กรุงเทพโพลล์: ผลสำรวจเรื่อง “ประเทศไทยวันนี้เป็นอย่างไรหลังผ่าน 8 เดือน คสช.”

ข่าวผลสำรวจ Monday February 9, 2015 10:34 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนส่วนใหญ่ชี้การวางระเบิดเป็นการท้าทายกฎอัยการศึก 70.4% บอกกฎอัยการศึกยังจำเป็น เหตุป้องกันม๊อบ การก่อการร้าย ระบุมีผลอย่างมากต่อความสงบของประเทศ 71.1% เห็นว่าประเทศดีขึ้นกว่าเดิมภายใต้การบริหารของรัฐบาลพลอ.ประยุทธ์

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประเทศไทยวันนี้เป็นอย่างไรหลังผ่าน 8 เดือน คสช.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,120 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.2 เห็นว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึกตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมามีผลอย่างมากต่อบรรยากาศความสงบสุขของประเทศในปัจจุบัน ส่วนร้อยละ 35.3 เห็นว่ามีผลบ้าง ขณะที่ร้อยละ 16.5 เห็นว่าไม่มีผล

เมื่อถามว่า “เหตุการณ์ความไม่สงบ การวางระเบิดที่รถไฟ BTS สถานีสยาม และห้างพารากอน เป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อท้าทายกฎอัยการศึกใช่หรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.7 ระบุว่า “ใช่” ขณะที่ร้อยละ 20.9 ระบุว่า “ไม่ใช่” และร้อยละ 28.4 ไม่แน่ใจ

นอกจากนี้เมื่อถามว่ากฎอัยการศึกยังจำเป็นสำหรับ คสช. และรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการบริหารประเทศหรือไม่ ในสถานการณ์ปัจจุบัน ร้อยละ 70.4 เห็นว่ายังจำเป็น ในจำนวนนี้ร้อยละ 39.2 ให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการป้องกันการชุมนุมที่อาจเกิดขึ้นได้ และร้อยละ 31.2 เพราะยังมีการสร้างสถานการณ์ การวางระเบิด การก่อความไม่สงบ ขณะที่ร้อยละ 22.3 เห็นว่าไม่จำเป็น โดยร้อยละ 13.4 ให้เหตุผลว่าจะทำให้ดูไม่ดีในสายตาชาวต่างชาติ และร้อยละ 8.9 เห็นว่าจะกระทบต่อการท่องเที่ยว

สำหรับความเห็นต่อคำถามที่ว่า “ปัจจุบันบรรยากาศในชุมชนหรือจังหวัดที่ท่านอาศัย ยังมีความขัดแย้ง ความเห็นต่าง และการแบ่งฝ่ายทางการเมืองหรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.9 เห็นว่ายังมีอยู่บ้าง ขณะที่ร้อยละ 38.2 ไม่ค่อยเห็นเลย ส่วนร้อยละ 9.8 เห็นว่ายังมีเหมือนเดิม

เมื่อถามว่า “การที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา และไม่มีคนต้าน จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเลือกตั้งรอบหน้าว่าพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม จะสามารถหาเสียงได้ทั่วประเทศใช่หรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.6 บอกว่า “ใช่” เพราะปัจจุบันความขัดแย้งลดลงมากจึงน่าจะสามารถหาเสียงทั่วประเทศได้ ขณะที่ร้อยละ 40.1 บอกว่า “ไม่ใช่” เพราะคิดว่าการต่อต้านการหาเสียงของฝ่ายตรงข้ามยังคงมีอยู่

สุดท้ายเมื่อถามว่า “ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านคิดว่าประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด” ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.1 ระบุว่า “ดีขึ้นกว่าเดิม” ขณะที่ร้อยละ 19.6 ระบุว่า “ยังเหมือนเดิม” และร้อยละ 6.9 ระบุว่า “แย่ลงกว่าเดิม”

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. การประกาศใช้กฎอัยการศึกตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา มีผลมากน้อยเพียงใดต่อบรรยากาศความสงบสุขของประเทศในปัจจุบัน
          มีผลมาก         ร้อยละ          46.2
          มีผลบ้าง         ร้อยละ          35.3
          ไม่มีผล          ร้อยละ          16.5
          ไม่แน่ใจ         ร้อยละ           2.0

2. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า  “เหตุการณ์ความไม่สงบ การวางระเบิดที่รถไฟ BTS สถานีสยาม และห้างพารากอน เป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อท้าทายกฎอัยการศึกใช่หรือไม่”
          ใช่             ร้อยละ          50.7
          ไม่ใช่           ร้อยละ          20.9
          ไม่แน่ใจ         ร้อยละ          28.4

3. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “กฎอัยการศึกยังจำเป็นสำหรับ คสช. และรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการบริหารประเทศหรือไม่ในสถานการณ์ปัจจุบัน”
ยังจำเป็น                                          ร้อยละ 70.4
          เพราะเป็นการป้องกันการชุมนุมที่อาจเกิดขึ้นได้                        ร้อยละ 39.2
          เพราะยังมีการสร้างสถานการณ์ การวางระเบิด การก่อความไม่สงบ        ร้อยละ 31.2
ไม่จำเป็น                                          ร้อยละ 22.3
          เพราะจะทำให้ดูไม่ดีในสายตาชาวต่างชาติ                           ร้อยละ 13.4
          เพราะจะกระทบต่อการท่องเที่ยว                                  ร้อยละ  8.9
ไม่แน่ใจ                                                              ร้อยละ  7.3

4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ปัจจุบันบรรยากาศในชุมชนหรือจังหวัดที่ท่านอาศัย ยังมีความขัดแย้ง ความเห็นต่าง และการแบ่งฝ่ายทางการเมืองหรือไม่”
          เห็นว่ายังมีอยู่บ้าง                                             ร้อยละ 50.9
          ไม่ค่อยเห็นเลย                                               ร้อยละ 38.2
          เห็นว่ายังมีอยู่เหมือนเดิม                                        ร้อยละ  9.8
          ไม่แน่ใจ                                                    ร้อยละ  1.1

5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า  “การที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา และไม่มีคนต้าน จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเลือกตั้งรอบหน้าว่าพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม จะสามารถหาเสียงได้ทั่วประเทศใช่หรือไม่ ”
ใช่       เพราะปัจจุบันความขัดแย้งลดลงมากจึงน่าจะสามารถหาเสียงทั่วประเทศได้     ร้อยละ 45.6
ไม่ใช่     เพราะคิดว่าการต่อต้านการหาเสียงของฝ่ายตรงข้ามยังคงมีอยู่              ร้อยละ 40.1
ไม่แน่ใจ                                                              ร้อยละ 14.3

6. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านคิดว่าประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด”
          ดีขึ้นกว่าเดิม                                                 ร้อยละ 71.1
          ยังเหมือนเดิม                                                ร้อยละ 19.6
          แย่ลงกว่าเดิม                                                ร้อยละ  6.9
          ไม่แน่ใจ                                                    ร้อยละ  2.4

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ
  • เพื่อสะท้อนความเห็นต่อความจำเป็นในการประกาศใช้กฎอัยการศึก และผลต่อการบรรยากาศความสงบสุขของประเทศในปัจจุบัน
  • เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการลงพื้นที่ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในจังหวัดนครราชสีมา และไม่มีคนต้าน จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเลือกตั้งรอบหน้าว่าพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม จะสามารถหาเสียงได้ทั่วประเทศ
  • เพื่อต้องการทราบความเห็นว่าการบริหารประเทศของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
  • เพื่อต้องการทราบว่าปัจจุบันบรรยากาศในชุมชนหรือจังหวัดที่กลุ่มตัวอย่างอาศัย ยังมีความขัดแย้ง ความเห็นต่าง การแบ่งฝ่ายทางการเมืองหรือไม่
ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล         :  3 - 4 กุมภาพันธ์ 2558

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ             :  7 กุมภาพันธ์ 2558

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                           575      51.3
          หญิง                                           545      48.7
          รวม                                         1,120       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                                   143      12.8
          31 ปี – 40 ปี                                   281      25.1
          41 ปี – 50 ปี                                   314        28
          51 ปี - 60 ปี                                   248      22.1
          61 ปี ขึ้นไป                                     134        12
          รวม                                         1,120       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                                  719      64.2
          ปริญญาตรี                                       312      27.9
          สูงกว่าปริญญาตรี                                   89       7.9
          รวม                                         1,120       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                                    162      14.5
          ลูกจ้างเอกชน                                    275      24.6
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร                    443      39.5
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                            62       5.5
          ทำงานให้ครอบครัว                                  3       0.3
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ                        147      13.1
          นักเรียน/ นักศึกษา                                 22         2
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม                         6       0.5
          รวม                                         1,120       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ