กรุงเทพโพลล์: ปลดล็อกกัญชา...สู่พืชเศรษฐกิจใหม่ของไทย

ข่าวผลสำรวจ Monday March 22, 2021 08:31 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.5 ระบุว่าทราบข่าว การปลดล็อก ให้ปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมายได้ครัวเรือนละ 6 ต้น โดยร้อยละ 53.3 ระบุว่าการอนุญาตให้ปลูกได้ครัวเรือนละ 6 ต้น ไม่เพียงพอต่อการสร้างรายได้ให้เกษตรกรและนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้

ส่วนประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.3 ระบุว่าหากภาครัฐต้องการผลักดันกัญชาให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ควรให้ความรู้กับผู้ที่ต้องการปลูกและหาตลาดรองรับ โดยร้อยละ 44.7 กังวลว่าหากควบคุมการปลูกกัญชาไม่ดีอาจมีการลักลอบนำไปเสพ จำหน่ายเป็นสารเสพติดได้

ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 50.8 ตอบรับอาหารและเครื่องดื่มเมนูกัญชาโดยให้เหตุผลว่า มีสรรพคุณเป็นยา และอยากลองกินดู

ผลสำรวจเรื่อง ?ปลดล็อกกัญชา...สู่พืชเศรษฐกิจใหม่ของไทย?

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?ปลดล็อกกัญชา...สู่พืชเศรษฐกิจใหม่ของไทย? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,171 คน พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.5 ระบุว่าทราบข่าวเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อก ให้ปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมายได้บ้านละ 6 ต้น โดยร้อยละ 52.3 ระบุว่ายังไม่ทราบรายละเอียดเรื่องการปลูก รองลงมาร้อยละ 30.4 ระบุว่าต้องมีการรวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชนก่อนจึงขออนุญาตปลูกได้ และร้อยละ 17.3 เข้าใจว่าสามารถปลูกได้เลยอย่างเสรีบ้านละ 6 ต้น ขณะที่ร้อยละ 35.5ระบุว่ายังไม่ทราบข่าว

ส่วนความเห็นต่อการอนุญาตให้ปลูกกัญชาได้ครัวเรือนละ 6 ต้น ว่าเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ ต่อการสร้างรายได้ให้เกษตรกรและนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.3 ระบุว่าไม่เหมาะสมเพียงพอ ขณะที่ร้อยละ 46.7 ระบุว่าเหมาะสมเพียงพอแล้ว

ทั้งนี้หากภาครัฐต้องการผลักดันกัญชาให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ควรส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องใด พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.3 ระบุว่าควรให้ความรู้กับผู้ที่ต้องการปลูกและหาตลาดรองรับ รองลงมาร้อยละ 47.5 ระบุว่าควรปรับเกณฑ์/เงื่อนไขต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และร้อยละ 44.7 ระบุว่า ควรสนับสนุนผู้ประกอบการที่สนใจผลิตสินค้าแปรรูปจากกัญชา

สำหรับสิ่งที่ประชาชนกังวลมากที่สุดจากการอนุญาตให้ทุกครัวเรือนมีสิทธิปลูกได้บ้านละ 6 ต้นคือ หากควบคุมไม่ดีอาจมีการลักลอบนำไปเสพ จำหน่ายเป็นสารเสพติด ร้อยละ 44.7 รองลงมาคือ ผู้ที่ไม่รู้หลักเกณฑ์ในการปลูกอาจทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว ร้อยละ 17.2 และอาจทำให้มีคนหันมาเสพกัญชามากขึ้น ร้อยละ 16.2

เมื่อถามว่า ท่านคิดว่าจะกินอาหาร และเครื่องดื่ม เมนูกัญชา หรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 50.8 ระบุว่าจะกิน โดยให้เหตุผลว่า เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณเป็นยา ร้อยละ 52.5 รองลงมาคือ อยากลอง ร้อยละ 21.1 และ เคยกินมาแล้วทำให้อาหารอร่อยขึ้น ร้อยละ 18.0 ขณะที่ร้อยละ 49.2 ระบุว่า จะไม่กิน โดยให้เหตุผลว่า ติดภาพว่าเป็นยาเสพติด ร้อยละ 54.9 รองลงมาคือ ไม่ชอบลองของใหม่/ของแปลก ร้อยละ 30.1 และมีโรคประจำตัว ร้อยละ 10.0

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ทราบข่าวเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อก ให้ปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมายได้บ้านละ 6 ต้น หรือไม่อย่างไร

ทราบ                                                             ร้อยละ          64.5
โดยระบุว่า
ยังไม่ทราบรายละเอียดเรื่องการปลูก          ร้อยละ          52.3
ทราบว่าต้องมีการรวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชนก่อนจึงขออนุญาตปลูกได้          ร้อยละ          30.4
คิดว่าสามารถปลูกได้เลยอย่างเสรีบ้านละ 6 ต้น          ร้อยละ          17.3


ไม่ทราบ                                                   ร้อยละ          35.5

2. การอนุญาตให้ปลูกกัญชาได้ครัวเรือนละ 6 ต้น เหมาะสมเพียงพอหรือไม่ ต่อการสร้างรายได้ให้เกษตรกรและนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

คิดว่าไม่เหมาะสมเพียงพอ          ร้อยละ          53.3
คิดว่าเหมาะสมเพียงพอ          ร้อยละ          46.7

3. หากภาครัฐต้องการผลักดันกัญชาให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ควรส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องใด
(เลือกตอบได้มากกว่า 1ข้อ)

ให้ความรู้กับผู้ที่ต้องการปลูกและหาตลาดรองรับ          ร้อยละ          71.3
ปรับเกณฑ์/เงื่อนไขต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจเข้าถึงได้ง่ายขึ้น          ร้อยละ          47.5
สนับสนุนผู้ประกอบการที่สนใจผลิตสินค้าแปรรูปจากกัญชา          ร้อยละ          44.7
การคิดค้นสูตรอาหารเมนูกัญชาเผยแพร่          ร้อยละ          35.4
สร้างค่านิยม /ภาพลักษณ์ใหม่ ให้กัญชา          ร้อยละ          32.2

4. สิ่งที่กังวลมากที่สุดจากการอนุญาตให้ทุกครัวเรือนมีสิทธิปลูกได้บ้านละ 6 ต้น

หากควบคุมไม่ดีอาจมีการลักลอบนำไปเสพ จำหน่ายเป็นสารเสพติด          ร้อยละ          44.7
ผู้ที่ไม่รู้หลักเกณฑ์ในการปลูกอาจทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว          ร้อยละ          17.2
อาจทำให้มีคนหันมาเสพกัญชามากขึ้น          ร้อยละ          16.2
หากทานอาหารเมนูกัญชาเยอะเกินไปจะส่งผลต่อการควบคุมสติ          ร้อยละ          13.2
อาจปลูกได้เพียงบางกลุ่ม ที่ตรงตามหลักเกณฑ์เท่านั้น          ร้อยละ          8.7

5. คิดว่าจะกินอาหาร และเครื่องดื่ม เมนูกัญชา หรือไม่

กิน          ร้อยละ          50.8
เพราะ
เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณเป็นยา          ร้อยละ          52.5
อยากลอง          ร้อยละ          21.1
เคยกินแล้ว ทำให้อาหารอร่อยขึ้น          ร้อยละ          18.0
สนับสนุนสินค้าจากเกษตรกร          ร้อยละ          8.4

ไม่กิน          ร้อยละ          49.2
เพราะ
ติดภาพเป็นยาเสพติด                     ร้อยละ          54.9
ไม่ชอบลองของใหม่/ของแปลก          ร้อยละ          30.1
มีโรคประจำตัว          ร้อยละ          10.0
ไม่มั่นใจในความปลอดภัย และยังไม่ทราบข้อดีข้อเสียเพียงพอ          ร้อยละ          5.0


รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการที่กระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อก ให้ปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมายได้ครัวเรือนละ 6 ต้น ในประเด็นต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด(Open Ended) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16 - 18 มีนาคม 2564

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 20 มีนาคม 2564

ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
          จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย          605          51.7
            หญิง          566          48.3
รวม           1,171           100.0
อายุ
            18 ? 30 ปี          99          8.5
            31 ? 40 ปี          133          11.4
            41 ? 50 ปี          305          26.0
            51 ? 60 ปี          342          29.2
            61 ปีขึ้นไป           292          24.9
รวม           1,171           100.0
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี          684          58.4
            ปริญญาตรี          364          31.1
            สูงกว่าปริญญาตรี          123          10.5
รวม           1,171           100.0
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล          133          11.3
          ลูกจ้างเอกชน          235          20.1
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          452          38.6
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง          68          5.8
          ทำงานให้ครอบครัว          2          0.2
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ          235          20.1
          นักเรียน/ นักศึกษา            20          1.7
          ว่างงาน           26          2.2
รวม           1,171           100.0


ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898
E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th      Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll


ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ