กรุงเทพโพลล์: “ความเชื่อมั่นต่อทีมเศรษฐกิจกับการบรรลุผลของนโยบายเศรษฐกิจที่แถลงต่อ สนช.”

ข่าวผลสำรวจ Monday September 29, 2014 10:09 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์ 51.3% เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทีมเศรษฐกิจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ แต่ 44.9% เชื่อว่ามีความเป็นไปได้น้อยที่นโยบายเศรษฐกิจที่ได้แถลงไว้ต่อ สนช. จะบรรลุผล

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 27 แห่ง จำนวน 64 คน เรื่อง "ความเชื่อมั่นต่อทีมเศรษฐกิจกับการบรรลุผลของนโยบายเศรษฐกิจที่แถลงต่อ สนช." โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11–22 กันยายน ที่ผ่านมา ผลสำรวจมีดังนี้

ในภาพรวมนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 51.3 มีความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทีมเศรษฐกิจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองลงมาร้อยละ 19.2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 3.3 ไม่เชื่อมั่น ที่เหลือร้อยละ 26.2 ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 73.4 มีความเชื่อมั่น ส่วนรัฐมนตรี 3 ลำดับแรก (จาก 10 อันดับ) ที่นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นมีดังนี้

          อันดับ 1  ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล    รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ    ร้อยละ  76.6  มีความเชื่อมั่น
          อันดับ 2  นายณรงค์ชัย อัครเศรณี      รมว.กระทรวงพลังงาน          ร้อยละ  65.6  มีความเชื่อมั่น
          อันดับ 3  นายสมหมาย ภาษี          รมว.กระทรวงการคลัง          ร้อยละ  62.5  มีความเชื่อมั่น

เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ของนโยบายด้านเศรษฐกิจที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะบรรลุผลได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ในภาพรวมนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 44.9 เชื่อว่ามีความเป็นไปได้น้อยที่นโยบายเศรษฐกิจที่แถลงไว้ต่อ สนช. จะบรรลุผล ซึ่งมีสัดส่วนพอๆ กับกลุ่มที่เห็นว่ามีความเป็นไปได้มากที่จะบรรลุผลซึ่งเท่ากับร้อยละ 44.5 โดยนโยบายที่เห็นว่ามีความเป็นไปได้มากที่จะบรรลุผล มีดังนี้

อันดับ 1   พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและคมนาคมเช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการขยายสนามบิน           ร้อยละ  78.1   เป็นไปได้มากที่จะบรรลุผล
อันดับ 2   ลดอุปสรรคในการส่งออกเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เช่น ปรับปรุงวิธีการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า          ร้อยละ  54.7   เป็นไปได้มากที่จะบรรลุผล
และมาตรฐานการผลิตระดับไร่นา
อันดับ 3   ขยายฐานการจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง                        ร้อยละ  53.1   เป็นไปได้มากที่จะบรรลุผล

ส่วนนโยบายที่เห็นว่ามีความเป็นไปได้น้อยที่จะบรรลุผล มีดังนี้
อันดับ 1   การแบ่งเขต (Zoning) พื้นที่ปลูกสินค้าเกษตร                                                ร้อยละ  62.5   เป็นไปได้น้อยที่จะบรรลุผล
อันดับ 2   พัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ  โปร่งใส  และตรวจสอบได้          ร้อยละ  62.5   เป็นไปได้น้อยที่จะบรรลุผล
อันดับ 3   เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs                                                 ร้อยละ  53.1   เป็นไปได้น้อยที่จะบรรลุผล

(โปรดพิจารณารายละเอียดผลสำรวจตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้)

1. ความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทีมเศรษฐกิจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

          รายชื่อรัฐมนตรี                                                       เชื่อมั่น     ไม่ค่อย    ไม่เชื่อมั่น   ไม่แน่ใจ/
                                                                                      เชื่อมั่น               ไม่ตอบ
         พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                                    73.4      17.2       1.6       7.8
อันดับ 1   ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล          รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ                76.6      14.1       3.1       6.2
อันดับ 2   นายณรงค์ชัย อัครเศรณี            รมว.กระทรวงพลังงาน                      65.6      17.2       3.1      14.1
อันดับ 3   นายสมหมาย ภาษี                รมว.กระทรวงการคลัง                      62.5      17.2       3.1      17.2
อันดับ 4   นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช            รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม                   56.3      10.9       1.6      31.2
อันดับ 5   นายดอน ปรมัตถ์วินัย              รมว.กระทรวงการต่างประเทศ                56.3      10.9       1.6      31.2
อันดับ 6   นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา        รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์               45.3      12.5       3.1      39.1
อันดับ 7   นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร        รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา            42.2      21.9       4.7      31.2
อันดับ 8   พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง           รมว.กระทรวงคมนาคม                      37.5      29.7       3.1      29.7
อันดับ 9   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ          รมว.กระทรวงพาณิชย์                       26.6      31.3       3.1        39
อันดับ 10  พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์          รมว.กระทรวงแรงงาน                      21.9      28.1       7.8      42.2
         ภาพรวม                                                              51.3      19.2       3.3      26.2

2.  ความเป็นไปได้ที่นโยบายด้านเศรษฐกิจที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะบรรลุผลได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

คำแถลงนโยบายด้านเศรษฐกิจ                                                                 การบรรลุผลของนโยบาย
                                                                                เป็นไปได้      เป็นไปได้      ไม่ตอบ/
                                                                                  มาก          น้อย        ไม่แน่ใจ
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและคมนาคม เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการขยายสนามบิน       78.1        17.2         4.7
2. ลดอุปสรรคในการส่งออกเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เช่น ปรับปรุงวิธีการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า       54.7        34.4        10.9
และมาตรฐานการผลิตระดับไร่นา
3. ขยายฐานการจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง                     53.1        40.6         6.3
4. ปฏิรูปโครงสร้างราคาเชื้อเพลง ให้สอดคล้องกับต้นทุน ให้มีภาระภาษีที่เหมาะสม และไม่ทำให้เกิด        45.3        45.3         9.4
การใช้อย่างฟุ่มเฟือย
5. บริหารจัดการหนี้สาธารณะที่มีจำนวนมากกว่า 700,000 ล้านบาท เพื่อให้มีงบประมาณในการลงทุน        42.2        42.2        15.6
พัฒนาประเทศที่มากขึ้น
6. ดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ที่เหมาะสม ทั้งในแง่การลดต้นทุนการผลิตและดูแลราคาสินค้าเกษตร            42.2        46.9        10.9
ที่ต่ำผิดปกติให้สูงขึ้นตามสมควร
7. แก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนทั้งที่ท่วมในบริเวณกว้างและท่วมเฉพาะพื้นที่ และปัญหาขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่      39.1        43.8        17.1
และบางฤดูกาล
8. เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs                                              31.3        53.1        15.6
9. พัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ  โปร่งใส  และตรวจสอบได้       35.9        62.5         1.6
10. การแบ่งเขต (Zoning) พื้นที่ปลูกสินค้าเกษตร                                            23.4        62.5        14.1
    ภาพรวม                                                                        44.5        44.9        10.6

หมายเหตุ : กรุงเทพโพลล์รวบรวมจากคำแถลงนโยบายด้านเศรษฐกิจ
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
         นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงความเป็นไปได้ของนโยบายด้านเศรษฐกิจในการบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ตามที่รัฐบาลได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  11 – 22 กันยายน 2557

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  27 กันยายน 2557

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

          หน่วยงานภาครัฐ                             36      56.3
          หน่วยงานภาคเอกชน                          20      31.3
          สถาบันการศึกษา                              8      12.4
          รวม                                      64       100
เพศ
          ชาย                                      41      64.1
          หญิง                                      23      35.9
          รวม                                      64       100
อายุ
          26 ปี – 35 ปี                              17      26.6
          36 ปี – 45 ปี                              27      42.2
          46 ปีขึ้นไป                                 20      31.2
          รวม                                      64       100
การศึกษา
          ปริญญาตรี                                   3       4.7
          ปริญญาโท                                  43      67.2
          ปริญญาเอก                                 18      28.1
          รวม                                      64       100
ประสบการณ์ทำงานรวม
          1-5  ปี                                    9      14.1
          6-10 ปี                                   20      31.3
          11-15 ปี                                   9      13.9
          16-20 ปี                                  12      18.8
          ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                            14      21.9
          รวม                                      64       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ