กรุงเทพโพลล์: “ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในสังคมไทย”

ข่าวผลสำรวจ Friday September 5, 2014 09:29 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชน 78.5% เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นค่อยๆ ดีขึ้น หลังพล.อ. ประยุทธ์ เป็นผู้นำประเทศ 73.9% ชื่นชม ครม. โปร่งใสกว่ายุคที่ผ่านมา 60.1% เชื่อมั่น สปช. ช่วยแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นได้ และหลังยุค พล.อ.ประยุทธ์ มี 44.2% ที่เชื่อว่าการคอร์รัปชั่นจะลดลง แต่ 41.8% เห็นต่างว่าการคอร์รัปชั่นจะกลับมาเหมือนเดิม

เนื่องในวันที่ 6 กันยายนที่จะถึงนี้เป็น “วันต่อต้านการคอร์รัปชั่นแห่งชาติ” ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในสังคมไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,045 คน ผลสำรวจมีดังนี้

เมื่อทำการวัดทัศนคติการยอมรับการคอร์รัปชั่นของประชาชนด้วยข้อคำถามที่ว่า “ท่านรับได้หรือไม่กับการทุจริตเล็กๆ น้อยๆ” ประชาชนร้อยละ 86.7 บอกว่ารับไม่ได้เลยเพราะเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ขณะที่ร้อยละ 12.2 รับได้เพราะใครๆ ก็ทำกัน

เมื่อถามความเห็นต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในปัจจุบันเป็นอย่างไร หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำหน้าที่ผู้นำประเทศในช่วงที่ผ่านมา ร้อยละ 78.5 เห็นว่าค่อยๆ ดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 13.4 เห็นว่าเหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 1.8 ที่เห็นว่าแย่ลง

นอกจากนี้เมื่อถามต่อว่าภาพลักษณ์ของ ครม. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับ ครม. ยุคที่ผ่านมา ร้อยละ 73.9 เห็นว่าดีกว่าที่ผ่านมามาก ขณะที่ร้อยละ 13.8 เห็นว่าเหมือนเดิม มีเพียง ร้อยละ 2.2 ที่เห็นว่าแย่ลงกว่าที่ผ่านมา

สำหรับความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในสังคมไทยให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นได้ ร้อยละ 69.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 23.6 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

ด้านความเชื่อมั่นต่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในเรื่องสำคัญๆ ต่อไปนี้

          เรื่องการปฏิรูปการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ               เชื่อมั่นร้อยละ 60.3          ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 31.9
          เรื่องการปฏิรูปการเลือกตั้ง การซื้อสิทธิ์ขายเสียง          เชื่อมั่นร้อยละ 58.1          ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 34.5
          เรื่องโครงการประชานิยมที่เอื้อต่อการคอร์รัปชั่น           เชื่อมั่นร้อยละ 57.5          ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 33.3
          เรื่องการรับสินบนของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ                  เชื่อมั่นร้อยละ 49.5          ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 40.6
          เฉลี่ยรวม                                       เชื่อมั่นร้อยละ 56.3          ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 35.1

ส่วนความเชื่อมั่นต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นให้สังคมไทยได้ ร้อยละ 60.1 เชื่อมั่น ขณะที่ร้อยละ 29.6 ไม่เชื่อมั่น

สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาหลัง รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ปัญหาการคอร์รัปชั่นจะเป็นอย่างไร” ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.2 เชื่อว่าการคอร์รัปชั่นจะลดลงมาก ขณะที่ร้อยละ 41.8 เชื่อว่าการคอร์รัปชั่นจะกลับมาเหมือนเดิม

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านรับได้หรือไม่กับการทุจริตเล็กๆ น้อยๆ”
          รับไม่ได้เลยเพราะเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง          ร้อยละ          86.7
          รับได้เพราะใครๆ ก็ทำกัน                 ร้อยละ          12.2
          ไม่แน่ใจ                              ร้อยละ           1.1

2. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในปัจจุบันเป็นอย่างไร หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำหน้าที่ผู้นำประเทศในช่วงที่ผ่านมา”
          ค่อยๆ ดีขึ้น                            ร้อยละ          78.5
          เหมือนเดิม                            ร้อยละ          13.4
          แย่ลง                                ร้อยละ           1.8
          ไม่แน่ใจ                              ร้อยละ           6.3

3. ภาพลักษณ์ของ ครม. พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น เมื่อเปรียบเทียบกับ ครม. ยุคที่ผ่านมา
          ดีกว่าที่ผ่านมามาก                       ร้อยละ          73.9
          เหมือนเดิม                            ร้อยละ          13.8
          แย่ลงกว่าที่ผ่านมา                       ร้อยละ           2.2
          ไม่แน่ใจ                              ร้อยละ          10.1

4. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในสังคมไทยให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นได้ (ปี 2556 ไทยติดอันดับโลกเรื่องการทุจริต โดยอยู่อันดับ 102 จาก 177 ประเทศทั่วโลก)
          เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                        ร้อยละ          69.8

(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 60.7 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 9.1)

          เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                        ร้อยละ          23.6

(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 20.1 และไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 3.5)

          ไม่แน่ใจ                                                        ร้อยละ           6.6

5. ความเชื่อมั่นต่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในเรื่องสำคัญๆ ต่อไปนี้ของสังคมไทย

เรื่อง                                                   เชื่อมั่น         ไม่เชื่อมั่น      ไม่แน่ใจ
                                                      (ร้อยละ)        (ร้อยละ)      (ร้อยละ)
การปฏิรูปการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ                             60.3            31.9         7.8
การปฏิรูปการเลือกตั้ง การซื้อสิทธิ์ขายเสียง                        58.1            34.5         7.4
โครงการประชานิยมที่เอื้อต่อการคอร์รัปชั่น                         57.5            33.3         9.2
การรับสินบนของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ                                49.5            40.6         9.9
เฉลี่ยรวม                                                 56.3            35.1         8.6

6. ความเชื่อมั่นต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่าจะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นให้สังคมไทยได้
          เชื่อมั่น                               ร้อยละ          60.1
          ไม่เชื่อมั่น                             ร้อยละ          29.6
          ไม่แน่ใจ                              ร้อยละ          10.3

7. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาหลัง รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ปัญหาการคอร์รัปชั่นจะเป็นอย่างไร”
          เชื่อว่าการคอร์รัปชั่นจะลดลงมาก            ร้อยละ          44.2
          เชื่อว่าการคอร์รัปชั่นจะกลับมาเหมือนเดิม      ร้อยละ          41.8
          ไม่แน่ใจ                              ร้อยละ          14.0

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ
  • เพื่อสะท้อนทัศนคติการยอมรับการคอร์รัปชั่นของประชาชน
  • เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อตัวนายกรัฐมนตรี ครม. และ สปช. ในการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  3 - 4 กันยายน 2557

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  5 กันยายน 2557

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                               543        52
          หญิง                               502        48
                    รวม                   1,045       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                       162      15.5
          31 ปี – 40 ปี                       258      24.7
          41 ปี – 50 ปี                       317      30.3
          51 ปี - 60 ปี                       214      20.5
          61 ปี ขึ้นไป                          94         9
                    รวม                   1,045       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                      653      62.5
          ปริญญาตรี                           296      28.3
          สูงกว่าปริญญาตรี                       96       9.2
                              รวม         1,045       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                        172      16.5
          ลูกจ้างเอกชน                        230        22
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร        414      39.7
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                68       6.5
          ทำงานให้ครอบครัว                      2       0.2
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ            129      12.3
          นักเรียน/ นักศึกษา                     17       1.6
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม            13       1.2
                    รวม                   1,045       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ