นักเศรษฐศาสตร์ 78.1% เห็นด้วยที่จะเปลี่ยนไปใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปแทนเงินเฟ้อพื้นฐาน 76.6% คาด กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.0 ในรอบการประชุม 5 พฤศจิกายนนี้ เสนอให้รัฐบาลแก้เศรษฐกิจตกต่ำด้วยการ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ยกเลิกกฎอัยการศึก และเพิ่มรายได้เกษตรกร
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 28 แห่ง จำนวน 64 คน เรื่อง “ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อการเปลี่ยนกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท.” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 9 – 21 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.1 เห็นด้วยกับข้อเสนอของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เสนอให้เปลี่ยนการใช้เป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) โดยไปใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไป หรือ Headline Inflation แทนการใช้กรอบเงินเฟ้อพื้นฐาน หรือ Core Inflation ในปี 2558 โดยมีเพียงร้อยละ 12.5 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ร้อยละ 43.8 เห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยควรตั้งกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปไม่เกินร้อยละ 3.0-4.0
ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 76.6 คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.0 ในรอบการประชุมวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ โดยมีเพียงร้อยละ 7.8 ที่เห็นว่า กนง. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ร้อยละ 6.3 เห็นว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังได้เสนอแนะวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำให้กับรัฐบาล ดังนี้
อันดับ 1 เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีแผนลงทุนที่ชัดเจนอยู่แล้ว
อันดับ 2 ยกเลิกกฎอัยการศึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจหมุนเวียนดีขึ้น
อันดับ 3 สร้างงาน ลดรายจ่ายให้กับประชาชน เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งจะทำให้ ประชาชนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากขึ้น
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใดระยะยาวควบคู่กับระยะสั้น
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อแนวคิดการเปลี่ยนกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. รวมถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุมที่จะถึงนี้ รวมถึงข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ให้กับประชาชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรับทราบเพื่อนำไปใช้ประกอบการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจและธุรกิจต่อไป
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 28 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9 – 21 ตุลาคม 2557 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 พฤศจิกายน 2557ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 33 51.6 หน่วยงานภาคเอกชน 21 32.8 สถาบันการศึกษา 10 15.6 รวม 64 100 เพศ ชาย 41 64.1 หญิง 23 35.9 รวม 64 100 อายุ 26 ปี – 35 ปี 17 26.6 36 ปี – 45 ปี 27 42.2 46 ปีขึ้นไป 19 29.7 ไม่ระบุ 1 1.5 รวม 64 100การศึกษา
ปริญญาตรี 3 4.7 ปริญญาโท 44 68.8 ปริญญาเอก 16 25 ไม่ระบุ 1 1.5 รวม 64 100 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 8 12.5 6-10 ปี 19 29.7 11-15 ปี 13 20.3 16-20 ปี 9 14.1 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 14 21.9 ไม่ระบุ 1 1.5 รวม 64 100--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--