ประชาชนส่วนใหญ่ 65.6% เห็นว่ารัฐบาลใหม่จะมีเสถียรภาพและความมั่นคงค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด 64.1% เห็นว่ารัฐบาลจะ เผชิญกับความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล การจัดสรรตำแหน่ง โควตารัฐมนตรี
ส่วนใหญ่ 59.6 % อยากให้สานต่อนโยบายแบบไร้รอยต่อด้านการช่วยเหลือผู้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและ 53.1% วอนรัฐบาลรีบดำเนินการนโยบายเพิ่มรายได้ประเทศ เพิ่มรายได้ประชาชน ตามที่ได้หาเสียงไว้
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “มุมมองประชาชนต่อความท้า ทายที่รัฐบาลใหม่ต้องเผชิญ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,196 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ65.6 เห็นว่ารัฐบาลใหม่จากการผสมกว่า 19 พรรคการเมือง จะมีเสถียรภาพและความมั่นคงค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 34.4 เห็นว่าจะ มีเสถียรภาพและความมั่นคงค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
สำหรับสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะเผชิญกับความท้าทายด้านเสถียรภาพทางการเมืองมากที่สุดคือ ความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล การจัด สรรตำแหน่ง โควตารัฐมนตรี คิดเป็นร้อยละ 64.1 รองลงมาคือ กระแสข่าวโจมตีรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 43.8 และจำนวนเสียงที่ใกล้เคียง กันระหว่าง ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน คิดเป็นร้อยละ 41.6
ส่วนนโยบายที่รัฐบาลใหม่ควรเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ สานต่อจากที่ค้างคาไว้ในอดีต แบบไร้รอยต่อพบว่า อันดับแรกคือ ช่วยเหลือผู้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม คิดเป็นร้อยละ 59.6 รองลงมาคือ ปฏิรูปเศรษฐกิจ การลงทุน ที่มีนวัตกรรมและ การวิจัย คิดเป็นร้อยละ 58.1 และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น คิดเป็นร้อยละ 44.7
สุดท้ายเมื่อถามว่านโยบายหาเสียงของฝ่ายรัฐบาลที่อยากให้รีบดำเนินการมากที่สุดคือ เพิ่มรายได้ประเทศ เพิ่มรายได้ประชาชน คิดเป็นร้อยละ 53.1 รองลงมาคือ ทวงคืนกำไรให้ชาวสวน ชาวนา คิดเป็นร้อยละ 51.5 และเศรษฐกิจประชารัฐ คิดเป็นร้อยละ 45.3
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
1. ความเห็นต่อรัฐบาลใหม่จากการผสมกว่า 19 พรรคการเมือง จะมีเสถียรภาพและความมั่นคงมากน้อยเพียงใด
1) เพื่อสะท้อนเห็นต่อรัฐบาลใหม่จากการผสมกว่า 19 พรรคการเมือง จะมีเสถียรภาพและความมั่นคงมากน้อยเพียงใด
2) เพื่อสะท้อนถึงสิ่งที่รัฐบาลใหม่จะเผชิญกับความท้าทายด้านเสถียรภาพทางการเมือง
3) เพื่อสะท้อนถึงนโยบายที่รัฐบาลใหม่ควรเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ สานต่อจากที่ค้างคาไว้ในอดีต แบบไร้รอยต่อ
4) เพื่อสะท้อนถึงนโยบายหาเสียงของฝ่ายรัฐบาลที่อยากให้รีบดำเนินการมากที่สุด
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐาน ข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์ จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้าง แน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึก ข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11-13 มิถุนายน 2562
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 15 มิถุนายน 2562--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--