กรุงเทพโพลล์: “จุดใด? บนเส้นทางความปรองดองของรัฐบาล”

ข่าวผลสำรวจ Monday March 20, 2017 10:31 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนส่วนใหญ่มองสถานการณ์ความปรองดองมีความคืบหน้า แต่ไม่เชื่อจะปรองดองสำเร็จ เหตุความเห็นต่าง ในขณะที่มีสัดส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยและผู้ที่เห็นด้วยกับแนวคิด การลดหย่อนโทษแทนการนิรโทษกรรมมีใกล้เคียงกัน 49.8% ไม่เห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการกลางที่มาจากคู่กรณีขัดแย้งเป็นผู้เลือก วอนรัฐรีบปฏิรูปการป้องกันคอร์รัปชั่น และกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การมีสองมาตรฐาน เพื่อปรองดองจะสำเร็จเร็วขึ้น

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “จุดใด? บนเส้นทางความปรองดองของรัฐบาล” โดยเก็บข้อมูลกับ ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,288 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 37.2 เห็นว่าสถานการณ์แนวทางการสร้างความปรองดองของรัฐบาลมีความคืบหน้าไปในทิศทาง ที่ดี ขณะที่ร้อยละ 33.9 เห็นว่า ยังไม่เห็นมีอะไรเป็นรูปธรรม ส่วนร้อยละ 24.7 เห็นว่ามีความล่าช้า เพราะมีอุปสรรค มีความเห็นต่างกัน ที่เหลือร้อยละ 4.2 ไม่แน่ใจ

เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดการสร้างความปรองดอง โดยการลดหย่อนโทษทางการเมืองสำหรับผู้มาชุมนุม เช่น การรอลงอาญา แทนที่การนิรโทษกรรม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.3 ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะ ถ้ายอมได้ในอนาคตก็จะมีคนทำแบบนี้อีก ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับผู้ที่ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ได้รับการลงโทษแล้ว ประเทศจะได้สงบสุขไม่มีความ แตกแยก คิดเป็นร้อยละ 47.0 ส่วนที่เหลือร้อยละ 5.7 ไม่แน่ใจ

ส่วนความเห็นต่อการตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อสร้างความปรองดอง ที่มาจากคู่กรณีขัดแย้งทางการเมืองเป็นผู้เสนอรายชื่อ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.8 ไม่เห็นด้วย เพราะ กรรมการแต่ละฝ่ายจะเข้าข้างฝ่ายของตัวเองคิดว่ารัฐบาลควรหาคนกลางมาให้คู่ขัดแย้งเลือกเป็นคณะกรรมการ ขณะที่ร้อยละ 44.3 เห็นด้วย เพราะต่างฝ่ายต่างรู้ปัญหาจะได้ช่วยกันการแก้ ปัญหาเพื่อให้เกิดความปรองดองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ที่เหลือร้อยละ 5.9 ไม่แน่ใจ

สำหรับเรื่องที่คิดว่ารัฐบาลควรเน้นปฏิรูปมากที่สุด เพื่อให้เกิดแนวทางความปรองดองอย่างรวดเร็วคือ กระบวนการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 60.5) รองลงมาคือ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การมีสองมาตรฐาน(ร้อยละ 54.6) และพรรคการเมือง นักการเมือง (ร้อยละ 45.7)

สุดท้ายเมื่อถามว่าคิดว่าสุดท้ายแล้วเส้นทางความปรองดองของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.9 คิดว่าจะไม่สามารถปรองดองได้ เพราะความเห็นของแต่ละฝ่าย ขัดแย้งกันเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 43.7 คิดว่าเส้นทางความปรองดองจะประสบความสำเร็จ ทุกฝ่ายยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงร่วมกัน ที่เหลือร้อยละ 6.4 ไม่แน่ใจ โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ความเห็นต่อสถานการณ์แนวทางการสร้างความปรองดองของรัฐบาล
มีความคืบหน้าไปในทิศทางที่ดี                                                     ร้อยละ          37.2
ยังไม่เห็นมีอะไรเป็นรูปธรรม                                                     ร้อยละ          33.9
มีความล่าช้า เพราะมีอุปสรรค มีความเห็นต่างกัน                                      ร้อยละ          24.7
ไม่แน่ใจ                                                                    ร้อยละ           4.2

2. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดการสร้างความปรองดอง โดยการลดหย่อนโทษทางการเมืองสำหรับผู้มาชุมนุม เช่น การรอลงอาญา แทนที่การนิรโทษกรรม”
ไม่เห็นด้วย เพราะ ถ้ายอมได้ในอนาคตก็จะมีคนทำแบบนี้อีก                               ร้อยละ          47.3
เห็นด้วย เพราะ ได้รับการลงโทษแล้ว ประเทศจะได้สงบสุขไม่มีความแตกแยก                 ร้อยละ          47.0
ไม่แน่ใจ                                                                    ร้อยละ           5.7

3. ความเห็นต่อการตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อสร้างความปรองดอง ที่มาจากคู่กรณีขัดแย้งทางการเมืองเป็นผู้เสนอรายชื่อ
ไม่เห็นด้วย เพราะ กรรมการแต่ละฝ่ายจะเข้าข้างฝ่ายของตัวเองคิดว่ารัฐบาลควร              ร้อยละ         49.8
หาคนกลางมาให้คู่ขัดแย้งเลือกเป็นคณะกรรมการ
เห็นด้วย เพราะ ต่างฝ่ายต่างรู้ปัญหาจะได้ช่วยกันการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิด                     ร้อยละ         44.3
ความปรองดองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ไม่แน่ใจ                                                                    ร้อยละ          5.9

4. เรื่องที่คิดว่ารัฐบาลควรเน้นปฏิรูปมากที่สุด เพื่อให้เกิดแนวทางความปรองดองอย่างรวดเร็ว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
กระบวนการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่น                                       ร้อยละ         60.5
กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การมีสองมาตรฐาน                                     ร้อยละ         54.6
พรรคการเมือง นักการเมือง                                                     ร้อยละ         45.7
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การแบ่งฝักฝ่าย                                            ร้อยละ         41.4
ระบบราชการไทย การแต่งตั้งข้าราชการ                                            ร้อยละ         38.4

5. ข้อคำถาม “คิดว่าสุดท้ายแล้วเส้นทางความปรองดองของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร”
คิดว่าจะไม่สามารถปรองดองได้ เพราะความเห็นของแต่ละฝ่ายขัดแย้งกันเหมือนเดิม             ร้อยละ         49.9
คิดว่าเส้นทางความปรองดองจะประสบความสำเร็จ ทุกฝ่ายยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงร่วมกัน         ร้อยละ         43.7
ไม่แน่ใจ                                                                    ร้อยละ          6.4

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อแนวทางความปรองดองของรัฐบาล

2) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องการลดหย่อนโทษทางการเมืองแทนการนิรโทษกรรม

3) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อสร้างความปรองดอง ที่มาจากคู่กรณีขัดแย้งทางการเมืองเป็นผู้เสนอรายชื่อ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบ เลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล        :  15 – 17 มีนาคม 2560

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ            :  18 มีนาคม 2560

ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                 690      53.6
          หญิง                                 598      46.4
          รวม                               1,288       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                         156      12.1
          31 ปี - 40 ปี                         257        20
          41 ปี - 50 ปี                         336        26
          51 ปี - 60 ปี                         314      24.4
          61 ปี ขึ้นไป                           225      17.5
          รวม                               1,288       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                        828      64.3
          ปริญญาตรี                             362      28.1
          สูงกว่าปริญญาตรี                         98       7.6
          รวม                               1,288       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                          148      11.5
          ลูกจ้างเอกชน                          294      22.8
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          517      40.2
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                  47       3.6
          ทำงานให้ครอบครัว                        9       0.7
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ              223      17.3
          นักเรียน/ นักศึกษา                       36       2.8
          ว่างงาน/ รวมกลุ่ม                       14       1.1
          รวม                               1,288       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ