กรุงเทพโพลล์: รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กับหัวอกคนใช้บริการ

ข่าวผลสำรวจ Monday July 17, 2023 08:43 —กรุงเทพโพลล์

กรุงเทพโพลล์: รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กับหัวอกคนใช้บริการ

ประชาชนร้อยละ 46.2 ระบุว่าปัจจุบันต้องเสียเงินค่าขึ้นรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันละ 51-100 บาท

โดยร้อยละ 61.0 ระบุว่า ค่าตั๋วโดยสารแพงเป็นปัญหาหนึ่งในการใช้บริการรถไฟฟ้า ทั้งนี้ร้อยละ 61.0 วอนผู้ที่เกี่ยวข้องปรับค่าโดยสารให้ถูกลงกว่านี้

ส่วนร้อยละ 88.3 ระบุว่ามีความพึงพอใจมากถึงมากที่สุดต่อการให้บริการรถไฟฟ้าในภาพรวม และร้อยละ 78.5 เห็นว่า หากสามารถสร้างรถไฟฟ้าครอบคลุมทุกเส้นทางตามที่วางแผนไว้จะทำให้คนกรุงเทพฯและปริมณฑลลดใช้รถส่วนตัวและหันมาใช้รถไฟฟ้าได้

ผลสำรวจเรื่อง ?รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กับหัวอกคนใช้บริการ?

กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นของประชาชนเรื่อง ?รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กับหัวอกคนใช้บริการ? โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,200 คน เมื่อวันที่ 5-10 กรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่า

ปัจจุบันประชาชนร้อยละ 38.2 ระบุว่าเดินทางโดยใช้บริการรถไฟฟ้า(BTS, MRT, Airport Link) เป็นบางวัน รองลงมาร้อยละ 36.2 ระบุว่าใช้เป็นประจำทุกวัน และร้อยละ 25.6 ระบุว่านานๆ ใช้ที โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 66.2 ระบุว่า ขึ้นขบวนเดียว/ต่อเดียวถึง ขณะที่ร้อยละ 33.8 ระบุว่า ต้องเปลี่ยนขบวนเชื่อมต่อไปรถไฟฟ้าสายสีอื่น

ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.2 ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันละ 51-100 บาท รองลงมาร้อยละ 35.4 ระบุว่าน้อยกว่า 50 บาท และร้อยละ 14.2 ระบุว่า 101-150 บาท

สำหรับเรื่องที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.0 รู้สึกว่าเป็นปัญหาหรือลำบากในการใช้บริการรถไฟฟ้าคือ ค่าตั๋วโดยสารแพง รองลงมาร้อยละ 39.4 คือ จุดเชื่อมต่อของ MRT BTS เดินไกล และร้อยละ 25.7 คือ ยุ่งยากต้องพกบัตรโดยสารทีละหลายใบ ทั้ง MRT, Rabbit, EMV

ส่วนเรื่องที่อยากฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรถไฟฟ้าพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.0 ระบุว่าปรับค่าโดยสารให้ถูกลงกว่านี้ รองลงมาร้อยละ 48.5 ระบุว่าอยากให้มีบัตรเดียวใช้บริการได้กับรถไฟฟ้าทุกสายเหมือนต่างประเทศ และร้อยละ 47.6 ระบุว่าอยากให้เร่งสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆให้เสร็จตามแผนอย่างรวดเร็ว

ด้านความพึงพอใจการให้บริการรถไฟฟ้าในภาพรวมนั้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.3 ระบุว่า พึงพอใจมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 11.7 ระบุว่าพึงพอใจน้อยถึงน้อยที่สุด

ทั้งนี้หากสามารถสร้างรถไฟฟ้าครอบคลุมทุกเส้นทางตามที่วางแผนไว้ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.5 เห็นว่าจะทำให้คนกรุงเทพฯและปริมณฑลลดใช้รถส่วนตัวและหันมาใช้รถไฟฟ้าได้ ขณะที่ร้อยละ 10.1 เห็นว่าไม่ได้ ที่เหลือร้อยละ 11.4 ยังไม่แน่ใจ

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ปัจจุบันท่านเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้า (BTS, MRT, Airport Link) อย่างไร
ใช้เป็นประจำทุกวัน/แทบทุกวัน              ร้อยละ          36.2
ใช้บ้างเป็นบางวัน          ร้อยละ          38.2
นานๆใช้ที          ร้อยละ          25.6

2. รูปแบบการใช้บริการรถไฟฟ้าของท่านเป็นอย่างไร

ขึ้นขบวนเดียว/ต่อเดียวถึง            ร้อยละ          66.2
ต้องเปลี่ยนขบวนเชื่อมต่อไปรถไฟฟ้าสายสีอื่น          ร้อยละ          33.8

3. ท่านมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า (BTS, MRT, Airport Link) เฉลี่ยวันละกี่บาท

น้อยกว่า 50 บาท          ร้อยละ           35.4
51-100 บาท          ร้อยละ          46.2
101-150 บาท          ร้อยละ          14.2
151-200 บาท          ร้อยละ          3.7
201 บาทขึ้นไป          ร้อยละ          0.5

4. เรื่องที่ทำให้ท่านรู้สึกว่าเป็นปัญหาหรือลำบากในการใช้บริการรถไฟฟ้า (BTS, MRT, Airport Link) คือ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ตั๋วโดยสารแพง                       ร้อยละ          61.0
จุดเชื่อมต่อของ MRT BTS เดินไกล          ร้อยละ          39.4
ยุ่งยากต้องพกบัตรโดยสารทีละหลายใบ ทั้ง MRT, Rabbit, EMV          ร้อยละ          25.7
เสียเวลาต้องต่อคิวซื้อตั๋วใหม่เวลาเปลี่ยนสาย          ร้อยละ          25.1
ชื่อสถานีตรงจุดเชื่อมต่อของแต่ละสายเรียกไม่ตรงกัน          ร้อยละ          17.0
อื่นๆ อาทิ คนใช้บริการเยอะรถไฟฟ้าแน่นมากในช่วงเวลาเร่งด่วน  ต้องยืนรอนาน สับสนเวลาเชื่อมต่อสายรถไฟฟ้า ฯลฯ          ร้อยละ          6.3


5. เรื่องที่ท่านอยากฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรถไฟฟ้าคือ
(เลือกตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)
ปรับค่าโดยสารให้ถูกลงกว่านี้          ร้อยละ          61.0
อยากให้มีบัตรเดียวใช้บริการได้กับรถไฟฟ้าทุกสายเหมือนต่างประเทศ          ร้อยละ          48.5
อยากให้เร่งสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆให้เสร็จตามแผนอย่างรวดเร็ว          ร้อยละ          47.6
อยากให้มีราคาเดียวตลอดสาย          ร้อยละ          31.3
อื่นๆ อาทิ เพิ่มขบวนรถในช่วงเวลาเร่งด่วน ปรับปรุงระบบไม่ให้ขัดข้องบ่อย มีสถานีให้ครอบคลุมกว่านี้ เพิ่มสถานีจุดเชื่อมต่อ ฯลฯ          ร้อยละ          2.9

6. ปัจจุบันท่านมีความพึงพอใจการให้บริการรถไฟฟ้าในภาพรวมมากน้อยเพียงใด

พอใจมากถึงมากที่สุด          ร้อยละ           88.3
(โดยแบ่งเป็น พอใจมาก ร้อยละ 82.5 และพอใจมากที่สุด ร้อยละ 5.8)
พอใจน้อยถึงน้อยที่สุด          ร้อยละ           11.7
(โดยแบ่งเป็นพอใจน้อย ร้อยละ 11.5 และพอใจน้อยที่สุด ร้อยละ 0.2)

7. หากสามารถสร้างรถไฟฟ้าครอบคลุมทุกเส้นทางตามที่วางแผนไว้จะทำให้คนกรุงเทพฯและปริมณฑลลดใช้รถส่วนตัวและหันมาใช้รถไฟฟ้าได้หรือไม่
ได้          ร้อยละ           78.5
ไม่ได้          ร้อยละ           10.1
ไม่แน่ใจ          ร้อยละ           11.4

?
รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เกี่ยวกับการใช้บริการรถไฟฟ้า(BTS, MRT, Airport Link) ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยต่อวัน ความพึงพอใจต่อการใช้บริการรถไฟฟ้าตลอดจนปัญหาในการใช้บริการรถไฟฟ้าในปัจจุบัน และเรื่องที่อยากฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรถไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,200 คน

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open ended) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 5-10 กรกฎาคม 2566

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 15 กรกฎาคม 2566

ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
          จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย          435          36.2
            หญิง          765          63.8
รวม          1,200          100.0
อายุ
            15 ? 24 ปี          500          41.7
            25 ? 34 ปี          271          22.6
            35 ? 44 ปี          176          14.7
            45 ? 54 ปี          143          11.9
            55 ปีขึ้นไป           110          9.1
รวม          1,200          100.0
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี          630          52.5
            ปริญญาตรี          515          42.9
            สูงกว่าปริญญาตรี          55          4.6
รวม          1,200          100.0
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล          98          8.2
          ลูกจ้างเอกชน          458          38.2
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          149          12.4
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง          13          1.1
                  ทำงานให้ครอบครัว          4          0.3
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/เกษียณอายุ          65          5.4
          นักเรียน/นักศึกษา          394          32.8
          ว่างงาน           19          1.6
รวม          1,200          100.0


กรุงเทพโพลล์  โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898
E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th      Website: http://bangkokpoll.bu.ac.th
Twitter: http://twitter.com/bangkok_poll


ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ