กรุงเทพโพลล์: “พ.ร.บ. นิรโทษกรรมกับการชุมนุมคัดค้าน”

ข่าวผลสำรวจ Monday October 28, 2013 09:36 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนกว่า 60 % ไม่เห็นด้วยกับ การนิรโทษกรรม ให้แกนนำและนักการเมืองที่มีเอี่ยวกับการชุมนุมและเห็นว่าทำเพื่อประโยชน์ของคน/นักการเมืองบางกลุ่ม มากกว่าเพื่อความปรองดอง

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน คน 1,195 พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้กับแกนนำ/ผู้นำการชุมนุม เช่นเดียวกับการนิรโทษกรรมให้กับนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.7 ระบุว่าไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงการนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่ร่วมชุมนุม ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 45.4 ระบุว่าเห็นด้วย ขณะที่ ร้อยละ 34.2 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ทั้งนี้เมื่อถามความคิดเห็นโดยรวมว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมพบว่า ประชาชนร้อยละ 55.1 ระบุว่าไม่เห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 28.2 ที่ระบุว่าเห็นด้วย

ส่วนจุดประสงค์หลักของการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมในครั้งนี้ประชาชนร้อยละ 55.3 มีความเห็นว่าเป็นการออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของผู้มีอำนาจ/ นักการเมืองบางกลุ่มเท่านั้น มีเพียงร้อยละ 28.7 ที่เห็นว่าทำเพื่อความปรองดองของคนในชาติ

สำหรับทิศทางการเมืองไทย หากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผ่านวาระที่ 3 และนำมาประกาศใช้จริง ร้อยละ 41.3 เชื่อว่า อาจเกิดการชุมนุมต่อต้านขยายในวงกว้าง รองลงมาร้อยละ 15.1 เชื่อว่าทำให้ประชาชนสงบสุข ปรองดอง และร้อยละ 14.3 เชื่อว่าจะช่วยลดความตรึงเครียดทางการเมืองและสังคมลงได้

เมื่อถามว่าการชุมนุมคัดค้านการออก พ.ร.บ นิรโทษกรรมที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะสามารถยับยั้งการออกกฎหมายฉบับนี้ได้หรือไม่ ประชาชน ร้อยละ 46.8 คิดว่ายับยั้งไม่ได้ และมีเพียงร้อยละ 11.6 เท่านั้นที่คิดว่ายับยั้งได้

ส่วนกลิ่นอายของระดับความรุนแรงที่ประชาชนรู้สึกได้เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ประกาศชัดที่จะนำการชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคือ การปิดถนนและยกระดับการชุมนุม เคลื่อนขบวนไปที่ต่างๆมากที่สุด(ร้อยละ 26.4) รองลงมาคือ การปิดถนน มีคนมาร่วมชุมนุมเยอะ และยืดเยื้อกินเวลานาน(ร้อยละ 24.4) และ การชุมนุมจะรุนแรงถึงขั้นต้องใช้กำลังเพื่อสลายการชุมนุม(ร้อยละ 15.0)

นอกจากนี้กรุงเทพโพลล์ได้ทำการวัดระดับความขัดแย้งทางความคิดด้านการเมืองของคนในสังคมไทยปัจจุบันพบว่า ร้อยละ50.4 เชื่อว่ามีความขัดแย้งอยู่ในระดับมาก รองลงมาร้อยละ 24.9 มีความขัดแย้งในระดับปานกลาง และร้อยละ 21.8 มีความขัดแย้งในระดับมากที่สุด และมีเพียงร้อยละ 1.8 และ1.1 เท่านั้นที่ระบุว่ามีความขัดแย้งอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ตามลำดับ

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความเห็นเกี่ยวกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่กลุ่มบุคคลต่างๆ ที่กระทำความผิดจากการชุมนุมทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึง วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
                                                 เห็นด้วย      ไม่เห็นด้วย       ไม่แน่ใจ       รวม
                                                (ร้อยละ)       (ร้อยละ)      (ร้อยละ)     (ร้อยละ)
- นิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่ร่วมชุมนุม                    45.4         34.2          20.4        100
- นิรโทษกรรมให้กับแกนนำ/ผู้นำการชุมนุม                   21.9          61           17.1        100
- นิรโทษกรรมให้กับนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง                  21.4         62.7          15.9        100
- การออกกฎหมายนิรโทษกรรมในภาพรวม                   28.2         55.1          16.7        100

2. จุดประสงค์หลักของการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมในครั้งนี้ที่ประชาชนมอง

- เพื่อประโยชน์ของผู้มีอำนาจ/ นักการเมืองบางกลุ่มเท่านั้น                   ร้อยละ 55.3
- เพื่อความปรองดองของคนในชาติ                                     ร้อยละ 28.7
- ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ 16.0

3. ทิศทางการเมืองไทย หากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผ่านวาระที่ 3 และนำมาประกาศใช้จริง
- อาจเกิดการชุมนุมต่อต้านขยายในวงกว้าง                               ร้อยละ 41.3
- จะทำให้ประชาชนสงบสุข ปรองดอง                                   ร้อยละ 15.1
- ช่วยลดความตรึงเครียดทางการเมืองและสังคมลงได้                       ร้อยละ 14.3
- อาจเกิดการแก้แค้นเอาคืนจากนักการเมืองที่ได้รับนิรโทษกรรม                ร้อยละ 13.6
- จะมีการยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ทันที                                  ร้อยละ  9.2
- อื่นๆ อาทิ ต้องมีการยกประเด็นเอาผิดในกรณีอื่นอีก                        ร้อยละ  6.5
ยังคงมีความขัดแย้งกันเหมือนเดิม ฯลฯ

4. ความเห็นต่อการชุมนุมคัดค้านการออก พ.ร.บ นิรโทษกรรมที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะสามารถยับยั้งการออกกฎหมายฉบับนี้ได้หรือไม่
- คิดว่าไม่ได้                                                     ร้อยละ 46.8
- คิดว่าได้                                                       ร้อยละ 11.6
- ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ 41.6

5. กลิ่นอายของระดับความรุนแรงที่ประชาชนรู้สึกได้เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ประกาศชัดที่จะนำการชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
- การชุมนุมรุนแรงถึงขั้นต้องใช้กำลังเพื่อสลายการชุมนุม                      ร้อยละ 15.0
- มีการปิดถนนและยกระดับการชุมนุม เคลื่อนขบวนไปที่ต่างๆ                   ร้อยละ 26.4
- มีปิดถนน มีคนมาร่วมชุมนุมเยอะ และยืดเยื้อกินเวลานาน                    ร้อยละ 24.4
- มีปิดถนน แต่คนมาร่วมชุมนุมน้อย และกินเวลาสั้น                          ร้อยละ  9.8
- ไม่แน่ใจ                                                       ร้อยละ 24.4

6. ความเห็นต่อระดับความขัดแย้งทางความคิดด้านการเมืองของคนในสังคมไทยปัจจุบัน
- มากที่สุด                                                       ร้อยละ 21.8
- มาก                                                          ร้อยละ 50.4
- ปานกลาง                                                      ร้อยละ 24.9
- น้อย                                                          ร้อยละ  1.8
- น้อยที่สุด                                                       ร้อยละ  1.1

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีต่อการการออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดทางการเมืองในช่วงวันที่19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึง วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และการออกมาประกาศจากพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะเป็นผู้นำการชุมนุมคัดค้านการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของประเทศต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,195 คน เป็นชายร้อยละ 50.7 และหญิง ร้อยละ 49.3

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21 — 23 ตุลาคม 2556

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 25 ตุลาคม 2556

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                    606      50.7
          หญิง                                    589      49.3
                     รวม                       1,195       100
อายุ
          18 — 25 ปี                              309      25.9
          26 — 35 ปี                              337      28.2
          36 — 45 ปี                              272      22.7
          46 ปีขึ้นไป                               277      23.2
                     รวม                       1,195       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                           650      54.4
          ปริญญาตรี                                486      40.7
          สูงกว่าปริญญาตรี                            59       4.9
                     รวม                       1,195       100
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ               92       7.7
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน               357      29.9
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                354      29.6
          เจ้าของกิจการ                             55       4.6
          รับจ้างทั่วไป                              131        11
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                    56       4.7
          นักศึกษา                                 127      10.6
          อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น           23       1.9
                     รวม                        1,195      100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ