นักเรียน ม.ปลาย 71.8% เห็นด้วยว่าการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย สามารลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมในการสอบได้ 53.5% ระบุส่งผล กระทบต่อการเตรียมตัวสอบ ต้องวางแผนอ่านหนังสือใหม่หมดทั้งกังวลว่าสอบเพียงครั้งเดียวไม่มีโอกาสสอบแก้ตัวและมีโอกาสสอบติดน้อยลง
เนื่องด้วยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศ(ทปอ.) มีมติปรับเปลี่ยนวิธีคัดเลือกนิสิต นักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย แทนระบบแอดมิชชั่น ในปีการศึกษา 2561 กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน ม.ปลาย เรื่อง “นักเรียน ม.ปลายคิดอย่างไร กับการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2561” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนที่เรียนอยู่ชั้น ม.4 – ม.6 ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,218 คน พบว่า
นักเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.2 ทราบแล้วว่า มีการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 แทนระบบแอดมิชชั่น ขณะที่ร้อยละ 10.8 ยังไม่ทราบ
โดยนักเรียน ม.ปลายร้อยละ 71.8 เห็นด้วยว่า สามารถลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมในการสอบระหว่างนักเรียนที่มีฐานะทางบ้านดีกับนักเรียนที่มีฐานะทาง บ้านด้อยกว่าได้ รองลงมาร้อยละ 66.1 เห็นด้วยว่า สามารถแก้ปัญหาเรื่องการเสียค่าใช้จ่ายในการสอบหลายครั้ง และร้อยละ 63.0 เห็นด้วยว่าสามารถแก้ปัญหาเด็กเก่งสอบตรงติด หลายที่ทำให้ไปกันที่ของเด็กคนอื่นๆ
ทั้งนี้นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.5 ระบุว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบดังกล่าวมีผลต่อการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะทำให้ต้องวางแผนการอ่านหนังสือใหม่ทั้งหมด ไม่รู้แนวข้อสอบ ขณะที่ ร้อยละ 46.5 ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบ เพราะมีเวลาเตรียมตัวทันอยู่แล้ว ทุกคนจะได้เท่าเทียมกัน ไม่ต้องสอบหลายครั้ง
ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุดเมื่อเปลี่ยนรูปแบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยนั้น ร้อยละ 47.0 ระบุว่าไม่มีโอกาสสอบแก้ตัวเพราะสอบเพียงครั้งเดียว รองลงมาร้อยละ 25.5 ระบุว่าโอกาส/ตัวเลือกในการสอบติดมหาวิทยาลัยของรัฐน้อยลง และ ร้อยละ 12.9 ระบุว่าไม่ทราบสูตร/เกณฑ์การคิดคะแนนสอบของแต่ละมหาวิทยาลัย
เมื่อถามถึงหลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของรัฐ นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 66.7 ระบุว่า เลือกคณะที่ชอบและอยากเรียนเป็นหลัก รองลงมา ร้อยละ 20.4 ระบุว่าเลือกสถาบันที่ชอบเป็นหลัก และร้อยละ 6.5 ระบุว่า เลือกคณะใดก็ได้ที่มีคะแนนถึง
สำหรับความเห็นต่อการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยด้วยระบบใหม่ ในปีการศึกษา 2561 ว่าจะนำไปสู่การพัฒนาระบบการเรียนการสอนของไทยได้หรือไม่ นั้น ร้อยละ 28.6 คิดว่าได้ ขณะที่ร้อยละ23.2 คิดว่าไม่ได้ และมีถึงร้อยละ 48.2 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ทั้งนี้เรื่องที่คิดว่าการศึกษาไทยควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุดคือควรลดเนื้อหาที่ไม่จำเป็น ลดทฤษฎี เพิ่มการปฏิบัติและการนำไปใช้ได้จริง(ร้อยละ 23.2) รองลงมาคือ ประสิทธิภาพในการสอนผู้สอน การใช้สื่อและเทคนิคในการสอนของครูเพื่อสื่อให้นักเรียนเข้าใจ (ร้อยละ 17.5) และควรสอบเท่าที่จำเป็น ออกข้อสอบถูกต้องมีมาตรฐาน ไม่ควรเกินจาก หลักสูตรที่เรียน (ร้อยละ 17.2)
โดยมีรายละเอียดดังนี้
เพราะ ทำให้ต้องวางแผนการอ่านหนังสือใหม่ทั้งหมด ต้องอ่านหนังสือหนักกว่าเดิม ไม่รู้แนวข้อสอบ เป็นกังวล และมีคนสอบเพิ่มขึ้น คนเรียนไม่เก่งมีโอกาสน้อยลง เป็นต้น
ไม่ส่งผลกระทบ ร้อยละ 46.5เพราะ มีเวลาเตรียมตัวทันอยู่แล้ว ทุกคนจะได้เท่าเทียมกัน ไม่ต้องสอบหลายครั้ง เป็นต้น
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนม.ปลาย เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2561 แทนการสอบแอดมิชชั่น ในประเด็นต่างๆ แนวทางการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนเรื่องที่ต้องการให้การศึกษาไทไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งผลสำรวจที่ได้จะช่วยสะท้อนมุมมองของประชาชนให้สังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ม.4 – ม.6 ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ในกรุงเทพฯ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,218 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.4 และเพศหญิงร้อยละ 52.6
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ซึ่งเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Ended) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8 – 14 กันยายน 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 17 กันยายน 2559ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 577 47.4 หญิง 641 52.6 รวม 1,218 100 ระดับการศึกษา ม.4 374 30.7 ม.5 386 31.7 ม.6 458 37.6 รวม 1,218 100 ประเภทโรงเรียน รัฐบาล 1011 83 เอกชน 207 17 รวม 1,218 100--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--