กรุงเทพโพลล์: ประเมินผลงาน 9 เดือน รัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์

ข่าวผลสำรวจ Monday October 5, 2009 07:40 —กรุงเทพโพลล์

ด้วยวันที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 9 เดือนในการทำงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 9 เดือน รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจาก ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภาคของประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 2,062 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.7 เพศหญิงร้อยละ 50.3 เมื่อวันที่ 29 - 30 กันยายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

1. คะแนนความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเฉลี่ย 4.02 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 6 เดือน (ได้คะแนน 4.06 คะแนน) พบว่าคะแนนลดลง 0.04 คะแนน หรือลดลงร้อยละ 0.4 โดยมีคะแนนความพึงพอใจผลงานในแต่ละด้าน ดังนี้

                              ครบ 6 เดือน(คะแนนที่ได้)    ครบ 9 เดือน(คะแนนที่ได้)        เพิ่มขึ้น / ลดลง
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต                    4.13                    4.39                    + 0.26
ด้านเศรษฐกิจ                            3.95                    4.17                    + 0.22
ด้านการต่างประเทศ                       4.58                    4.15                    - 0.43
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย    3.91                    3.72                    - 0.19
ด้านความมั่นคงของประเทศ                  3.73                    3.69                    - 0.04
เฉลี่ยรวม                               4.06                    4.02                    - 0.04

2.  กระทรวงที่มีผลงานเป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ
          - กระทรวงศึกษาธิการ                    ร้อยละ 17.9

(จากนโยบายเรียนฟรี 15 ปี และโครงการกู้ยืมเพื่อการศึกษา ฯลฯ)

          - กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา               ร้อยละ 6.9

(จากโครงการเที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก และนโยบายส่งเสริมด้านกีฬา ฯลฯ)

          - กระทรวงสาธารณสุข                    ร้อยละ 6.8

(จากการดำเนินโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคต่อเนื่อง และการที่โรคไข้หวัด 2009 ไม่ลุกลามบานปลาย ฯลฯ)

3. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน มีดังนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)

ครบ 6 เดือน(คะแนนที่ได้) ครบ 9 เดือน(คะแนนที่ได้) เพิ่มขึ้น/ลดลง

พรรคแกนนำรัฐบาล (พรรคประชาธิปัตย์)                             4.38                    4.17           - 0.21
พรรคร่วมรัฐบาล (พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนาพรรคเพื่อแผ่นดิน)      3.40                    3.45           + 0.05
พรรคฝ่ายค้าน (พรรคเพื่อไทย พรรคประชาราช)                       3.46                    3.65           + 0.19

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยในกรุงเทพมหานครสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวนทั้งสิ้น 21 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดุสิต ตลิ่งชัน บางเขน บางซื่อ บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สวนหลวง สาทร และ หลักสี่ ส่วนในแต่ละภาคสุ่มจังหวัดขึ้นมาเป็นตัวแทน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครศรีธรรมราช สตูล เพชรบุรี และชลบุรี จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่ม ตัวอย่างทั้งสิ้น 2,062 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.7 และเพศหญิงร้อยละ 50.3

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบ ถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนัก วิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  29 — 30 กันยายน 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  4 ตุลาคม 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                              จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                               1,024          49.7
            หญิง                               1,038          50.3
          รวม                                 2,062         100.0

อายุ
            18 ปี - 25 ปี                         492          23.8
            26 ปี — 35 ปี                         562          27.3
            36 ปี — 45 ปี                         518          25.1
            46 ปีขึ้นไป                            490          23.8
          รวม                                 2,062         100.0

การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                      1,248          61.4
            ปริญญาตรี                             680          33.0
            สูงกว่าปริญญาตรี                        134           5.6
          รวม                                 2,062         100.0

อาชีพ
            ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ                   182           8.8
            พนักงานบริษัทเอกชน                     548          26.6
            ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว             652          31.6
            รับจ้างทั่วไป                           216          10.5
            พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ            126           6.1
            อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน   338          16.4
          รวม                                 2,062         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ