กรุงเทพโพลล์: “ตรุษจีนปีไก่ กับวิถีชีวิตคนไทยที่เปลี่ยนไป”

ข่าวผลสำรวจ Monday January 30, 2017 10:36 —กรุงเทพโพลล์

คนไทยเชื้อสายจีนยอมรับว่าเทศกาลตรุษจีนในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากอดีต โดยระบุว่า “วันจ่าย” ร้อยละ 42.1 จะซื้อเป็ดและไก่พะโล้ ขนมเทียน ขนมเข่ง ที่ตลาดแทนการ ทำทุกอย่างเองที่บ้าน “วันไหว้” ร้อยละ 51.4 เปลี่ยนไปไหว้เฉพาะตอนเช้าก่อนไปเรียน/ทำงาน “วันตรุษจีน” ร้อยละ 41.7 ระบุว่าในปัจจุบันญาติพี่น้องมารวมตัวกันน้อยลง ติดธุระมา กันไม่ครบเหมือนก่อนทั้งนี้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.6 เลือกที่จะไปไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ตรุษจีนปีไก่ กับวิถีชีวิตคนไทยที่เปลี่ยนไป” โดยเก็บข้อมูลจากคนไทยเชื้อสายจีน ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,194 คน พบว่า เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีนเรื่องที่คนไทยเชื้อสายจีนนึกถึงมากที่สุด ร้อยละ 33.9 นึกถึงการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ รองลงมาร้อยละ 14.6 นึกถึง อั่งเปา และร้อยละ 12.4 นึกถึง เป็ด ไก่ ไหว้เจ้า

ทั้งนี้เมื่อให้มองประเพณีและพิธีกรรมของเทศกาลตรุษจีนย้อนไปในอดีตแล้วเปรียบเทียบในปัจจุบันถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในวันจ่าย วันไหว้ และวันตรุษจีน พบว่า

  • ใน “วันจ่าย” คนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.1 ระบุว่า เปลี่ยนไปซื้อเป็ดและไก่พะโล้ ขนมเทียน ขนมเข่ง ที่ตลาดแทนการต้มเป็ดต้มไก่เองที่บ้าน รองลงมา
ร้อยละ 34.6 ระบุว่าซื้อของไหว้แต่ละอย่างปริมาณลดลงและร้อยละ 20.2 ระบุว่า เปลี่ยนไปซื้ออาหารและของไหว้สำเร็จที่จัดเป็นชุดๆ ในซุปเปอร์มาร์เก็ตแทน
  • ใน “วันไหว้” คนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 ระบุว่า เปลี่ยนไปไหว้เฉพาะตอนเช้าก่อนไปเรียน/ทำงาน รองลงมาร้อยละ 25.6 ระบุว่า สมาชิกในบ้านต่างคน
ต่างไหว้ ไม่ได้ไหว้พร้อมกันเหมือนสมัยก่อน และร้อยละ 23.0 ระบุว่า ไหว้บ้างเป็นบางปีแล้วแต่สะดวกไม่ค่อยถือ
  • ใน “วันตรุษจีน” หรือ “วันเที่ยว” คนไทยเชื้อสายจีน ร้อยละ 41.7 ระบุว่าในปัจจุบันญาติพี่น้องมารวมตัวกันน้อยลง ติดธุระมากันไม่ครบเหมือนก่อน รองลงมาร้อยละ 27.2
ระบุว่า วันตรุษจีนไม่ได้หยุดเรียน หรือปิดร้าน/หยุดงานเหมือนเมื่อก่อน และร้อยละ 19.1 ระบุว่า ปัจจุบันจะไปไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์ตามที่ต่างๆ เท่าที่สะดวกไปเท่านั้น ไม่ได้มีโอกาสไปทุกปี
เหมือนเมื่อก่อน

สำหรับสถานที่ที่คนไทยเชื้อสายจีนจะไปไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวันตรุษจีนปีนี้ ร้อยละ 55.6 คือ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) รองลงมา ร้อยละ 13.1 จะไปไหว้ที่ ศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า) และร้อยละ 7.0 จะไปไหว้ที่ องค์หลวงปู่ไต้ฮงกง (มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย)

มีรายละเอียดดังนี้

1. เรื่องที่นึกถึงมาเป็นอันดับแรกเมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน
การไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ                                    ร้อยละ          33.9
อั่งเปา                                                   ร้อยละ          14.6
เป็ด ไก่                                                  ร้อยละ          12.4
ขนมเทียน ขนมเข่ง                                          ร้อยละ          10.2
สถานที่ไหว้เจ้า (เช่น วัดเล่งเน่ยยี่ ศาลเจ้าพ่อเสือ ฯลฯ)             ร้อยละ           6.9

2. ความเปลี่ยนแปลงของประเพณีและพิธีกรรมช่วงเทศกาลตรุษจีนในปัจจุบันเปรียบเทียบกับอดีต

- สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตใน “วันจ่าย”
เปลี่ยนไปซื้อเป็ดและไก่พะโล้ ขนมเทียน ขนมเข่ง ที่ตลาดแทน           ร้อยละ          42.1
ซื้อของไหว้แต่ละอย่างปริมาณลดลง                               ร้อยละ          34.6
เปลี่ยนไปซื้ออาหารและของไหว้สำเร็จที่จัดเป็นชุดๆ ในซุปเปอร์มาร์เก็ตแทน ร้อยละ          20.2
ซื้อของไหว้แต่ละอย่างปริมาณเพิ่มขึ้น                              ร้อยละ           3.1

- สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตใน “วันไหว้”
ไหว้เฉพาะตอนเช้าก่อนไปเรียน/ทำงาน                           ร้อยละ          51.4
ต่างคนต่างไหว้ ไม่พร้อมกันเหมือนเมื่อก่อน                         ร้อยละ          25.6
ไหว้บ้างเป็นบางปีแล้วแต่สะดวกไม่ค่อยถือ                          ร้อยละ          23.0

- สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตใน “วันถือ/วันตรุษจีน/วันเที่ยว”
ญาติพี่น้องมารวมตัวกันน้อยลง ติดธุระมากันไม่ครบเหมือนก่อน            ร้อยละ          41.7
ไม่ได้หยุดเรียน หรือปิดร้าน/หยุดงานเหมือนเมื่อก่อน                  ร้อยละ          27.2
จะไปไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์ตามที่ต่างๆ เท่าที่สะดวกไปเท่านั้น               ร้อยละ          19.1
ไม่ได้ไปเที่ยวต่างจังหวัดช่วงตรุษจีน ต้องประหยัดงบประมาณ            ร้อยละ          12.0

3. สถานที่ที่จะไปไหว้สักการะเพื่อขอพรในเทศกาลตรุษจีนปีนี้มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)                               ร้อยละ          55.6
ศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า)                                   ร้อยละ          13.1
องค์หลวงปู่ไต้ฮงกง (มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย)                  ร้อยละ           7.0
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)                  ร้อยละ           6.4
ศาลเจ้าแถวบ้าน                                            ร้อยละ           4.5

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของคนไทยเชื้อสายจีน เนื่องในเทศกาลตรุษจีนที่จะถึงนี้ เกี่ยวกับเรื่องที่นึกถึงในช่วงเทศกาลตรุษจีน สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปของประเพณีและพิธีกรรม เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน และสถานที่ไหว้เจ้าขอพรในช่วงเทศกาลตรุษจีน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างคนไทยเชื้อสายจีน อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ โดย

แบ่งเป็นเขตการปกครองชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ได้แก่ เขตดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางเขน บางซื่อ บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ

พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว สวนหลวง และสาทร รวมถึงปริมณฑลได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,194 คน เป็น

เพศชายร้อยละ 47.7 และเพศหญิงร้อยละ 52.3

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของ และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Ended) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึก ข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20-24 มกราคม 2560

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ           :  28 มกราคม 2560

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                      570      47.7
          หญิง                                      624      52.3
          รวม                                    1,194       100
อายุ
          18 - 30  ปี                               252      21.1
          31 – 40 ปี                                232      19.4
          41 - 50  ปี                               232      19.4
          51 - 60  ปี                               242      20.3
          61 ปีขึ้นไป                                 236      19.8
          รวม                                    1,194       100
การศึกษาปัจจุบัน
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                             679      56.9
          ปริญญาตรี                                  448      37.5
          สูงกว่าปริญญาตรี                              67       5.6
          รวม                                    1,194       100
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                 54       4.5
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                 185      15.5
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                  549        46
          เจ้าของกิจการ                              123      10.3
          ทำงานให้ครอบครัว                            26       2.2
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                     123      10.3
          นักเรียน/นักศึกษา                            118       9.9
          อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น             16       1.3
          รวม                                    1,194       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ