กรุงเทพโพลล์: คาดการณ์เศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2552

ข่าวผลสำรวจ Tuesday October 6, 2009 10:38 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์ เห็นสอดคล้องกับรัฐบาลว่าไตรมาส 4 เศรษฐกิจไทยจะฟื้นเป็นบวก แต่เสนอให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลง ทุนและการจ้างงานมากกว่าการกระตุ้นผ่านการบริโภค พร้อมยังเป็นห่วงปัญหาการเมืองที่อาจฉุดเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะตกต่ำ

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จาก 14 องค์กรชั้นนำของไทยเรื่อง “คาดการณ์เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2552” พบว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 จะมีการขยายตัวเป็นบวกได้ร้อย ละ 1.45 โดยจะได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ ในระดับต่ำที่ร้อยละ -0.7 ส่งผลให้เชื่อได้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 จนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจต่อไป

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ค่าเงินบาทจะแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 31.1-33.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้เป็นอุปสรรค สำคัญต่อการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป

นอกจากนี้ยังเสนอให้ภาครัฐใช้วิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนและการจ้างงานมากกว่าการกระตุ้นผ่านการบริโภค อันจะช่วยให้ เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งในระยะยาวอีกทั้งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ดี การกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวจะต้อง ดำเนินไปด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังเป็นห่วงปัญหาด้านการเมืองที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการฉุด เศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะตกต่ำ

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ความเห็นต่อประเด็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 4 (GDP) สอดคล้องกับรัฐบาลที่เชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวเป็นบวก
ได้เป็นไตรมาสแรกนับจากไตรมาส 4 ปี 2551 โดย

ร้อยละ 87.2 เห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 4 จะขยายตัวดีกว่าช่วงเดียวกันของปี 2551 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่ร้อยละ 1.45

ร้อยละ 10.3 เห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 4 จะแย่พอๆ กับช่วงเดียวกันของปี 2551

ร้อยละ 2.5 เห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 4 จะแย่กว่าช่วงเดียวกันของปี 2551

2. ความเห็นต่อประเด็นทิศทางค่าเงินบาทในช่วงไตรมาส 4 ปี 2552 ค่าเงินบาทจะมีทิศทางการเคลื่อนไหวจากระดับปัจจุบัน
(33.6 บาทต่อ ดอลลาร์สหรัฐ) ไปสู่ระดับที่แข็งค่าขึ้น โดย

ร้อยละ 7.5 เชื่อว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าจาก 33.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 34.0 บาทต่อดอลลาร์

สหรัฐโดยเฉลี่ย

ร้อยละ 47.5 เชื่อว่าค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับปัจจุบันที่ 33.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ร้อยละ 45.0 เชื่อว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าจาก 33.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.1 บาทต่อ

ดอลลาร์สหรัฐโดยเฉลี่ย

3. ความเห็นต่อประเด็น ภาวะเงินเฟ้อไตรมาส 4 ปี 2552 ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย 8 เดือนแรก
ที่อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ -1.9 พบว่า

ร้อยละ 17.1 เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะอยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552

ร้อยละ 43.9 เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะติดลบน้อยลง โดยมีค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ -0.7

ร้อยละ 39.0 เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะขยายตัวเป็นบวกได้ โดยมีค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.8

4. ความเห็นต่อประเด็น ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดเมื่อเทียบ
กับระดับปัจจุบันที่อยู่ในระดับร้อยละ 1.25 พบว่า

ร้อยละ 97.4 เห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.25 จนถึงสิ้นปี 2552

ร้อยละ 2.6 เห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 1.25

หมายเหตุ: คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการประชุมจำนวน 2 ครั้งใน ไตรมาส 4 ปี 2552

คือ การประชุมในวันที่ 21 ตุลาคม และวันที่ 2 ธันวาคม

5. ความเห็น ต่อประเด็นจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจไทยในวิกฤติครั้งนี้ โดย

ร้อยละ 7.3 เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ผ่านจุดต่ำสุด ขณะที่

ร้อยละ 92.7 เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว

โดยการผ่านจุดต่ำสุดหรือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในครั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.5 ให้ความเห็นว่าเป็น ผลมาจากการใช้จ่ายของรัฐบาล รองลงมาร้อยละ 23.7 เห็นว่า เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าและบริการ

ในประเด็นรูปแบบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในครั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 เห็นว่าเศรษฐกิจน่า จะมีการขยายตัวแบบตัว U ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจมีการหดตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็วแต่เมื่อถึงจุดต่ำสุดแล้วต้องใช้เวลาพักหนึ่งกว่าเศรษฐกิจจะเริ่ม มีการฟื้นตัวอีกครั้ง รองลงมาร้อยละ 19.4 นักเชื่อว่าเศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวแบตัว W และร้อยละ 8.3 เชื่อว่าจะเป็นการฟื้นตัวแบบตัว V ตามลำดับ

หมายเหตุ:

1. การผ่านจุดต่ำสุด/การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ มิได้หมายความว่าเศรษฐกิจจะต้องมีการขยายตัวเป็นบวก แต่อาจอยู่ในรูปการติดลบ ที่ลดลงก็ได้

2. การขยายตัว

แบบตัว V หมายถึง เศรษฐกิจมีการหดตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็วแต่เมื่อถึงจุดต่ำสุดแล้วก็มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน

แบบตัว U หมายถึง เศรษฐกิจมีการหดตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็วแต่เมื่อถึงจุดต่ำสุดแล้วต้องใช้เวลาพักหนึ่งกว่าเศรษฐกิจจะเริ่มมี การฟื้นตัวอีกครั้ง

แบบตัว W หมายถึง เศรษฐกิจมีการหดตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็วและมีสัญญาณการฟื้นตัวซึ่งบางครั้งอาจทำให้นักเศรษฐศาสตร์เข้าใจ ว่าเป็นการฟื้นตัวแบบตัว V แต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งเศรษฐกิจหมดแรงส่งหรือการฟื้นตัวที่เกิดขึ้นเป็นการปรับตัวทางเทคนิคหรือมิได้มีการฟื้น ตัวอย่างแข็งแรงก็จะทำให้เศรษฐกิจทรุดลงมาอีกรอบหนึ่งแล้วจึงจะมีการฟื้นตัวจริงๆ

แบบตัว L หมายถึง เศรษฐกิจมีการหดตัวอย่างรุนแรงและกินระยะเวลาที่ยาวนานดังที่เคยเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (The Great Depression)

แบบตัว หมายถึง การที่เศรษฐกิจหดตัวถึงจุดต่ำสุดแล้วฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติเป็นระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งการฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจลักษณะนี้เป็นการฟื้นตัวที่พึงปรารถนา

6. นักเศรษฐศาสตร์มีข้อเสนอต่อรัฐบาลในประเด็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนี้

ภาครัฐควรมีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น การสร้างทักษะแรงงาน ซึ่งสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนจะช่วยก่อให้เกิดการ จ้างงานซึ่งน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยแนวทางการบริโภค อีกทั้งการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำจะทำให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่า การลงทุนในช่วงเศรษฐกิจเติบโต อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการลงทุนของภาครัฐในปัจจุบันเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากจึงแนะ นำให้ภาครัฐควรคุมการใช้งบประมาณให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และต้องหมั่นดูแลและเร่งรัดการเบิกใช้ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

นอกจากนี้ แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์จะเห็นด้วยกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่บางส่วนก็มีความกังวลว่าหากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ อีกรอบหนึ่งจะทำให้รัฐบาลไม่มีเครื่องมือที่จะบริหารเศรษฐกิจ อีกทั้งปัญหาด้านการเมืองก็ยังคงเป็นประเด็นที่ไม่น่าไว้วางใจและยังคงเป็นตัวฉุด เศรษฐกิจไทย ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์จึงเสนอแนะให้รัฐบาลมีการบริหารเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และต้องมองถึงอนาคตข้าง หน้าด้วย

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่อง ทางสื่อมวลชน

2. เพื่อประมาณการแนวโน้มทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 4 ปี 2551 ให้หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และองค์กร ต่างๆ ได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนกำหนดนโยบาย และการดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มตัวอย่าง

1. เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้าน เศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี/โท/เอก จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์ วิจัย หรืองานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 5 ปี)

2. เป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน14 แห่งได้แก่ สำนักงานคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนัก งานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจและการค้า ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1-5 ตุลาคม 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ         :  6  ตุลาคม 2552

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                         จำนวน        ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ                    18          43.9
           หน่วยงานภาคเอกชน                 15          36.6
           สถาบันการศึกษา                     8          19.5
          รวม                              41         100.0

เพศ
            ชาย                            25          61.0
            หญิง                            16          39.0
          รวม                              41         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี                     1           2.4
            26 ปี — 35 ปี                    23          56.1
            36 ปี — 45 ปี                     8          19.5
            46 ปีขึ้นไป                        9          22.0
          รวม                              41         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                       3            7.3
             ปริญญาโท                      29           70.7
             ปริญญาเอก                      9           22.0
          รวม                             41          100.0

ประสบการณ์ทำงาน
              1-5  ปี                      14           34.1
              6-10 ปี                      10           24.4
              11-15 ปี                      3            7.3
              16-20 ปี                      4            9.8
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป               10           24.4
          รวม                             41          100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ