กรุงเทพโพลล์: “ชีวิตประจำวันของเยาวชนในยุคสื่อออนไลน์” เยาวชนเกือบครึ่งยอบรับว่าตนเอง “ติดสื่อออนไลน์” โดย 80.6% ใช้พูดคุย หรือ chat

ข่าวผลสำรวจ Thursday September 19, 2013 09:06 —กรุงเทพโพลล์

ปัจจุบันสื่อออนไลน์และสังคมออนไลน์ เข้ามามีบทบาทกับสังคมเป็นอย่างมากทั้งในเรื่องการทำงานและการดำรงชีวิต เยาวชนก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่ใช้สื่อประเภทนี้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในหัวข้อ “ชีวิตประจำวันของเยาวชนในยุคสื่อออนไลน์” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,186 คน พบว่า

อุปกรณ์ที่เยาวชนใช้สำหรับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ในปัจจุบันมากที่สุดคือ มือถือ/Smart phone ร้อยละ 69.4 รองลงมาคือ Computer / notebook ร้อยละ 25.3 และ Tablet (iPad/Galaxy Tab ฯลฯ) ร้อยละ 5.3

ส่วนเวลาที่เยาวชนอยู่กับสื่อออนไลน์ / สังคมออนไลน์ เฉลี่ยต่อวัน มากที่สุด คือประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 32.6 รองลงมาคือ ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 19.7 และประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 17.1

สำหรับวัตถุประสงค์ในการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนในปัจจุบันคือ ใช้พูดคุย/chat ร้อยละ 80.6 รองลงมาคือดูความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ ร้อยละ 53.4 และติดตามข่าวสารต่างๆ ร้อยละ 49.2

ทั้งนี้เมื่อถามถึงผลการเรียนและประสิทธิภาพในการทำงานหลังการใช้สื่อออนไลน์ เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 66.5 ระบุว่าเรียน/ทำงานได้เท่าเดิม และร้อยละ 23.3 ระบุว่าเรียน/ทำงานดีขึ้น โดยมีเพียงร้อยละ 10.2 ที่ระบุว่าเรียน/ทำงานลดลง ส่วนการใช้เวลาในการพูดคุย/ทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัวหลังจากการใช้สื่อออนไลน์ เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.9 ระบุว่าใช้เวลาพูดคุยกันเท่าเดิม รองลงมาร้อยละ 17.3 ระบุว่าพูดคุยกันมากขึ้น และร้อยละ16.8 ระบุว่าพูดคุยกันน้อยลง

ความเห็นต่อประเด็นการติดสื่อออนไลน์ เยาวชนร้อยละ 54.3 ระบุว่าตนเองไม่ได้ติดสื่อออนไลน์ (เล่นก็ได้ไม่เล่นก็ได้ ไม่ซีเรียส) ขณะที่ร้อยละ 45.7 ยอมรับว่าตนเองติดสื่อออนไลน์ (ต้องเล่นทุกวันและต้องหาเวลา/โอกาสเล่นจนได้)

สุดท้ายเมื่อถามถึงประโยชน์ที่ได้จากการใช้สื่อออนไลน์ อันดับแรกเยาวชนระบุว่า รับรู้ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และไวกว่าทางทีวี ร้อยละ 32.7 รองลงมาระบุว่า หาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ความรู้เพิ่มเติมร้อยละ 19.9 และคุยกับเพื่อน พ่อแม่ ญาติ หรือคนที่อยู่ห่างไกล ได้สะดวก โดยไม่ต้องเสียเงิน ร้อยละ 16.7 ดังรายละเอียดในต่อไปนี้

1. อุปกรณ์ที่เยาวชนใช้สำหรับหรับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน
- มือถือ / Smart phone                                                         ร้อยละ 69.4
- Computer  / notebook                                                       ร้อยละ 25.3
- Tablet (iPad/Galaxy Tab ฯลฯ)                                               ร้อยละ  5.3

2. เวลาที่เยาวชนอยู่กับสื่อออนไลน์ / สังคมออนไลน์ เฉลี่ยต่อวัน
- ประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน                                                       ร้อยละ 32.6
- ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน                                                       ร้อยละ 19.7
- ประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน                                                       ร้อยละ 17.1
- ประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวัน                                                      ร้อยละ  9.9
- มากกว่า10 ชั่วโมงต่อวัน                                                         ร้อยละ  9.0
- ประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน                                                       ร้อยละ  8.7
- น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน                                                         ร้อยละ  3.0

3. วัตถุประสงค์ในการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนในปัจจุบัน
- พูดคุย/chat                                                                  ร้อยละ 80.6
- ดูความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ                                                      ร้อยละ 53.4
- ติดตามข่าวสารต่างๆ                                                            ร้อยละ 49.2
- โพสต์ข้อความ /comment/update status                                          ร้อยละ 47.0
- เล่นเกมส์                                                                    ร้อยละ 38.7
- ดูคลิป                                                                       ร้อยละ 35.2
- หาข้อมูลต่างๆ หาแผนที่                                                          ร้อยละ 32.0
- ติดตาม ดารา นักร้อง (fan page)                                                ร้อยละ 22.6
- ซื้อสินค้าออนไลน์                                                               ร้อยละ 20.7
- อื่นๆ อาทิ ขายสินค้าออนไลน์ สมัครสอบ ทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต ฯลฯ                        ร้อยละ  2.6

4. ผลการเรียน หรือ ประสิทธิภาพในการทำงานหลังจากการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชน
- เรียน/ทำงานดีขึ้น                                                              ร้อยละ 23.3
- เรียน/ทำงานเท่าเดิม                                                           ร้อยละ 66.5
- เรียน/ทำงานลดลง                                                             ร้อยละ 10.2

5. การใช้เวลาในการพูดคุย/ทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัวหลังจากการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชน
- พูดคุยกันมากขึ้น                                                                ร้อยละ 17.3
- พูดคุยกันเท่าเดิม                                                               ร้อยละ 65.9
- พูดคุยกันน้อยลง                                                                ร้อยละ 16.8

6. ความเห็นของเยาวชนต่อการติดสื่อออนไลน์ของตนเอง
- ติด (จะต้องเล่นทุกวัน  และต้องหาเวลา/โอกาสเล่นจนได้)                               ร้อยละ 45.7
- ไม่ติด (เล่นก็ได้ไม่เล่นก็ได้ ไม่ซีเรียส)                                              ร้อยละ 54.3

7. ประโยชน์ที่เยาวชนได้จากการใช้สื่อออนไลน์มากที่สุด  5 อันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- รับรู้ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และไวกว่าทางทีวี                                   ร้อยละ 32.7
- หาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ความรู้เพิ่มเติม                                        ร้อยละ 19.9
- คุยกับเพื่อน พ่อแม่ ญาติ หรือคนที่อยู่ห่างไกล ได้สะดวก โดยไม่ต้องเสียเงิน                    ร้อยละ 16.7
- ได้ความสนุกสนาน คลายเครียด ได้อยู่ในโลกส่วนตัว                                     ร้อยละ 13.0
- หาข้อมูลทำรายงาน ติดต่องานสะดวกขึ้น สามารถส่งงานให้อาจารย์/ลูกค้าได้                   ร้อยละ  9.9
ผ่านทางออนไลน์

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชน เกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวัน ในเรื่องของเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ต่อวัน วัตถุประสงค์ในการใช้ ผลกระทบที่มีต่อการเรียนการทำงาน ตลอดจนการใช้เวลากับครอบครัว และประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเยาวชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ
          การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากเยาวชนอายุ 15 — 24  ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน คลองสามวา คันนายาว ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม     ปทุมวัน ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง พระนคร มีนบุรี ราชเทวี วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สาทร    สายไหม หลักสี่ และห้วยขวาง และปริมณฑลได้แก่  นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น1,186 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  12- 16 กันยายน 2556
          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  19 กันยายน 2556

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                578      48.8
          หญิง                                608      51.2
                    รวม                    1,186       100
อายุ
          15 ปี - 17 ปี                        355      29.9
          18 ปี — 21 ปี                        453      38.2
          22 ปี — 24 ปี                        378      31.9
                    รวม                    1,186       100
การศึกษา
          ม.ปลาย / ปวช.                      459      38.7
          ปริญญาตรี / ปวส.                     559      47.2
          สูงกว่าปริญญาตรี                        32       2.7
          จบการศึกษา / ไม่ได้ศึกษาต่อ             136      11.4
                    รวม                    1,186       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ