กรุงเทพโพลล์: “ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ และความเห็นประเด็นเลือกตั้ง”

ข่าวผลสำรวจ Friday May 2, 2014 08:24 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์เห็นสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว และ 73.9% ย้ำทุกภาคส่วนต้องหาข้อตกลงก่อนการเลือกตั้ง

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 32 แห่ง จำนวน 69 คน เรื่อง “ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ และความคิดเห็นประเด็นเลือกตั้ง” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 23–30 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา พบว่า

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 73.9 ต้องการให้ทุกภาคส่วนหาข้อสรุปข้อตกลงก่อนการเลือกตั้ง รองลงมาร้อยละ 11.6 เห็นว่าควรจัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด เมื่อถามว่า “การปฏิรูปประเทศควรดำเนินการโดยใครหรือหน่วยงานใด” ร้อยละ 36.2 เห็นว่าควรเป็นรัฐบาลที่มาจากคนกลาง ขณะที่ร้อยละ 33.3 เห็นว่าควรดำเนินการโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ส่วนค่าดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน พบว่า ค่าดัชนียังคงปรับตัวลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 17.85 เป็น 12.75 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับจากมีการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ (หรือต่ำสุดในรอบ 16 ไตรมาส) และการที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ค่อนข้างมากสะท้อนให้เห็นถึงสถานะทางเศรษฐกิจไทยที่อ่อนแอเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

ด้านดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ค่าดัชนีอยู่ที่ 47.35 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่า 50 สะท้อนให้เห็นแนวโน้มเศรษฐกิจจะแย่ลงอีกในอีก 3 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตามการที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนหน้าอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ให้เห็นการฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ สอดคล้องกับดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจในระยะ 6 เดือนข้างหน้าที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 63.32 และอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าเศรษฐกิจในระยะ 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปัจจุบัน

เมื่อพิจารณาปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะ 6 เดือนข้างหน้าที่จะคอยประคองเศรษฐกิจให้มีการฟื้นตัว คือ การส่งออกสินค้าการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ปัจจัยด้านการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐจะยังคงเป็นปัจจัยที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจต่อไป

ด้านความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ในประเด็นวัฏจักรเศรษฐกิจ ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงใดของวัฏจักร พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 81.2 เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงถดถอย รองลงมาร้อยละ 7.2 เห็นว่าอยู่ในช่วงตกต่ำ (Trough) มีเพียงร้อยละ1.4 ที่เห็นว่าอยู่ในช่วงขยายตัว และร้อยละ 1.4 เช่นกันที่เห็นว่าอยู่ในช่วงรุ่งเรือง (Peak) เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา แล้วแบ่งวัฏจักรออกเป็น 2 ฟาก คือ ฟากเศรษฐกิจขยายตัวจนถึงจุดสูงสุด และ ฟากเศรษฐกิจถดถอยจนถึงจุดต่ำสุด จะพบว่า วัฏจักรมีการเคลื่อนเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้นจนอาจจะกล่าวได้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ที่จุดต่ำสุดแล้ว

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า

(1) เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ในสถานะที่อ่อนแอเป็นอย่างมากในรอบ 16 ไตรมาสที่ทำการสำรวจ

(2) เศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ และจะเห็นสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนในระยะอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยภาคการส่งออก และการท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

(3) วัฏจักรเศรษฐกิจมีการเคลื่อนเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้นจนอาจจะกล่าวได้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ที่จุดต่ำสุดแล้ว

หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
         นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่าภาคส่วนทางการเมืองต่างๆ ควรดำเนินการเรื่องการเลือกตั้งอย่างไร เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น”
ร้อยละ 11.6 จัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด
ร้อยละ 73.9 ทุกภาคส่วนต้องมีข้อสรุปข้อตกลงก่อนการเลือกตั้ง
ร้อยละ 11.6 อื่นๆ คือ ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด บ้านเมืองต้องสงบ ประชาชนต้องพร้อมก่อนการเลือกตั้ง ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลไม่ว่า

ผลจะออกมาอย่างไร ต้องทำให้คนมั่นใจว่าผู้ที่จะเข้ามาบริหารประเทศต้องมีความเป็นกลาง ไม่คอร์รัปชั่น ร้อยละ 2.9 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

2. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่าการปฏิรูปประเทศควรดำเนินการโดยใครหรือหน่วยงานใด”
ร้อยละ 33.3 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ร้อยละ 36.2 รัฐบาลที่มาจากคนกลาง
ร้อยละ 13.0 อื่นๆ คือ ผลที่ได้จากการหาทางออกร่วมกันของทุกฝ่าย/รัฐบาลที่มาจากประชาชนแต่อาจไม่ใช่จากการเลือกตั้ง และต้องไม่มี

คอร์รัปชั่น/มาจากระบอบที่ประชาชนยอมรับ/การปฏิรูปผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องมีส่วนร่วม ร้อยละ 17.5 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

ตารางที่ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
   ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ                 2555                           2556                      2557
                              เม.ย.    ก.ค.     ต.ค.    ม.ค.     เม.ย.    ก.ค.     ต.ค.     ม.ค.   เม.ย.
 1)  การบริโภคภาคเอกชน         48.31       50  59.23     68.97    68.1    21.31    17.8    11.02    6.72
 2)  การลงทุนภาคเอกชน          44.07    46.67  51.52     55.08   62.28    21.31   28.81    14.41    5.22
 3)  การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ  57.14    51.69  46.21      61.4   59.82    43.33   45.61    16.38    6.62
 4)  การส่งออกสินค้า             36.21    23.77  11.36     24.58   19.49    13.11   13.56    15.25   23.88
 5)  การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ   50.85    55.74  57.58     73.73   73.73    72.95   79.17     32.2   21.32
               ดัชนีรวม         47.31    45.57   45.18    56.75   56.68     34.4   36.99    17.85   12.75

หมายเหตุ: ค่าดัชนีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดย

ค่าดัชนีเท่ากับ 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะปกติ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ เดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน)

ค่าดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะแข็งแกร่ง (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ดีขึ้น (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน)

ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะอ่อนแอ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ แย่ลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน)

ตารางที่ 2 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3 เดือนข้างหน้า (เปรียบเทียบกับปัจจุบัน)
  ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ                   2555                            2556                      2557
                              เม.ย.    ก.ค.     ต.ค.     ม.ค.     เม.ย.    ก.ค.     ต.ค.     ม.ค.     เม.ย.
 1)  การบริโภคภาคเอกชน        56.03    57.63    50.78    61.61       50    30.83      45     35.96    42.31
 2)  การลงทุนภาคเอกชน         58.62    51.72    41.41    52.59     51.82    31.9   51.69     28.18    37.12
 3)  การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ    75    70.34    57.38    66.36     67.59   49.14   64.66        25    31.62
 4)  การส่งออกสินค้า            65.79    42.37    30.16    55.36     34.82    32.5   55.08      66.1    65.38
 5)  การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ  56.78    58.33    56.15    63.79        50   63.11   79.17     42.98    60.29
               ดัชนีรวม        62.44    56.08    47.18    59.94     50.85    41.5   59.12     39.65    47.35

ตารางที่ 3  ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 6 เดือนข้างหน้า (เปรียบเทียบกับปัจจุบัน)
  ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ                  2555                           2556                         2557
                             เม.ย.     ก.ค.    ต.ค.      ม.ค.     เม.ย.    ก.ค.     ต.ค.     ม.ค.    เม.ย.
 1)  การบริโภคภาคเอกชน        62.28    55.21    49.11    61.76       50       50    61.21    53.7     64.84
 2)  การลงทุนภาคเอกชน         67.31       55    48.15    56.73    62.04    45.54    70.18    50.93    53.97
 3)  การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ 75.93    61.82    60.83    70.41    81.13    60.71    79.09    40.74    48.48
 4)  การส่งออกสินค้า            67.59    44.23     37.5    64.15    47.92    47.27     67.8    77.68    76.15
 5)  การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ   68.1    62.73    48.39    66.04    56.48    72.81    80.17    57.14    73.13
               ดัชนีรวม        68.24     55.8     48.8    63.82    59.51    55.27    71.69    56.07    63.32

ตารางที่ 4  ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 3-6 เดือนข้างหน้า
                                            3  เดือนข้างหน้า                  6  เดือนข้างหน้า
        ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า                 การส่งออกสินค้า                   การส่งออกสินค้า
               จะดีขึ้น                   การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ         การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
          เมื่อเทียบกับปัจจุบัน                                                 การบริโภคภาคเอกชน

การลงทุนภาคเอกชน

        ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า                     -ไม่มี-                          -ไม่มี-

จะทรงตัว

เมื่อเทียบกับปัจจุบัน

        ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า            การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
              จะแย่ลง                       การลงทุนภาคเอกชน            การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
          เมื่อเทียบกับปัจจุบัน                  การบริโภคภาคเอกชน

ตารางที่ 5  วัฏจักรเศรษฐกิจ
               วัฏจักรเศรษฐกิจ                  กรกฎาคม 56    ตุลาคม 56     มกราคม 57    เมษายน 57
เศรษฐกิจขยายตัว (Expansion / Recovery)            13%           18%          10%         1.40%
เศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak)                             8%           2%           2%          1.40%
เศรษฐกิจถดถอย (Contraction / Recession)          63%           63%          67%        81.20%
เศรษฐกิจตกต่ำ (Trough)                             3%           5%           5%          7.20%
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ                                    13%           12%          16%         8.80%

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้า รวมถึงวัฏจักรเศรษฐกิจ รวมถึงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวกับการปฏิรูปและการเลือกตั้ง

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 32 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัททริสเรทติ้ง บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  23 – 30 เมษายน 2557
          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  1 พฤษภาคม 2557

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

          หน่วยงานภาครัฐ                              28       40.6
          หน่วยงานภาคเอกชน                           25       36.2
          สถาบันการศึกษา                              16       23.2
                     รวม                            69       100
เพศ
          ชาย                                       39       56.5
          หญิง                                       30       43.5
                     รวม                            69        100
อายุ
          18 ปี – 25 ปี                                1        1.4
          26 ปี – 35 ปี                               16       23.2
          36 ปี – 45 ปี                               27       39.2
          46 ปีขึ้นไป                                  25       36.2
                     รวม                            69        100
การศึกษา
          ปริญญาตรี                                    5        7.2
          ปริญญาโท                                   43       62.4
          ปริญญาเอก                                  21       30.4
                     รวม                            69        100
ประสบการณ์ทำงานรวม
          1-5  ปี                                    11       15.9
          6-10 ปี                                    18       26.1
          11-15 ปี                                   14       20.3
          16-20 ปี                                    8       11.6
          ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                             18       26.1
                     รวม                            69        100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ