กรุงเทพโพลล์: ความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในปี 2564 เป็นอย่างไร

ข่าวผลสำรวจ Monday August 30, 2021 08:02 —กรุงเทพโพลล์

ในภาพรวมคนไทยมีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตประจำวันในปัจจุบันเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

โดยคนไทยเผชิญความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรงมากที่สุด

รองลงมาคือ เผชิญความเสี่ยงด้านค่าครองชีพ/หนี้สิน และเผชิญความเสี่ยงด้านการงานอาชีพ

คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 84.4 อยากให้เร่งแก้โควิด-19 การจัดหาวัคซีนทางเลือกให้ประชาชน

รองลงมาร้อยละ 61.0 เร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ และร้อยละ 55.3 เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ

ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.4 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่าปีหน้า ประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ใช้ได้

กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง ?ความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในปี 2564 เป็นอย่างไร? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,075 คน พบว่า ความเสี่ยงที่คนไทยต้องเผชิญในการดำเนินชีวิตประจำวันในปัจจุบัน ในภาพรวมมีความเสี่ยงเฉลี่ย 4.98 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจปี 2563 0.11 คะแนน)

โดยด้านที่คนไทยมีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรงได้ค่าเฉลี่ย 7.62 คะแนน (เพิ่มขึ้น 1.83 คะแนน) รองลงมาคือ ด้านค่าครองชีพและหนี้สิน ได้ค่าเฉลี่ย 6.47 คะแนน (เพิ่มขึ้น 0.62 คะแนน) ด้านการงานอาชีพ ได้ค่าเฉลี่ย 5.57 คะแนน (เพิ่มขึ้น 0.93) ด้านสุขภาพร่างกาย ได้ค่าเฉลี่ย 5.43 (เพิ่มขึ้น 0.20) และด้านสุขภาพจิตใจ ได้ค่าเฉลี่ย 5.42 (เพิ่มขึ้น 1.00)

ทั้งนี้เมื่อถามว่า ?อยากให้รัฐแก้ปัญหาเร่งด่วนในเรื่องใด เพื่อลดความเสี่ยงให้กับประชาชน? พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.4 อยากให้แก้เรื่องการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 การจัดหาวัคซีนทางเลือกให้ประชาชน รองลงมาคือ เรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 61.0 และเรื่องผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย คิดเป็นร้อยละ 55.3

สุดท้ายเมื่อถามว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 (วัคซีน ChulaCov19 ชนิด mRNA เทียบเท่าไฟเซอร์) เพื่อเป็นวัคซีนทางเลือกใช้ป้องกันโควิด-19 ได้ ในปี 2565 พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 63.4 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 36.6 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ข้อคำถาม ?คิดว่าในปัจจุบันนี้การดำเนินชีวิตประจำวันต้องเผชิญความเสี่ยงในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด?

ความเสี่ยง          สำรวจปี 63
(เต็ม 10 คะแนน)          สำรวจปี 64
(เต็ม 10 คะแนน)          เพิ่มขึ้น/ลดลง
ด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง เช่น โรคระบาด COVID-19 พายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง ฯลฯ           5.79          7.62          +1.83
ด้านค่าครองชีพและหนี้สิน เช่น ข้าวของแพง มีรายจ่ายสูงกว่ารายรับ       มีภาระหนี้สิน  หรือมีโอกาสเป็นหนี้ ฯลฯ          5.85          6.47          +0.62
ด้านการงานอาชีพ เช่น มีโอกาสตกงาน ถูกลดเงินเดือน รายได้ลดลง หน้าที่การงานไม่มั่นคง          4.64          5.57          +0.93
ด้านสุขภาพร่างกาย เช่น กินอาหารไม่ถูกสุขอนามัย มีสารพิษเจือปน
ได้รับมลพิษทางอากาศและทางน้ำเช่น  ฝุ่น PM2.5  ควัน ฯลฯ          5.23          5.43          +0.20
ด้านสุขภาพจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ทุกข์ใจ ซึมเศร้า ฯลฯ          4.42          5.42          +1.00
ด้านการเมือง เช่น ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง การชุมนุมทางการเมือง          5.78          4.69          -1.09
ด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น ความเสี่ยงที่จะสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ            4.96          4.42          -0.54
ด้านการจราจรและการเดินทาง เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร รถติด            5.43          3.86          -1.57
ด้านชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย  ถูกลูกหลง โจรกรรมทรัพย์สิน การก่อการร้ายกราดยิง และล่วงละเมิดทางเพศ   ฯลฯ          4.21          3.62          -0.59
ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง ไม่เข้าใจกัน และความแตกแยกในครอบครัว          2.34          2.70          +0.36
เฉลี่ยรวม          4.87          4.98          +0.11









2. ข้อคำถาม ?ท่านอยากให้รัฐแก้ปัญหาเร่งด่วนในเรื่องใด เพื่อลดความเสี่ยงให้กับประชาชน?
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

การป้องกันโรคระบาดโควิด-19   การจัดหาวัคซีนทางเลือกให้ประชาชน          ร้อยละ          84.4
ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้น          ร้อยละ          61.0
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย          ร้อยละ          55.3
การว่างงาน การตกงาน          ร้อยละ          43.1
การทุจริตคอร์รัปชั่น การบังคับใช้กฎหมาย          ร้อยละ          43.1
การชุมนุมทางการเมืองและความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน          ร้อยละ          35.9
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน          ร้อยละ          26.0
ปัญหาจราจรและการเดินทาง                     ร้อยละ          18.5
อื่นๆ เช่น ยาเสพติด ช่วยเหลือเกษตรกร ราคาสินค้าเกษตร เยียวยาให้มากกว่านี้          ร้อยละ          2.6

3. ความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 (วัคซีน ChulaCov19 ชนิด mRNA เทียบเท่าไฟเซอร์)
เพื่อเป็นวัคซีนทางเลือกใช้ป้องกันโควิด-19 ได้ ในปี 2565

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด          ร้อยละ          63.4
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 51.0 และมากที่สุด ร้อยละ 12.4)
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด          ร้อยละ          36.6
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 27.0 และน้อยที่สุด ร้อยละ 9.6)







รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
1)          เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของประชาชน ปี 2564 ในด้านต่างๆ
2)          เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่อยากให้รัฐแก้ปัญหาเร่งด่วนในเรื่องใด เพื่อลดความเสี่ยงให้กับประชาชน
3)          เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 (วัคซีน ChulaCov19 ชนิด mRNA เทียบเท่าไฟเซอร์)  เพื่อเป็นวัคซีนทางเลือก ใช้ป้องกันโควิด-19 ได้ ในปี 2565

ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ? 4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล


ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล   :  23-25 สิงหาคม 2564

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ   :  28 สิงหาคม 2564

กรุงเทพโพลล์  โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898
E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th      Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll


ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
          จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย          512          47.6
            หญิง          563          52.4
รวม          1,075          100.0
อายุ
            18 ? 30 ปี          121          11.2
            31 ? 40 ปี          160          14.9
            41 ? 50 ปี          277          25.8
            51 ? 60 ปี          277          25.8
            61 ปีขึ้นไป           240          22.3
รวม          1,075          100.0
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี          634          59.0
            ปริญญาตรี          348          32.4
            สูงกว่าปริญญาตรี          93          8.6
รวม          1,075          100.0
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล          136          12.7
          ลูกจ้างเอกชน          232          21.6
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          395          36.7
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง          48          4.5
          ทำงานให้ครอบครัว          4          0.4
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ          195          18.1
          นักเรียน/นักศึกษา          24          2.2
          ว่างงาน           41          3.8
รวม          1,075          100.0

ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ