กรุงเทพโพลล์: “วิกฤตการณ์ฝุ่นเกินค่า...ต้องฝ่าไปด้วยกัน”

ข่าวผลสำรวจ Monday January 27, 2020 08:34 —กรุงเทพโพลล์

กรุงเทพโพลล์: “วิกฤตการณ์ฝุ่นเกินค่า...ต้องฝ่าไปด้วยกัน”

จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ในประเทศไทยขณะนี้ มีประชาชนร้อยละ 33.5 ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ซึ่งมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก หายใจไม่สะดวก โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.5ป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย

ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 57.6 วอนให้หน่วยงานต่างๆ ดูแลการงดปล่อยควันจากโรงงาน/งดเผา /ตรวจควันดำรถ ในช่วงนี้อย่างจริงจัง โดยร้อยละ 79.7 เชื่อมั่นว่า มาตรการของรัฐบาล ด้านสร้างการรับรู้และเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง จะช่วยแก้ปัญหาฝุ่นในระยะ นี้ได้

กรุงเทพโพลล์: “วิกฤตการณ์ฝุ่นเกินค่า...ต้องฝ่าไปด้วยกัน”

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “วิกฤตการณ์ฝุ่นเกินค่า...ต้องฝ่าไปด้วยกัน” โดยเก็บข้อมูล กับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,180 คน พบว่า

จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในประเทศไทยขณะนี้ประชาชนร้อยละ 33.5 ระบุว่าได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ โดยร้อยละ 33.3 ระบุว่า มีอาการไอ จาม มีน้ำมูก รองลงมาร้อยละ 32.4 ระบุว่ามีอาการหายใจไม่สะดวก/หายใจได้ไม่เต็มปอด และร้อยละ 18.2 ระบุว่ามีอาการแสบตา ตาอักเสบ ตาแดง

ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.5 เลือกวิธีป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ รองลงมาร้อยละ 30.3 ระบุว่าเลี่ยงเดินทางที่มีจราจรคับคั่ง/ไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น และร้อยละ 12.6 ระบุว่างดกิจกรรม/การออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง

ส่วนความเห็นที่มีต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าควรมีมาตรการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในช่วงเร่งด่วนนี้อย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.6 ระบุว่า ควรงดปล่อยควันจากโรงงาน/การเผา/รถควันดำในช่วงนี้อย่างจริงจัง รองลงมาร้อยละ 54.1 ระบุว่าควรแจกอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกระจาย ทุกพื้นที่ และร้อยละ 53.6 ระบุว่าควรตั้งหน่วยเฉพาะกิจมาบริหารจัดการ แก้ปัญหาฝุ่นอย่างเร่งด่วนและมีอำนาจสั่งการจริงจัง

สำหรับความเชื่อมั่นต่อมาตรการแก้ปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาลว่าจะช่วยแก้ปัญหาฝุ่นในระยะ 2-3 เดือนนี้ได้ พบว่า มาตรการที่ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.7 เชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในช่วงนี้ได้คือ สร้างการรับรู้และเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง รองลงมา ร้อยละ 60.2 คือมาตรการสนับสนุนการจัดโครงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี เพื่อช่วยลดฝุ่นละออง และร้อยละ 55.8 คือมาตรการ ตรวจสอบโรงงานที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองหากเกินมาตรฐานให้สั่งปรับปรุงแก้ไข หรือสั่งหยุดกิจการ

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ตนเองหรือคนในครอบครัวได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชิวิตจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 บ้างหรือไม่
ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ                                ร้อยละ 33.5
โดยมีอาการ
          ไอ จาม มีน้ำมูก                            ร้อยละ 33.3
          หายใจไม่สะดวก/หายใจได้ไม่เต็มปอด            ร้อยละ 32.4
          แสบตา ตาอักเสบ ตาแดง                     ร้อยละ 18.2
          เป็นผื่นคันตามตัว                            ร้อยละ  6.7
          อื่นๆ อาทิ                                 ร้อยละ  9.4

ยังไม่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ                            ร้อยละ 66.5

2. วิธีป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 (ตอบได้มากว่า 1 ข้อ)
สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5               ร้อยละ 51.5
เลี่ยงเดินทางที่มีจราจรคับคั่ง/ไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น        ร้อยละ 30.3
งดกิจกรรม/การออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง                   ร้อยละ 12.6
ตรวจสอบค่าฝุ่นในสถานที่ที่จะไปอยู่เสมอ                     ร้อยละ  9.7
ซื้อเครื่องฟอกอากาศไว้ที่บ้าน                             ร้อยละ  8.9
อื่นๆ อาทิ ใส่แว่นดำ ปลูกต้นไม้ ใช้น้ำรดหน้าบ้าน ฯลฯ          ร้อยละ  1.8

3. คิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในช่วงเร่งด่วนนี้อย่างไร (ตอบได้มากว่า 1 ข้อ)
งดปล่อยควันจากโรงงาน/การเผา/รถควันดำในช่วงนี้อย่างจริงจัง  ร้อยละ 57.6
แจกอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกระจายทุกพื้นที่           ร้อยละ 54.1
ตั้งหน่วยเฉพาะกิจมาบริหารจัดการ แก้ปัญหาฝุ่นอย่างเร่งด่วนและ   ร้อยละ 53.6
มีอำนาจสั่งการจริงจัง
ยกระดับเป็นสถานการณ์สีแดงและแจ้งให้ ประชาชนตระหนัก/      ร้อยละ 36.0
เตรียมรับมือ
ประกาศให้หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่อยู่กลางแจ้ง              ร้อยละ 21.9
จัดสลับวันเรียน/วันทำงาน /วันใช้รถ เพื่อลดการออกนอกบ้าน     ร้อยละ 17.1
อื่นๆ อาทิ ใช้น้ำชะล้างฝุ่นตามที่ต่างๆ ทำฝนเทียม ระงับการ       ร้อยละ 4.8
ก่อสร้างรถไฟฟ้าและถนนชั่วคราว ฯลฯ

4. ความเชื่อมั่นต่อมาตรการแก้ปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล ว่าจะช่วยแก้ปัญหาฝุ่นในระยะ 2-3 เดือนนี้ได้
มาตรการแก้ปัญหา ฝุ่น PM 2.5                                       เชื่อมั่น          ไม่เชื่อมั่น
                                                             (ร้อยละ)         (ร้อยละ)
สร้างการรับรู้และเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง          79.7            20.3
สนับสนุนการจัดโครงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มี            60.2            39.8
อายุเกิน 5 ปี เพื่อช่วยลดฝุ่นละออง
ตรวจสอบโรงงานที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองหากเกินมาตรฐานให้สั่งปรับปรุง            55.8            44.2
แก้ไข หรือสั่งหยุดกิจการ
บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่กระทำการเผาในที่โล่ง ทั้งใน               55.4            44.6
กรุงเทพฯต่างจังหวัด
ลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกิน 10 PPM                     51.8            48.2
ซึ่งเป็นน้ำมันที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองน้อย
ตรวจวัดควันดำรถโดยสาร ทุกคัน และรถบรรทุก เพื่อออกคำสั่งห้ามใช้รถ          48.2            51.8
กำกับให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าและก่อสร้างอื่นๆไม่ทำให้เกิดฝุ่นและปัญหาการจราจร       40.9            59.1
บริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้าง
ขอความร่วมมือลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน                            35.8            64.2
ห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯในวันคี่ ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ.63     35.3            64.7

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงเวลานี้ ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ การป้องกันตนเองจากฝุ่น PM 2.5 การบริหารจัดการวิกฤตการณ์ฝุ่น PM 2.5 จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความเชื่อมั่นในมาตรการแก้ปัญหาของรัฐาบาล เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21-23 มกราคม 2563

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 25 มกราคม 2563

ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ