กรุงเทพโพลล์: โอกาสและความพร้อมของประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ข่าวผลสำรวจ Monday October 26, 2009 09:53 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อกองทุนริเริ่มเชียงใหม่ช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินของอาเซียน

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จาก 17 องค์กรชั้นนำของไทย เรื่อง “โอกาสและความพร้อมของประเทศไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 75.0 เชื่อว่ากองทุนริเริ่มเชียงใหม่จะ ช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้ นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 69.7 เชื่อว่าอาเซียนจะ บรรลุการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้ อันจะส่งผลให้สินค้าของไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น พร้อมแนะให้รัฐบาล เตรียมใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายสินค้าและการเคลื่อนย้ายการลงทุนที่จะเกิดขึ้นให้คุ้มค่า อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ยังติงการ เปิดเสรีสินค้าของไทยในปีหน้า (เฉพาะอาเซียน-6) ที่ไทยยังมีความพร้อมไม่เต็มที่โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนการขนส่งของไทยที่อยู่ในระดับสูงและยังไม่ได้ รับการแก้ไข นอกจากนี้รัฐบาลยังไม่มีการเตรียมมาตรการรองรับเพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีที่จะเกิดขึ้นกับภาคส่วนเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าอาเซียนจะบรรลุการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะก้าวไปสู่จุดที่ เหมือนกับสหภาพยุโรป (EU) เนื่องจากประเทศสมาชิกมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม และที่ สำคัญคือ การขาดความจริงใจต่อกันในอันที่จะพัฒนาอาเซียนเพื่อนำความกินดีอยู่ดีมาสู่ประชาชนอาเซียน

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ความเห็นต่อประเด็น การบรรลุเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พิจารณาในแง่ “การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม” โดย
          ร้อยละ    16.1          เห็นว่าจะบรรลุการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ภายในปี 2558
          ร้อยละ    69.7          เห็นว่า  บรรลุ  แต่ล่าช้ากว่าปี 2558
          ร้อยละ     7.1          เห็นว่า  ไม่มีทางบรรลุ
          ร้อยละ     7.1          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

2.  ความเห็นต่อประเด็น  การรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย (ในภาพรวม)พบว่า
          ร้อยละ    66.1          เห็นว่า  จะช่วยให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยเพิ่มขึ้น
          ร้อยละ    23.2          เห็นว่า  จะไม่ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยเพิ่มขึ้นหรือลดลง
          ร้อยละ     7.1          เห็นว่า  จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยลดลงกว่าเดิม
          ร้อยละ     3.6          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

3.  ความเห็นต่อประเด็น   ภายใต้แผนงาน “การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม” ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ภาครัฐควรเตรียมการใช้ประโยชน์ในด้านใดมากที่สุดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย  พบว่า

อันดับ 1 ภาครัฐควรใช้ประโยชน์ด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเสรี

อันดับ 2 ภาครัฐควรใช้ประโยชน์ด้านการเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี

อันดับ 3 ภาครัฐควรใช้ประโยชน์ด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

อันดับ 4 ภาครัฐควรใช้ประโยชน์ด้านการเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี

อันดับ 5 ภาครัฐควรใช้ประโยชน์ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี

          ร้อยละ       3.6     ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

4.  ความเห็นต่อประเด็น  ความร่วมมือด้านการเงินระหว่างอาเซียนกับจีน  ญี่ปุ่น  และเกาหลีใต้  ในการจัดตั้งกองทุนสำรองพหุภาคีภายใต้
มาตรการริเริ่มเชียงใหม่  จะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลังในภูมิภาคได้หรือไม่  พบว่า
          ร้อยละ     75.0    เห็นว่า  สามารถช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลังในภูมิภาคได้
          ร้อยละ     12.5    เห็นว่า  ไม่สามารถช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลังในภูมิภาคได้

เนื่องจาก ในปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มากเกินพออยู่แล้ว

กองทุนสำรองพหุภาคีจึงมีประโยชน์ค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ประเทศในเอเชียบางประเทศไม่ว่าจะเป็นจีน

ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งด้านการเงิน ความจำเป็นของกองทุนนี้จึงลดลง

          ร้อยละ     12.5    ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

5.  ความเห็นต่อประเด็น  ประชาคมอาเซียนจะสามารถก้าวไปถึงจุดที่เหมือนกับสหภาพยุโรป หรือ EU ได้หรือไม่  พบว่า
          ร้อยละ    14.3     เชื่อว่า  ได้
          ร้อยละ    69.6     เชื่อว่า  ไม่ได้  เนื่องจาก ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก

ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ(บางประเทศพัฒนาแล้วในขณะที่บางประเทศก็ยังคงล้าหลัง)

ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการเมือง และที่สำคัญคือขาดความจริงใจ

ต่อกันในอันที่จะร่วมมือพัฒนาไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งอาเซียนยังขาดผู้นำที่มีความเข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับ

          ร้อยละ    16.1     ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

6.  ความคิดเห็นต่อประเด็น ความพร้อมของประเทศไทยในการเปิดเสรีสินค้าของไทยในปี 2553  (เฉพาะอาเซียน-6)
          ร้อยละ    17.9          เห็นว่า  มีความพร้อมมาก
          ร้อยละ    46.4          เห็นว่า  มีความพร้อมปานกลาง  โดยต้องปรับปรุงเรื่อง  ข้อจำกัดต่างๆ ที่ยังคงบั่นทอน

ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนการขนส่งที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการที่ยังสูง มาตรฐานสินค้าของไทยที่ยังต้องปรับปรุง การวิจัยและพัฒนา

ที่อยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังขาดการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและ

ประชาชนได้รับทราบ รวมทั้งขาดมาตรการบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดจากการเปิดเสรี

          ร้อยละ    21.4          เห็นว่า  มีความพร้อมน้อย
          ร้อยละ    14.3          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)
7. ข้อเสนอต่อรัฐบาลในประเด็นเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3 อันดับแรก ได้แก่

อันดับที่ 1 เสนอให้ รัฐบาลควรมีการศึกษาความได้เปรียบและความเสียเปรียบให้รอบคอบครบถ้วน ศึกษาความพร้อมของภาคธุรกิจ

รวมทั้งหามาตรการรองรับเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง

อันดับที่ 2 เสนอให้ รัฐบาลมีการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาคอาเซียนได้รับทราบและ

มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อการเตรียมความพร้อมและรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

อันดับที่ 3 เสนอให้ อาเซียนมีความสมัครสมานสามัคคีกันมากขึ้นเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง และประเทศในภูมิภาค

อาเซียนควรหันมาค้าขายระหว่างกันให้มากขึ้น ซึ่งการค้าขายดังกล่าวไม่จำเป็นต้องใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่อง ทางสื่อมวลชน

2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

1. เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้าน เศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์ วิจัย หรืองานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 5 ปี) และที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 17 แห่งได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการ เกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวง ไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัททริสเรทติ้งจำกัดบริษัท หลักทรัพย์ภัทรจำกัด (มหาชน) อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

2. วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  20-22  ตุลาคม  2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  26  ตุลาคม 2552

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                  จำนวน        ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ             30          53.6
           หน่วยงานภาคเอกชน          19          33.9
           สถาบันการศึกษา              7          12.5
          รวม                       56         100.0

เพศ
            ชาย                     39          69.6
            หญิง                     17          30.4
          รวม                       56         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี              2           3.6
            26 ปี — 35 ปี             27          48.2
            36 ปี — 45 ปี             16          28.6
            46 ปีขึ้นไป                11          19.6
          รวม                       56         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                 3           5.4
             ปริญญาโท                41          73.2
             ปริญญาเอก               12          21.4
          รวม                       56         100.0

ประสบการณ์ทำงาน
              1-5  ปี                17          30.4
              6-10 ปี                15          26.8
              11-15 ปี                6          10.7
              16-20 ปี                7          12.5
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป         11          19.6
          รวม                       56         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ