กรุงเทพโพลล์: ประเมินผลงาน 6 เดือน ผู้ว่าฯ กทม.

ข่าวผลสำรวจ Tuesday October 1, 2013 11:13 —กรุงเทพโพลล์

ผ่านมา 6 เดือนคนกรุงให้คะแนนผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์ 5.64 คะแนน และให้คะแนนผลงาน กทม. 5.92 คะแนน 62.6% วอนช่วยลดค่าครองชีพ ของแพง ส่วนการรับมือน้ำท่วมคนกรุงส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่น

เนื่องในวันที่ 29 กันยายน 2556 ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 6 เดือน ของการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 6 เดือน ผู้ว่าฯ กทม.” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,130 คน เมื่อวันที่ 27 - 30 กันยายน ที่ผ่านมา พบว่า

คนกรุงเทพฯ ให้คะแนนความพึงพอใจผลงาน ของ กทม. ในยุคผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ในภาพรวมได้ 5.92 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพึงพอใจผลงานด้านมหานครแห่งอาเซียนมากที่สุด (6.14 คะแนน) รองลงมาคือ ด้านมหานครแห่งการเรียนรู้ (ร้อยละ 6.04) และด้านมหานครแห่งความปลอดภัย (ร้อยละ 5.90) ขณะที่ได้คะแนนมหานครแห่งโอกาสของทุกคนน้อยที่สุด (5.72 คะแนน)

ส่วนคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในภาพรวม ได้ 5.64 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยได้คะแนนความพึงพอใจด้านความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด (5.93 คะแนน) รองลงมาคือ ด้านความขยันทุ่มเทในการทำงาน (5.91 คะแนน) และด้านการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ (5.57 คะแนน) ขณะที่ได้คะแนนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่น้อยที่สุด (5.44 คะแนน)

สำหรับเรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ มากที่สุดในตอนนี้คือ ช่วยลดค่าครองชีพ แก้ปัญหาปากท้อง สินค้าราคาแพง (ร้อยละ 62.6) รองลงมาคือ ช่วยแก้ปัญหาจราจร (ร้อยละ 60.9) และช่วยขุดลอกคูคลอง เตรียมรับมือน้ำท่วม (ร้อยละ 51.6)

เมื่อถามคนกรุงเทพฯ ว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดต่อ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในการป้องกันและรับมือกับปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.4 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 44.6 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด

สุดท้ายเมื่อถามความเห็นในภาพรวมที่ผ่านมา 6 เดือน กทม. มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่เมื่อเทียบกับ ช่วงก่อนหน้านี้ ร้อยละ 59.5 เห็นว่าเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 31.3 เห็นว่าดีขึ้น และร้อยละ 9.2 เห็นว่าแย่ลง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านต่างๆ ของ กทม. ในยุคผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อทำงานครบ 6 เดือน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ด้าน                                                                                ครบ 6 เดือน (คะแนน)
มหานครแห่งอาเซียน เช่น ศูนย์กลางท่องเที่ยวของอาเซียนและของโลก                                   6.14
มหานครแห่งการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้/ ดูแล นร. จากอิ่มท้อง สมองดี มีวินัย                   6.04
มหานครแห่งความปลอดภัย เช่น ติดตั้งกล้อง CCTV /เสริมความปลอดภัยทุกชุมชน                            5.90
มหานครแห่งความสุข เช่น การเชื่อมระบบขนส่งมวลชน/ สร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ                          5.89
มหานครสีเขียวและสะอาด เช่น เพิ่มสวนสาธารณะ/ เพิ่มระบบการจัดการขยะ น้ำเสีย                        5.84
มหานครแห่งโอกาสของทุกคน เช่น ส่งเสริมชุมชนพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งทางเศรษฐกิจ                        5.72
เฉลี่ยรวม                                                                                5.92

2. คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร  เมื่อทำงานครบ 6 เดือน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ด้าน                                                                                ครบ 6 เดือน(คะแนน)
ความซื่อสัตย์โปร่งใส                                                                        5.93
ความขยันทุ่มเทในการทำงาน                                                                  5.91
การปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้                                                              5.57
การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม                                                          5.51
ความฉับไวในการแก้ปัญหา                                                                    5.45
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปลกใหม่                                                              5.44
เฉลี่ยรวม                                                                                5.64

3. เรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ มากที่สุดในตอนนี้(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ช่วยลดค่าครองชีพ แก้ปัญหาปากท้อง สินค้าราคาแพง                                  ร้อยละ          62.6
ช่วยแก้ปัญหาจราจร                                                          ร้อยละ          60.9
ช่วยขุดลอกคูคลอง เตรียมรับมือน้ำท่วม                                            ร้อยละ          51.6
ช่วยแก้ปัญหาความสะอาดของทางเท้า ตลาด คูคลอง                                  ร้อยละ          46.1
ช่วยใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                                     ร้อยละ          45.9
ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้                                                   ร้อยละ          38.0

4. ความเชื่อมั่นต่อ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์  บริพัตร  ในการป้องกันและรับมือกับปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 5.1 และมากร้อยละ 39.5)                             ร้อยละ          44.6
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 39.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 16.0)                            ร้อยละ          55.4

5. ความเห็นในภาพรวมที่ผ่านมา 6 เดือน กทม. มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่เมื่อเทียบกับ ช่วงก่อนหน้านี้
เห็นว่าดีขึ้น                                                                ร้อยละ          31.3
เห็นว่าเหมือนเดิม                                                           ร้อยละ          59.5
เห็นว่าแย่ลง                                                               ร้อยละ           9.2

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์
  • เพื่อต้องการประเมินผลงาน 6 เดือน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • เพื่อสะท้อนเรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยเหลือหรือแก้ปัญหา
  • เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อการรับมือและป้องกันน้ำท่วม
ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 23 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ป้อมปราบ พระนคร ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง สะพานสูง สาทร และสายไหม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,130 คน เป็นชายร้อยละ 48.7 และหญิงร้อยละ 51.3

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  27 - 30 กันยายน 2556

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :   1  ตุลาคม 2556

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               550      48.7
          หญิง                               580      51.3
                    รวม                   1,130       100
อายุ
          18 ปี — 25 ปี                       266      23.5
          26 ปี — 35 ปี                       283        25
          36 ปี — 45 ปี                       273      24.2
          46 ปีขึ้นไป                          308      27.3
                    รวม                   1,130       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      678        60
          ปริญญาตรี                           385      34.1
          สูงกว่าปริญญาตรี                       67       5.9
                   รวม                    1,130       100
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ          80       7.1
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน          303      26.8
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว           293      25.9
          เจ้าของกิจการ                        51       4.5
          รับจ้างทั่วไป                         150      13.3
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ              114      10.1
          นักศึกษา                            114      10.1
          อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น      25       2.2
                   รวม                    1,130       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ