กรุงเทพโพลล์: ที่สุดแห่งปี 2551 ในสายตาคนกรุงเทพฯ

ข่าวผลสำรวจ Friday December 26, 2008 14:24 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2551 ในสายตาคน กรุงเทพฯ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20-23 ธันวาคมที่ผ่านมา จำนวน 1,206 คน ด้วยคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบแบบสอบถามระบุคำตอบเอง โดยไม่มีข้อคำตอบให้เลือก

สรุปผลได้ดังนี้

1. ข่าวหรือเหตุการณ์ในประเทศไทยที่สร้างความปิติยินดีมากที่สุดในรอบปี ได้แก่

1.1 ข่าวเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ข่าวทรงหายจากพระอาการประชวร -

และข่าวการจัดงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาฯ.........................................................ร้อยละ 22.2

1.2 การได้รัฐบาลใหม่ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี.................................................ร้อยละ 21.2

1.3 การยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ......................................................................ร้อยละ 11.4

1.4 นักกีฬาไทยได้เหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมที่กรุงปักกิ่ง...............................................ร้อยละ 8.9

1.6 น้ำมันลดราคา......................................................................................ร้อยละ 5.4

1.7 ประชนชนคนไทยน้อมส่งเสด็จสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สู่สวรรคาลัย.........ร้อยละ 2.0

1.8 การออกนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน อาทิ ขึ้นรถเมล์ฟรี และรัฐรับภาระเรื่องการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ......................ร้อยละ 1.9

1.9 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมืองที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง...................................................ร้อยละ 1.5

1.10 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เดินทางออกนอกประเทศ...........................................................ร้อยละ 1.3

1.11 อื่นๆ อาทิ ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม เด็กไทยได้เหรียญจากการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ และการไม่โดนให้ออกจากงาน เป็นต้น...ร้อยละ 5.5

1.12 ไม่มีข่าวหรือเหตุการณ์ใดที่สร้างความปลื้ม ปิติ ยินดีมากที่สุด....................................................ร้อยละ 18.7

2. ข่าวหรือเหตุการณ์ในประเทศไทยที่สร้างความเศร้าสะเทือนใจมากที่สุดในรอบปี ได้แก่

2.1 การชุมนุมประท้วงยึดสนามบิน และทำเนียบรัฐบาล ของกลุ่มพันธมิตรฯ..............................................ร้อยละ 26.0

2.2 การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์..........................ร้อยละ 23.8

2.3 การสลายการชุมนุมของตำรวจบริเวณหน้ารัฐสภาและการปะทะกันของกลุ่มต่างๆ จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต...............ร้อยละ 19.4

2.4 สังคมไทยแตกความสามัคคี มีการแบ่งฝ่าย ทำให้เกิดการขัดแย้งกันทางความคิด.......................................ร้อยละ 12.5

2.5 การมีรัฐบาลที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าประเทศชาติ.............................................ร้อยละ 5.3

2.6 ข่าวความไม่สงบใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้..............................................................ร้อยละ 4.1

2.7 เศรษฐกิจตกต่ำ การเลิกจ้าง การขึ้นราคาสินค้า.............................................................ร้อยละ 3.7

2.9 อื่นๆ อาทิ กรณีปราสาทพระวิหาร การชุมนุมประท้วงของกลุ่ม นปช. เป็นต้น.........................................ร้อยละ 4.5

2.10 ไม่มีข่าวหรือเหตุการณ์ในประเทศไทยที่สร้างความเศร้าและสะเทือนใจมากที่สุด......................................ร้อยละ 0.7

3. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่มีพฤติกรรมน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุดในรอบปี ได้แก่

3.1 สมจิต จงจอหอ และทีมนักกีฬาไทยที่คว้าชัยชนะในโอลิมปิกเกมที่กรุงปักกิ่ง.......................................ร้อยละ 15.8

3.2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..........................................................................ร้อยละ 8.3

3.3 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย...............................................................ร้อยละ 5.3

3.5 ทหาร ตำรวจ ที่ประจำอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้....................................................ร้อยละ 4.1

3.6 นาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน.........................................................................ร้อยละ 3.0

3.7 ทหาร........................................................................................ร้อยละ 2.6

3.8 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร...........................................................................ร้อยละ 2.5

3.9 ตำรวจ.......................................................................................ร้อยละ 2.0

3.10 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)...............................................ร้อยละ 1.8

3.11 นายสมัคร สุนทรเวช...........................................................................ร้อยละ 1.5

3.12 นักเรียนไทยที่ชนะการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ..........................................................ร้อยละ 1.4

3.13 พล อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา.......................................................................ร้อยละ 1.2

3.14 อื่นๆ อาทิ ปู่เย็น ศาลรัฐธรรมนูญ และทีมจัดงานพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ เป็นต้น...ร้อยละ 18.9

3.15 ไม่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่มีพฤติกรรมน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุด.......................................ร้อยละ 31.6

4. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่มีพฤติกรรมน่าผิดหวังมากที่สุดในรอบปี ได้แก่

4.1 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย...............................................................ร้อยละ 31.1

4.2 ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)................................ร้อยละ 13.8

4.3 นักการเมืองไทย................................................................................ร้อยละ 11.5

4.4 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร...........................................................................ร้อยละ 7.9

4.5 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)................................................ร้อยละ 7.8

4.6 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์...........................................................................ร้อยละ 7.0

4.7 นายสมัคร สุนทรเวช............................................................................ร้อยละ 4.1

4.8 ตำรวจ.......................................................................................ร้อยละ 1.3

4.9 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ..........................................................................ร้อยละ 1.2

4.10 พรรคประชาธิปัตย์..............................................................................ร้อยละ 1.0

4.11 พรรคพลังประชาชน.............................................................................ร้อยละ 1.0

4.12 อื่นๆ อาทิ หมอดูกฤษ นายนพดล ปัทมะ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน สราวุฒิ มาตรทอง เป็นต้น......................ร้อยละ 6.5

4.13 ไม่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่มีพฤติกรรมน่าผิดหวังมากที่สุด...........................................ร้อยละ 5.8

5. เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับประเทศไทยในปี 2552 ได้แก่

5.1 ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ และการว่างงาน...........................................................ร้อยละ 69.1

5.2 ปัญหาความแตกแยกทางการเมืองและการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมของฝ่ายต่างๆ................................ร้อยละ 26.4

5.3 ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้.....................................................................ร้อยละ 1.0

5.4 อื่นๆ อาทิ ปัญหาโจรกรรม ปัญหาสังคม และปัญหาครอบครัวอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจ...........................ร้อยละ 3.2

5.5 ไม่มีเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับประเทศไทยในปี 2552................................................ร้อยละ 0.3

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้

1. ข่าวหรือเหตุการณ์ในประเทศไทยที่สร้างความปิติยินดีมากที่สุด

2. ข่าวหรือเหตุการณ์ในประเทศไทยที่สร้างความเศร้าสะเทือนใจมากที่สุด

3. บุคคลหรือ กลุ่มบุคคลในสังคมไทยที่มีพฤติกรรมน่าผิดหวังมากที่สุด

4. เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับประเทศไทยในปี 2552

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 32 เขต ได้แก่ คลองสาน ทุ่งครุ ดิน แดง ดุสิต ธนบุรี ภาษีเจริญ บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง วังทองหลาง วัฒนา ห้วยขวาง คลองสามวา ยานนาวา ราชเทวี มีนบุรี ลาดพร้าว สวนหลวง จตุจักร จอมทอง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร และหลักสี่ โดยในแต่ละเขตทำการสุ่มถนน และสถานที่เก็บข้อมูล จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็น ระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,206 คน เป็นชายร้อยละ 50 และหญิงร้อยละ 50

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน +/-3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบ และคำถามปลายเปิด (Open Form) ในส่วนของ ความคิดเห็นตามประเด็นที่สำรวจ จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20-23 ธันวาคม 2551

วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ    :       26  ธันวาคม 2551

ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                           จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                              603          50.0
            หญิง                              603          50.0
                    รวม                    1,206         100.0
อายุ
            18-25 ปี                          389          32.3
            26-35 ปี                          362          30.0
            36-45 ปี                          246          20.4
            46 ปีขึ้นไป                         209          17.3
                    รวม                    1,206         100.0
การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                     680          56.4
            ปริญญาตรี                          468          38.8
            สูงกว่าปริญญาตรี                      58           4.8
                    รวม                    1,206         100.0
อาชีพ
           ข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ          102           8.5
           พนักงานบริษัทเอกชน                   423          35.1
           ค้าขาย  ธุรกิจส่วนตัว                  249          20.6
           รับจ้างทั่วไป                         132          10.9
           พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ               52           4.3
                    รวม                    1,206         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ