ด้วยวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 3 เดือนในการทำงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อีกทั้งในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ได้มีการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยฯ จำนวน 5 คน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมิน 3 เดือนรัฐบาล และ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” โดยเก็บข้อมูลจาก ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,137 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ 50.9 เมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
- มีประเด็นค้างคาใจและต้องการให้รัฐบาลออกมาชี้แจงเพิ่มเติม ร้อยละ 25.2
ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- เรื่องพฤติกรรมในอดีตของ รมว. กระทรวงการต่างประเทศ ร้อยละ 9.3 - เรื่องเงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้จากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จก. ร้อยละ 6.9 - เรื่องการที่นายกรัฐมนตรีใช้เอกสาร สด.9 ปลอม ร้อยละ 3.1 - เรื่องเงินกู้จากต่างประเทศ ร้อยละ 2.7- เรื่องการดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบิน ร้อยละ 2.6
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในด้านต่างๆ
2. กระทรวงที่มีผลงานน่าพึงพอใจมากที่สุด และน่าพึงพอใจน้อยที่สุด ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
3. ความพึงพอใจการทำงานของฝ่ายค้าน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
4. ประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลออกมาชี้แจงเพิ่มเติม หลังจบการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
5. สิ่งที่ต้องการเห็นภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจและการบริหารประเทศมาครบ 3 เดือนของรัฐบาล
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวน 31 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลอง สาน จอมทอง ดินแดง ดุสิต ธนบุรี บางกะปิ บางแค บางนา บางเขน บางซื่อ บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ลาดกระบัง วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สัมพันธวงศ์ สายไหม พญาไท สะพานสูง หนองแขม หนองจอก และหลักสี่ จากนั้นจึง สุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,137 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.1 และเพศหญิงร้อยละ 50.9
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21-23 มีนาคม 2552
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 24 มีนาคม 2552
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 558 49.1 หญิง 579 50.9 รวม 1,137 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 361 31.7 26 ปี — 35 ปี 302 26.6 36 ปี — 45 ปี 252 22.2 46 ปีขึ้นไป 222 19.5 รวม 1,137 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 118 10.4 พนักงานบริษัทเอกชน 320 28.1 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 263 23.1 รับจ้างทั่วไป 130 11.4 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 84 7.4 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 222 19.6 รวม 1,137 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 602 52.9 ปริญญาตรี 458 40.3 สูงกว่าปริญญาตรี 77 6.8 รวม 1,137 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--