กรุงเทพโพลล์: “คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุม 2/2558 ของ กนง.”

ข่าวผลสำรวจ Monday March 9, 2015 09:14 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์ 68.2 % คาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00%

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ ได้ดำเนินการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 28 แห่ง จำนวน 66 คน เรื่อง “คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุม 2/2558 ของ กนง.” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 9 – 17 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา พบว่า

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.2 คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ร้อยละ 2.00 มีเพียงร้อยละ 16.7 เท่านั้นที่คาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงโดยส่วนใหญ่เห็นว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.75 ขณะที่ร้อยละ 15.1 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงทั้งหมดจำนวน 11 คน ในจำนวนนี้มี 9 คนที่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงเพียงร้อย 0.25

          หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                   นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

ข้อคำถาม “ท่านคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 2/2558 ในวันที่ 11 มีนาคมนี้ กนง. จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอย่างไร (จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 2.00%)”

ร้อยละ 68.2 คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 2.00%

ร้อยละ 16.7 คาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ไปอยู่ที่ระดับ 1.75%

ร้อยละ 15.1 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

หมายเหตุ : ในจำนวนนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด 11 คนที่คาดว่า กนง. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในจำนวนนี้มี 9 คนที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลง 0.25% และมีจำนวน 1 คนที่คาดว่าจะลด 0.25%-0.50% และมีจำนวน 1 คนที่คาดว่าจะลด 1.00% รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบการประชุมครั้งที่ 2/2558 ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 28 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานชั้นนำภายในระยะเวลาที่กำหนด

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  9 – 17 กุมภาพันธ์ 2558

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  9 มีนาคม 2558

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

          หน่วยงานภาครัฐ                               35        53
          หน่วยงานภาคเอกชน                            23      34.8
          สถาบันการศึกษา                                8      12.2
          รวม                                        66       100
เพศ
          ชาย                                        41      62.1
          หญิง                                        25      37.9
          รวม                                        66       100
อายุ
          26 ปี – 35 ปี                                12      18.2
          36 ปี – 45 ปี                                30      45.5
          46 ปีขึ้นไป                                   24      36.3
          รวม                                        66       100
การศึกษา
          ปริญญาตรี                                     3       4.6
          ปริญญาโท                                    49      74.2
          ปริญญาเอก                                   14      21.2
          รวม                                        66       100
ประสบการณ์ทำงานรวม
          1-5  ปี                                      5       7.7
          6-10 ปี                                     16      24.2
          11-15 ปี                                    16      24.2
          16-20 ปี                                     7      10.6
          ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                              22      33.3
          รวม                                        66       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ