กรุงเทพโพลล์: เลือกตั้ง สว. ชุดใหม่...ประชาชนรู้เท่าทันแค่ไหน

ข่าวผลสำรวจ Friday February 24, 2006 13:42 —กรุงเทพโพลล์

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จะมีขึ้นในวันพุธที่ 19 เมษายน
2549 ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันดังกล่าวพร้อมเหตุผลของการไปเลือกตั้งและไม่ไปเลือกตั้ง
2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
3. เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
4. ความพึงพอใจต่อการทำงานของ สว. ชุดปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระลง
5. ความคาดหมายต่อภาพรวมของ สว. ชุดใหม่ที่จะได้จากการเลือกตั้ง
6. ความคาดหวังในผลงานของ สว. ชุดใหม่
7. ความเชื่อมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศตามสัดส่วนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละภาค ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ
หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยแต่ละภาคจะทำการสุ่มจังหวัด จากนั้นสุ่มอำเภอ และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่าง
ทั้งสิ้นจาก 30 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี กาญจนบุรี พิจิตร สุโขทัย
เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน เลย อุดรธานี นครพนม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครราชสีมา สุรินทร์
ศรีสะเกษ ยโสธร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และตรัง จำนวน 3,183 คน เป็นชายร้อยละ 46.4 และหญิง
ร้อยละ 53.6
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 29.3
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 28.8
อายุ 36-45 ปีร้อยละ 24.3
และอายุ 45 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.6
จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 17.7
มัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 31.6
ปวส./อนุปริญญาร้อยละ 14.0
ปริญญาตรีร้อยละ 32.9
และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 3.8
ประกอบอาชีพ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 20.1
ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 13.8
รับจ้างทั่วไปร้อยละ 13.4
พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 17.6
พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 5.6
นิสิตนักศึกษาร้อยละ 15.5
เกษตรกร/ชาวประมงร้อยละ 10.7
และอื่นๆ ร้อยละ 3.3
อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลร้อยละ18.6
อยู่ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมืองร้อยละ 23.7
และอยู่ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมืองร้อยละ 57.7
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1-10 กุมภาพันธ์ 2549
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 24 กุมภาพันธ์ 2549
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “เลือกตั้ง
สว. ชุดใหม่ประชาชนรู้เท่าทันแค่ไหน” โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ 2549
จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 30 จังหวัดทั่วประเทศตามสัดส่วนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละภาค จำนวน 3,183 คน เป็นชายร้อย
ละ 46.4 และหญิงร้อยละ 53.6 โดยอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลร้อยละ 18.6 อยู่ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมืองร้อยละ 23.7 และ
อยู่ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมืองร้อยละ 57.7 สุรปผลได้ดังนี้
1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้อยละ 83.7 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันพุธที่ 19 เมษายนที่จะถึงนี้ โดยให้เหตุผลว่า เป็น
หน้าที่และไปเพื่อใช้สิทธิตามกฎหมาย (ร้อยละ 73.2) ไปเพราะต้องการเลือกคนดีมาเป็น สว. และ สว. มีความสำคัญต่อบ้านเมือง (ร้อยละ
13.7) ไปเพราะหน่วยเลือกตั้งอยู่ใกล้บ้านเดินทางสะดวก (ร้อยละ 3.5) ไปเพราะกลัวถูกตัดสิทธิ (ร้อยละ 2.4) และไม่ระบุเหตุผล
(ร้อยละ 7.2)
ขณะที่ร้อยละ 5.4 ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่าไม่ว่าง/ต้องทำงาน/ติดธุระ (ร้อยละ 57.4) ไม่สนใจ/
เบื่อ/ไม่รู้จะเลือกไปทำไม (ร้อยละ 29.6) บ้านอยู่ไกล/เดินทางไม่สะดวก (ร้อยละ 5.6) และไม่ระบุเหตุผล (ร้อยละ 7.4)
อีกร้อยละ 10.9 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ เพราะในวันดังกล่าวอาจติดธุระหรือต้องทำงาน (ร้อยละ 58.7)จะรอดูผู้สมัครก่อนถ้าน่าสนับสนุนก็
จะไปเลือก (ร้อยละ 15.7) ยังไม่ทราบข่าว/ไม่รู้ว่าเลือกที่ไหน (ร้อยละ 12.8) และไม่ระบุเหตุผล (ร้อยละ 12.8 )
2. ในส่วนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ สว. สำหรับใช้เป็นแนวทางในการเลือกผู้สมัครนั้นผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ร้อย
ละ 63.6 ระบุว่ายังมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอ ขณะที่ร้อยละ 36.4 ระบุว่ามีความรู้ความเข้าใจเพียงพอแล้ว
3. เมื่อถามว่าในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สว. ครั้งนี้จะเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติใดเป็นหลัก พบว่าอันดับแรกร้อยละ 46.3 จะเลือกผู้ที่เข้า
ใจปัญหาของประชาชนในพื้นที่ รองลงมาร้อยละ 18.7 เลือกผู้ที่มีประวัติการทำงานดีไม่ด่างพร้อย ร้อยละ 12.7 เลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
ด้านกฎหมาย ร้อยละ 10.4 เลือกผู้ที่มีความเป็นอิสระจากพรรคการเมือง ร้อยละ 4.4 เลือกผู้ที่มีบุคคลน่าเชื่อถือให้การสนับสนุน ร้อยละ
2.9 เลือกผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ร้อยละ 1.4 เลือกผู้ที่มีพรรคการเมืองสนับสนุน และร้อยละ 3.2 เลือกจากคุณสมบัติอื่นและเลือกโดยพิจารณา
จากคุณสมบัติหลายข้อรวมกัน
4. สำหรับประเด็นที่ผู้สมัคร สว. บางคนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมืองหรือเป็นญาตินักการเมืองนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ร้อย
ละ 58.0 ระบุว่าจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเพราะมีคุณสมบัติด้านอื่นที่ควรพิจารณามากกว่า ขณะที่ร้อยละ 24.5 ระบุว่าจะส่งผลให้ไม่เลือกผู้
สมัครคนดังกล่าว และร้อยละ 17.5 ระบุว่าจะส่งผลให้เลือก
5. เมื่อถามถึงความพอใจการทำงานของ สว. ชุดปัจจุบัน พบว่า มีเพียงร้อยละ 16.4 ที่ระบุว่าพอใจ โดยให้เหตุผลว่ามีความตั้งใจทำ
งานดี มีผลงาน บ้านเมืองเจริญก้าวหน้า ยังมองไม่เห็นข้อบกพร่อง และหลังเลือกตั้งมีการมาเยี่ยมเยียนประชาชนขณะที่ร้อยละ 25.7 ระบุว่าไม่พอใจ
เพราะไม่เห็นผลงานที่ชัดเจน ไม่เป็นกลาง/เป็นเครื่องมือของนักการเมือง ชอบทะเลาะกันเอง ห่วงผลประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ไม่กล้าต่อสู้เพื่อ
ความถูกต้อง ไม่สนใจประชาชน และไม่พัฒนาท้องถิ่นทั้งนี้ ส่วนใหญ่คือร้อยละ 57.9 ระบุว่าไม่แน่ใจ เนื่องจากไม่ค่อยได้ติดตามการทำงานของ สว.
ไม่ทราบว่า สว. ต้องทำอะไรบ้าง และสื่อไม่ค่อยได้นำเสนอข่าวการทำงานของ สว. (โปรดดูรายละเอียดในตารางที่ 6)
6. ในส่วนความคาดหมายต่อภาพรวมของ สว. ชุดใหม่ที่จะได้จากการเลือกตั้งครั้งนี้ ร้อยละ 48.5 เชื่อว่าจะไม่แตกต่างจาก สว. ชุด
เดิม โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายเดิมระบบเดิมใครมาเป็นก็ไม่ต่างกัน ผู้สมัครส่วนใหญ่ยังคงใช้ฐานเสียงของพรรคการเมืองเหมือนเดิม คนดีหายากส่วน
มากจะทำเพื่อตัวเอง คนส่วนใหญ่ยังคงไม่รู้ว่าเลือก สว.ไปทำไม คาดว่า สว. ชุดเดิมน่าจะได้ และผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นญาติและพวกพ้องของ สว.
ชุดเดิม ขณะที่ร้อยละ 43.6 เชื่อว่า สว. ชุดใหม่จะดีกว่าชุดเดิม เพราะได้เห็นการทำงานของ สว. ชุดเดิมย่อมมีแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น ประชาชนได้
บทเรียนจาก สว.ชุดแรกมาแล้ว เชื่อว่าจะมีคนดีๆ มาลงสมัครมากขึ้น และครั้งนี้จะตั้งใจเลือกให้รอบคอบมากยิ่งขึ้น โดยมีเพียงร้อยละ 6.3 ที่เชื่อ
ว่า สว. ชุดใหม่จะแย่กว่าชุดเดิมโดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นคนของพรรคการเมือง และรู้ช่องทางในการสร้างประโยชน์ให้ตัวเอง
มากขึ้นและร้อยละ 1.6 ระบุว่าไม่แน่ใจในภาพรวมของ สว. ชุดใหม่ (โปรดดูรายละเอียดในตารางที่ 7)
7. สำหรับความมั่นใจในความเป็นอิสระของ สว. ชุดใหม่ พบว่า มีประชาชนเพียงร้อยละ 33.9 ที่มั่นใจว่า สว. ชุดใหม่จะเป็นอิสระ
ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคการเมือง (โดยมั่นใจมากร้อยละ 8.2 และค่อนข้างมั่นใจร้อยละ 25.7) ขณะที่ส่วนใหญ่คือร้อยละ 66.1 ไม่มั่นใจ
(โดยไม่มั่นใจเลยร้อยละ 17.6 และไม่ค่อยมั่นใจร้อยละ 48.5 )
8. ส่วนผลงานที่คาดหวังจะเห็นจาก สว. ชุดใหม่นั้น พบว่า เป็นความคาดหวังในผลงานที่ตรงตามบทบาทหน้าที่ของ สว. เพียงร้อยละ
15.8 โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็น
- คาดหวังในผลงานด้านการพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย ร้อยละ 57.0
- คาดหวังในผลงานด้านการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน/ตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 38.6
- คาดหวังในผลงานด้านการพิจารณาคัดเลือก แต่งตั้งบุคคลในองค์กรตรวจสอบหรือองค์กรอิสระ อาทิ สตง. ปปช. และ กกต. ร้อยละ 3.1
- คาดหวังในผลงานด้านการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งอื่นๆ ร้อยละ 1.3
ขณะที่ร้อยละ 39.2 ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดกลับคาดหวังในผลงานที่ควรจะเป็นบทบาทหน้าที่ของ สส. ได้แก่ การนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สินของประชาชน การแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ การแก้ปัญหาราคาพืชผลการเกษตร การปฏิรูปการศึกษา และ
การจัดสรรงบประมาณของแต่ละหมู่บ้านให้มากขึ้น เป็นต้นร้อยละ 23.2 คาดหวังผลงานแบบรวมๆ เช่น ให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์โปร่งใส สร้างผล
งานให้ชัดเจนกว่าเดิม และมีบทบาทให้มากขึ้นร้อยละ 5.7 ระบุว่าไม่คาดหวังอยากทำอะไรก็ทำไปเลยและร้อยละ 16.1 ไม่ตอบ และตอบไม่ได้เพราะ
ไม่ทราบว่า สว. ต้องทำอะไรบ้าง
9. สำหรับความเชื่อมั่นต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่คือร้อยละ 56.9 ไม่เชื่อมั่น
ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะสามารถควบคุมดูแลการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ (โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อย
ละ 13.6 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 43.3) ขณะที่ร้อยละ 43.1 ระบุว่าเชื่อมั่น (โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 7.9 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 35.2)
10. สุดท้ายสิ่งที่อยากฝากถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร้อยละ 76.1 ฝากให้ กกต.วางตัวเป็นกลางและทำงานอย่างซื่อสัตย์โปร่ง
ใส รองลงมาร้อยละ 7.0 ฝากให้กำลังใจ กกต.โดยรู้ว่าเหนื่อยแต่อยากให้สู้ ร้อยละ 5.5 ขอให้ กกต. แจ้งข่าวสารการเลือกตั้ง สว.ให้
ประชาชนรู้ให้มากกว่านี้ ร้อยละ 1.2 ฝากให้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร สว. ให้ดี ร้อยละ 2.4 ระบุว่าไม่มีอะไรจะฝาก และร้อยละ
7.8 ไม่ตอบ
หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่มีความตระหนักในหน้าที่และตั้งใจจะไป
ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 19 เมษายนที่จะถึงนี้ แต่ยังขาดซึ่งความรู้ความเข้าใจสำหรับใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครอย่างถูก
ต้องเหมาะสม โดยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่า สว. คือใคร เลือกไปทำอะไร และยังแยกไม่ออกระหว่างบทบาทหน้าที่ของ สว. กับ สส. ดังนั้นบางส่วน
จึงตั้งใจจะเลือกผู้สมัคร สว. ที่มีความใกล้ชิดกับ สส. ในพื้นที่โดยหวังให้ทำงานร่วมกันในการพัฒนาท้องถิ่นและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้
ดีขึ้น ซึ่งความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวจะยิ่งส่งผลให้ สว. ชุดใหม่ที่ได้จากการเลือกตั้งครั้งนี้มีโอกาสเป็นสภาวงศาคณาญาติของพรรคการเมืองมากยิ่ง
ขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบการถ่วงดุลอำนาจตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ
จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันเร่งรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้ทุกเสียงของประชาชนผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็น
เสียงสวรรค์ที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 1,477 46.4
หญิง 1,706 53.6
อายุ :
18 - 25 ปี 935 29.3
26 - 35 ปี 916 28.8
36 - 45 ปี 772 24.3
46 ปีขึ้นไป 560 17.6
จบการศึกษา
ประถมศึกษา 562 17.7
มัธยมศึกษา/ปวช. 1,005 31.6
ปวส./อนุปริญญา 447 14.0
ปริญญาตรี 1,049 32.9
สูงกว่าปริญญาตรี 120 3.8
อาชีพ
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 640 20.1
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 440 13.8
รับจ้างทั่วไป 426 13.4
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 559 17.6
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 179 5.6
นิสิต/นักศึกษา 493 15.5
เกษตรกร/ชาวประมง 341 10.7
อื่นๆ 105 3.3
พื้นที่อาศัย
กรุงเทพฯ และปริมณฑล 593 18.6
ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมือง 754 23.7
ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมือง 1836 57.7
รวม 3,183 100
ตารางที่ 2: ความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 19 เมษายน
จำนวน ร้อยละ
ไป เพราะ 2,665 83.7
- เป็นหน้าที่/ไปใช้สิทธิตามกฎหมาย................................73.2%
- ต้องการเลือกคนดีมาเป็น สว./ สว.มีความสำคัญต่อบ้านเมือง...........13.7%
- ใกล้บ้าน/ว่าง/เดินทางสะดวก...................................3.5%
- กลัวถูกตัดสิทธิ...............................................2.4%
- ไม่ระบุเหตุผล...............................................7.2%
ไม่ไป เพราะ 171 5.4
- ไม่ว่าง/ต้องทำงาน/ติดธุระ....................................57.4%
- ไม่สนใจ/เบื่อ/ไม่รู้จะเลือกไปทำไม..............................29.6%
- บ้านอยู่ไกล/เดินทางไม่สะดวก...................................5.6%
- ไม่ระบุเหตุผล...............................................7.4%
ยังไม่แน่ใจ เพราะ 347 10.9
- อาจติดธุระ/อาจต้องทำงาน....................................58.7%
- รอดูผู้สมัครก่อนถ้าน่าสนับสนุนก็จะไปเลือก..........................15.7%
- ยังไม่ทราบข่าว/ไม่รู้ว่าเลือกที่ไหน...............................12.8%
- ไม่ระบุเหตุผล..............................................12.8%
ตารางที่ 3: ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาสำหรับใช้เป็นแนวทางในการเลือกผู้สมัคร
จำนวน ร้อยละ
มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอแล้ว 1,160 36.4
ยังมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอ 2,023 63.6
ตารางที่ 4: คุณสมบัติของผู้สมัคร สว. ที่ใช้เป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินใจเลือก
จำนวน ร้อยละ
เลือกผู้ที่เข้าใจปัญหาของประชาชนในพื้นที่ 1,472 46.3
เลือกผู้ที่มีประวัติการทำงานดี ไม่ด่างพร้อย 596 18.7
เลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย 404 12.7
เลือกผู้ที่มีความเป็นอิสระจากพรรคการเมือง 330 10.4
เลือกผู้ที่มีบุคคลน่าเชื่อถือให้การสนับสนุน 140 4.4
เลือกผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก 93 2.9
เลือกผู้ที่มีพรรคการเมืองสนับสนุน 45 1.4
อื่นๆ เช่น เลือกโดยดูจากคุณสมบัติหลายข้อรวมกัน 103 3.2
ตารางที่ 5: การที่ผู้สมัคร สว. มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมืองหรือเป็นญาตินักการเมืองส่งผล
ต่อการตัดสินใจเลือกหรือไม่อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ส่งผลให้เลือก 558 17.5
ส่งผลให้ไม่เลือก 779 24.5
ไม่ส่งผล เพราะมีคุณสมบัติด้านอื่นที่ควรพิจารณามากกว่า 1,846 58.0
ตารางที่ 6: ความพึงพอใจการทำงานของ สว. ชุดปัจจุบันในภาพรวม
จำนวน ร้อยละ
พอใจ เพราะ 523 16.4
- ตั้งใจทำงานดี มีผลงาน บ้านเมืองเจริญก้าวหน้า..........75.0%
- ยังมองไม่เห็นข้อบกพร่อง............................3.7%
- มีความรู้ความสามารถดี.............................2.4%
- อื่นๆ เช่นหลังเลือกตั้งมีการมาเยี่ยมเยียนประชาชน.........2.4%
- ไม่ระบุเหตุผล...................................16.5%
ไม่พอใจ เพราะ 819 25.7
- ไม่เห็นผลงานที่ชัดเจน/ทำงานไม่เต็มที่...............53.3%
- ไม่เป็นกลาง/เป็นเครื่องมือของนักการเมือง...........23.3%
- ชอบทะเลาะกันเอง/ไม่มีความสามัคคี.................7.4%
- ห่วงประโยชน์ส่วนตัว/ไม่กล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้อง........5.8%
- อื่นๆ เช่น ไม่สนใจประชาชน ไม่พัฒนาท้องถิ่น...........2.3%
- ไม่ระบุเหตุผล..................................7.9%
ไม่แน่ใจ เพราะ 1,841 57.9
- ไม่ค่อยได้ติดตามการทำงานของ สว.................67.5%
- ไม่ทราบว่า สว. ต้องทำอะไรบ้าง..................29.7%
- สื่อไม่ค่อยได้นำเสนอข่าวการทำงานของ สว............2.6%
- ไม่ระบุเหตุผล..................................0.2%
ตารางที่ 7: ความคาดหมายต่อภาพรวมของ สว. ชุดใหม่เปรียบเทียบกับ สว. ชุดปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
ดีกว่า สว. ชุดเดิม เพราะ 1,389 43.6
- สว. ชุดใหม่ได้เห็นการทำงานของ สว. ชุดก่อนย่อมมีแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น... 26.8%
- ประชาชนได้บทเรียนจาก สว. ชุดแรก........................................10.6%
- เชื่อว่าจะมีคนดีๆ มาลงสมัครมากขึ้น...........................................9.2%
- ครั้งนี้จะตั้งใจเลือกอย่างรอบคอบมากขึ้น........................................8.0%
- ถูกจับตามองมากขึ้น/สื่อรายงานข่าวมากขึ้น......................................5.3%
- อื่นๆ เช่น รัฐบาลจะให้การสนับสนุนมากขึ้น/คงจัดสรรทุนมาให้หมู่บ้านได้มากขึ้น............7.1%
- ไม่ระบุเหตุผล/ระบุเหตุผลแบบรวมๆ เช่น น่าจะดีขึ้น/หวังว่าจะดีขึ้น................33.0%
แย่กว่า สว. ชุดเดิม เพราะ 200 6.3
- ผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นคนของพรรคการเมือง..........................34.9%
- รู้ช่องทางในการสร้างประโยชน์ให้ตัวเองมากขึ้น.....................19.1%
- อื่นๆ......................................................6.3%
- ไม่ระบุเหตุผล/ระบุเหตุผลแบบรวมๆ เช่น คงไม่มีอะไรดีขึ้น.............39.7%
ไม่แตกต่างจาก สว. ชุดเดิม เพราะ 1,544 48.5
- กฎหมายเดิม ระบบเดิม ใครมาเป็นก็ไม่ต่างกัน..............19.6%
- ผู้สมัครส่วนใหญ่ยังคงใช้ฐานเสียงของพรรคการเมืองเหมือนเดิม..15.7%
- คนดีหายากส่วนมากจะทำเพื่อตัวเอง......................14.6%
- คนส่วนใหญ่ยังคงไม่รู้ว่าเลือก สว. ไปทำไม................12.4%
- คาดว่าชุดเดิมน่าจะได้ คนเดิมจะลงสมัคร..................11.1%
- ผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นญาติ/พวกพ้อง สว. ชุดเดิม...............2.1%
- อื่นๆ..............................................5.8%
- ไม่ระบุเหตุ/ระบุเหตุผลแบบรวมๆ เช่นก็คงเหมือนเดิม.........18.1%
ไม่แน่ใจ 50 1.6
ตารางที่ 8: ความมั่นใจในความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลพรรคการเมืองของ สว. ชุดใหม่
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจมาก 262 8.2
ค่อนข้างมั่นใจ 818 25.7
ไม่ค่อยมั่นใจ 1,543 48.5
ไม่มั่นใจเลย 560 17.6
ตารางที่ 9: ผลงานของ สว. ชุดใหม่ที่ประชาชนคาดหวังจะเห็นมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
คาดหวังในผลงานที่ตรงตามบทบาทหน้าที่ของ สว. ได้แก่ 501 15.8
- พิจารณากลั่นกรองกฎหมาย......................................................57.0%
- ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน/ดูแลตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรี..................38.6%
- พิจารณาคัดเลือก แต่งตั้งบุคคลในองค์กรตรวจสอบหรือองค์กรอิสระ อาทิ สตง. ปปช. และ กกต....3.1%
- ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/ตำแหน่งอื่น...1.3%
คาดหวังในผลงานซึ่งควรเป็นบทบาทหน้าที่ของ สส. เช่น 1,249 39.2
-การนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น
-แก้ปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สินของประชาชน
-แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
-แก้ปัญหาราคาพืชผลการเกษตร
-ปฏิรูปการศึกษา
-จัดสรรงบประมาณแต่ละหมู่บ้านให้มากขึ้น
คาดหวังผลงานแบบรวมๆ ไม่ชัดเจน เช่น ให้ซื่อสัตย์โปร่งใส ทำผลงานให้ชัดเจนกว่าเดิม และมีบทบาทให้มากขึ้น 741 23.2
ไม่คาดหวัง/อยากทำอะไรก็ทำเลย 180 5.7
ไม่ตอบ/ตอบไม่ได้/ไม่ทราบว่า สว. ต้องทำอะไรบ้าง 512 16.1
ตารางที่ 10: ความมั่นใจต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะสามารถควบคุมดูแลการเลือกตั้ง สว. ครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมได้
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจมาก 253 7.9
ค่อนข้างมั่นใจ 1,121 35.2
ไม่ค่อยมั่นใจ 1,375 43.3
ไม่มั่นใจเลย 434 13.6
ตารางที่ 11: สิ่งที่อยากฝากถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
จำนวน ร้อยละ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ