ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ และปริมณฑล จำนวน 1,199 คน เรื่อง “คนไทยกับการเข้าสู่ ยุคทีวีดิจิตอล” พบว่า
การเตรียมตัวของประชาชน เพื่อรับชมการออกอากาศทีวีระบบดิจิตอล ส่วนใหญ่ร้อยละ 43.6 ระบุว่า ปัจจุบันใช้เคเบิ้ลทีวี/ทีวีดาวเทียม อยู่แล้วทำให้สามารถดูทีวีระบบดิจิตอลได้เลย รองลงมาร้อยละ 10.2 ใช้วิธีซื้อกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิตอล (Set Top Box) และร้อยละ 5.2 ใช้วิธีซื้อทีวีใหม่รุ่นที่รับสัญญาณระบบดิจิตอลได้ ขณะที่ประชาชนร้อยละ 41.0 ระบุว่า ยังไม่ได้เตรียมตัวโดยจะดูระบบเดิมไปก่อน
ส่วนการรับทราบว่า กสทช. จะมีการแจกคูปองไปพร้อมกับบิลค่าไฟฟ้า เพื่อนำไปซื้อกล่อง Set Top Box หรือใช้เป็นส่วนลดซื้อทีวีดิจิตอลแก่ประชาชนนั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.1 บอกว่า ยังไม่ทราบ ขณะที่ร้อยละ 45.9 บอกว่า ทราบแล้ว
เมื่อถามถึงคูปองมูลค่า 1,000 บาท ที่คาดว่าทาง กสทช.จะแจกให้แก่ประชาชนนั้นเหมาะสมหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.1 เห็นว่าเป็นมูลค่าที่เหมาะสมแล้ว ขณะที่ ร้อยละ 40.9 บอกว่าไม่เหมาะสม
ทั้งนี้ประชาชน ร้อยละ 40.9 มีความมั่นใจว่า ประเทศไทยจะสามารถออกอากาศในรูปแบบดิจิตอลได้ครอบคลุมทั้งประเทศอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2560 ขณะที่ร้อยละ 31.8 ไม่มั่นใจ ที่เหลือร้อยละ 27.3 ยังไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าเนื้อหารายการต่างๆ โดยรวมของทีวีดิจิตอลที่มีจำนวนช่องมากขึ้น คาดว่าจะมีคุณภาพเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับรายการทีวีแบบเดิมที่มีเพียง 6 ช่อง ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.8 คาดว่าคุณภาพน่าจะดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 19.1 คาดว่าคุณภาพน่าจะเหมือนเดิม และร้อยละ 7.1 คาดว่าคุณภาพน่าจะลดลง
สำหรับรายการที่ประชาชนอยากให้มีออกอากาศในระบบทีวีดิจิตอลมากที่สุดเป็นอันดับแรกคือ รายการประเภทข่าว (ร้อยละ 21.1) รองลงมาคือ รายการประเภทสารคดี (ร้อยละ 16.5) และรายการประเภทบันเทิง ละคร (ร้อยละ 16.1)
รายละเอียดดังนี้
(โดยระบุว่า ควรจะให้มากกว่านี้ ร้อยละ 37.5 และควรจะให้น้อยกว่านี้ ร้อยละ 3.4 )
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับเรื่องการเตรียมตัวของประชาชนเพื่อรับชมการออกอากาศทีวีระบบดิจิตอล ความเห็นต่อการแจกคูปองเพื่อนำไปซื้อกล่องแปลงสัญญาณดิจิตอล รวมถึงความครอบคลุมในเชิงพื้นที่ของการออกอากาศระบบดิจิตอลในประเทศไทย และประเภทรายการที่อยากให้มีในระบบดิจิตอล ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,199 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.5 และเพศหญิงร้อยละ 51.5
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1-6 พฤษภาคม 2557
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 9 พฤษภาคม 2557 ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 581 48.5 หญิง 618 51.5 รวม 1,199 100 อายุ 18 – 25 ปี 305 25.4 26 – 35 ปี 310 25.9 36 – 45 ปี 295 24.6 46 – 55 ปี 289 24.1 รวม 1,199 100 การศึกษาปัจจุบัน ต่ำกว่าปริญญาตรี 674 56.2 ปริญญาตรี 464 38.7 สูงกว่าปริญญาตรี 61 5.1 รวม 1,199 100 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 125 10.4 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 339 28.3 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 275 22.9 เจ้าของกิจการ 73 6.1 รับจ้างทั่วไป 144 12 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 88 7.3 นักเรียน นักศึกษา 129 10.8 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 26 2.2 รวม 1,199 100--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--