั่น                                                    ร้อยละ      43.2
   ไม่เชื่อมั่น                                                  ร้อยละ      37.5
   ไม่รู้เกี่ยวกับแผนบริหารจัดการน้ำเลย                              ร้อยละ      19.3

4. ความเห็นว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่นมากน้อยเพียงใด กับการใช้เงินงบประมาณบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล
  • มากถึงมากที่สุด
    (โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 23.3 และมากร้อยละ 46.6)            ร้อยละ      69.9
  • น้อยถึงน้อยที่สุด
    (โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 26.1 และน้อยที่สุดร้อยละ 4.0)             ร้อยละ      30.1

5. ความกังวลว่าจะเกิดน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จากข่าวเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด
  • มากถึงมากที่สุด
    (โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 7.7 และมากร้อยละ 32.0)             ร้อยละ     39.7
  • น้อยถึงน้อยที่สุด
    (โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 42.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 17.5)            ร้อยละ     60.3

6. ความเห็นว่าปีนี้จะเกิดวิกฤตอุทกภัยรุนแรงเหมือนเมื่อปี 54 หรือไม่
   คิดว่าจะเกิดรุนแรงกว่าปี 54                                    ร้อยละ      4.4
   คิดว่าจะเกิดรุนแรงเหมือนปี 54                                  ร้อยละ     11.0
   คิดว่าจะเกิดรุนแรงน้อยกว่าปี 54                                 ร้อยละ     48.0
   คิดว่าจะไม่เกิดขึ้น                                            ร้อยละ     36.6

7. การวางแผนซื้อ น้ำดื่ม อาหารแห้ง ตุนไว้ใช้
   คิดว่าจะซื้อ                                                 ร้อยละ     35.7
   คิดว่าจะไม่ซื้อ                                               ร้อยละ     64.3

8. ความคิดเห็นว่ารัฐบาลกับ กทม. จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพหรือไม่ หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม
   คิดว่าน่าจะทำงานร่วมกันได้                                     ร้อยละ     48.3
   คิดว่าต่างคนต่างทำงานหรือมีความร่วมมือกันน้อย                      ร้อยละ     51.7

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
  • เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการเตรียมความพร้อมและแผนบริหารจัดการน้ำท่วมของรัฐบาล
  • เพื่อสะท้อนความเห็นและความกังวลต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้
ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 21 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองสาน คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางซื่อ บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท ภาษีเจริญ ลาดกระบัง สาทร สายไหม หลักสี่ และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,194 คน เป็นชายร้อยละ 50.7 และหญิงร้อยละ 49.3

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :   30 กรกฎาคม — 1 สิงหาคม 2556

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :   2 สิงหาคม 2556

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                    605      50.7
          หญิง                                    589      49.3
          รวม                                  1,194       100
อายุ
          18 — 25 ปี                              278      23.3
          26 — 35 ปี                              314      26.3
          36 — 45 ปี                              295      24.7
          46 ปีขึ้นไป                               307      25.7
          รวม                                  1,194       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                           782      65.5
          ปริญญาตรี                                354      29.6
          สูงกว่าปริญญาตรี                            58       4.9
          รวม                                  1,194       100
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ              117       9.8
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน               267      22.4
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                302      25.4
          เจ้าของกิจการ                             53       4.4
          รับจ้างทั่วไป                              213      17.8
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                   105       8.8
          นักศึกษา                                 109       9.1
          อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น           28       2.3
          รวม                                  1,194       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ