ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 92.6 ปรับการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ด้วยการ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน เป็นประจำ ส่วนเรื่องเรียนออนไลน์ ควบคู่ไปกับการไปเรียนที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัยนั้น ร้อยละ 70.0 ระบุว่า ยังไม่ได้ปฏิบัติเลย
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 74.8 ระบุว่า มาตรการที่ควรออกมารองรับ/สนับสนุน ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน คือ การจัดอบรม ฝึกอาชีพ จัดหางาน สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง จากการปรับรูปแบบการทำงาน รองลงมาร้อยละ 67.2 ควรขยายโอกาสให้เด็กที่มีฐานะยากจนมีสิทธิเข้าถึงการ เรียนแบบออนไลน์ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “New Normal ชีวิตวิถีใหม่ของคนไทย” โดยเก็บข้อมูลกับ ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,201 คน พบว่า
สืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 พบว่าประชาชนได้ปรับการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยพบว่าสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.6 ปฏิบัติเป็นประจำคือ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน รองลงมาร้อยละ 73.5 คือ ล้างมือ กินร้อน ช้อนตัวเอง และร้อยละ 73.3 คือ งด/ ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรม งานเลี้ยงสังสรรค์แบบหมู่คณะ ให้มีระยะห่าง
ส่วนสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.0 ไม่ได้ปฏิบัติเลย คือ เรียนออนไลน์ ควบคู่ไปกับการไปเรียนที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย รองลงมาร้อยละ 47.4 คือ การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านออนไลน์ จ่ายเงินแบบไร้เงินสด(Cashless) และร้อยละ 44.7 คือ การสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ แทนการออกไปที่ร้าน
ส่วนมาตรการที่ควรออกมารองรับ/สนับสนุน ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.8 ระบุว่าควรจัดอบรม ฝึกอาชีพ จัดหางาน สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง จากการปรับรูปแบบการทำงาน รองลงมาร้อยละ 67.2 ระบุว่าควรขยายโอกาสให้เด็กที่มีฐานะยากจนมีสิทธิเข้าถึงการเรียน แบบออนไลน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และร้อยละ 62.1 ระบุว่าหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ ต้องหาซื้อง่าย ราคาถูก
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการปรับรูปแบบในการดำเนินชีวิตสู่ “ ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)” อันสืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัส COVID -19 ตลอดจนมาตรการต่างๆที่ควรออกมารองรับหรือสนับสนุนชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 - 20 พฤษภาคม 2563
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 23 พฤษภาคม 2563
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์