ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “การเลือกตั้งท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,018 คนพบว่า ประชาชนร้อยละ 49.3 ยังไม่เห็นการหาเสียงของผู้สมัคร เห็นเพียงป้ายหาเสียง และร้อยละ 16.1 ยังไม่เห็นการหาเสียงในรูปแบบใดๆ เลย ขณะที่ร้อยละ 29.7 เห็นการหาเสียงของผู้สมัครแต่ไม่คึกคัก และมีเพียงร้อยละ 4.9 เท่านั้นที่เห็นการหาเสียงของผู้สมัครและคึกคักมาก
เมื่อถามว่าสถานการณ์ความรุนแรงและขัดแย้งทางการเมือง มีผลต่อการไปเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.ที่จะถึงนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.6 เห็นว่ามีผลต่อการไปเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 34.3 บอกว่ามีผลทำให้ต้องรอดูสถานการณ์ความรุนแรงอีกทีก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่ และร้อยละ 18.3 ทำให้ไม่อยากไปเลือกตั้ง ขณะที่ร้อยละ 47.4 เห็นว่าไม่มีผลต่อการไปเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 23.4 ให้เหตุผลว่าต้องไปเลือกตั้งให้ได้อยู่แล้ว และอีกร้อยละ 24.0 ให้เหตุผลว่าไปเลือกเพราะเป็นหน้าที่ แต่เมื่อถามต่อว่า “หากในวันที่ 2 ก.พ. ที่จะถึงนี้ยังคงมีการเลือกตั้ง ท่านตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่” ร้อยละ 79.6 ตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิ์ ขณะที่ร้อยละ 9.9 ตั้งใจจะไม่ออกไปใช้สิทธิ์ และร้อยละ 10.5 ยังไม่แน่ใจ
ส่วนความเห็นต่อการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ที่จะถึงนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.5 เห็นว่าควรมีการเดินหน้าเลือกตั้งตามเดิม ขณะที่ร้อยละ 28.1 เห็นว่าควรปฏิรูปก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง และร้อยละ 20.4 เห็นว่าควรเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน
สุดท้ายเมื่อถามว่า “จากข่าวสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ท่านเห็นด้วยหรือไม่หากกองทัพตัดสินใจทำรัฐประหาร เพื่อยุติความขัดแย้งที่เป็นอยู่” ร้อยละ 56.0 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 21.6 เห็นด้วย และร้อยละ 22.4 ไม่แน่ใจ
รายละเอียดดังต่อไปนี้
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการไปเลือกตั้งท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,018 คน เป็นเพศชายร้อยละ 52.0 และเพศหญิงร้อยละ 48.0
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21 - 23 มกราคม 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 24 มกราคม 2557ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 529 52 หญิง 489 48 รวม 1,018 100 อายุ 18 – 25 ปี 77 7.6 26 – 35 ปี 201 19.7 36 – 45 ปี 298 29.3 46 ปีขึ้นไป 442 43.4 รวม 1,018 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 670 65.8 ปริญญาตรี 275 27 สูงกว่าปริญญาตรี 73 7.2 รวม 1,018 100 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 106 10.4 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 250 24.6 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 209 20.5 เจ้าของกิจการ 43 4.2 รับจ้างทั่วไป 127 12.5 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 128 12.6 นักศึกษา 25 2.5 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 130 12.7 รวม 1,018 100--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--