กรุงเทพโพลล์: ลอยกระทงของคนกรุงยุค 2009

ข่าวผลสำรวจ Monday November 2, 2009 07:28 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ลอยกระทงของคนกรุงยุค 2009 พบส่วนใหญ่ระบุหลังลอย กระทงแล้วจะกลับบ้านนอนไม่ไปเที่ยวสังสรรค์ต่อ โดยตั้งงบประมาณซื้อกระทงในปีนี้ไว้ใบละไม่เกิน 50 บาท เน้นทำจากวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม พร้อมฝากถึงสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นในคืนวันลอยกระทงคือการเมาสุราแล้วสร้างปัญหา เช่น อุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท (โปรดพิจารณารายละเอียด ต่อไปนี้)

1. ความตั้งใจไปร่วมงานประเพณีลอยกระทงในปีนี้ พบว่า
          - ไป                ร้อยละ 64.0

โดยให้เหตุผลว่า เป็นประเพณีของไทยที่ 1 ปี มีครั้งเดียว และเคยไปลอยทุกปี

เป็นกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว และได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน

          - ไม่ไป              ร้อยละ 36.0

โดยให้เหตุผลว่า ไม่ว่าง รถติด ไม่ชอบคนเยอะ และเป็นห่วงบ้าน

2. กระทงที่จะใช้ลอยในปีนี้ มาจาก (ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะไปลอยกระทง)
          - ซื้อจากร้านที่นำมาวางขาย           ร้อยละ  70.7

โดยกำหนดงบประมาณในการซื้อกระทงไว้ที่ใบละ

                    - ไม่เกิน 50 บาท                     ร้อยละ 49.0
                    - 51 — 100 บาท                     ร้อยละ 18.9
                    - 101 — 150 บาท                    ร้อยละ  1.6
                    - มากกว่า 150 บาท                   ร้อยละ  1.2
                    - ประดิษฐ์เอง                        ร้อยละ 29.3

3.  ปัจจัยสำคัญอันดับแรกในการเลือกกระทงที่จะใช้ลอยในปีนี้ คือ
          - วัสดุที่ใช้ทำกระทงต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม            ร้อยละ 58.1
          - ราคาถูก                                     ร้อยละ 28.6
          - ความสวยงาม                                 ร้อยละ  9.9
          - ขนาดของกระทง                               ร้อยละ  1.5
          - อื่นๆ อาทิ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แล้วแต่สะดวก          ร้อยละ  1.9

4.  กิจกรรมที่คาดว่าจะทำหลังจากลอยกระทงเสร็จแล้ว คือ
          - กลับบ้านนอน                                  ร้อยละ  59.3
          - สังสรรค์กับเพื่อนฝูง                             ร้อยละ  14.3
          - ไปกินอาหารรอบดึก                             ร้อยละ  11.8
          - ไปเที่ยวกับแฟน                                ร้อยละ   5.2
          - ไปเที่ยวสถานบันเทิง                            ร้อยละ   1.5
  • อื่นๆ อาทิ ไปเที่ยวกับครอบครัว ชมมหรสพรื่นเริง ร้อยละ 7.9
5. สิ่งที่ไม่อยากพบเห็น หรือ ไม่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุดในคืนวันลอยกระทงปีนี้ คือ
          - การเมาสุราแล้วสร้างปัญหา เช่น อุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท เป็นต้น                ร้อยละ 44.1
          - การยกพวกตีกันของวัยรุ่น                                              ร้อยละ 18.4
          - การจุดประทัด พลุและดอกไม้ไฟ                                         ร้อยละ 13.8
          - การฉกชิงวิ่งราว ล้วงกระเป๋า โจรกรรม                                  ร้อยละ 7.7
          - การใช้กระทงที่ทำจากวัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม                       ร้อยละ 5.3
          - การทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง สร้างความสกปรกเลอะเทอะ                      ร้อยละ 4.7
          - การจัดงานรื่นเริงที่ไม่เหมาะสมในวัด                                     ร้อยละ 2.1
          - อื่นๆ อาทิ วัยรุ่นทำตัวไม่เหมาะสม เด็กว่ายน้ำเก็บกระทง เป็นต้น                ร้อยละ 3.9

6.   พรที่คนกรุงเทพฯ ตั้งใจจะอธิษฐานขอจากพระแม่คงคาในคืนวันลอยกระทงปีนี้ (5 อันดับแรก)
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
          - ให้ตนเองและครอบครัวมีความสุข                                        ร้อยละ 23.2
          - ให้ประเทศไทยมีความสงบสุข คนไทยเลิกทะเลาะกัน                          ร้อยละ 13.7
          - ขอขมาพระแม่คงคา                                                  ร้อยละ 10.9
          - ให้ตนเองและครอบครัวมีร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย                    ร้อยละ 10.6
          - ขอให้ร่ำรวย มีโชคมีลาภ                                              ร้อยละ 7.5

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนคนกรุงเทพมหานคร เพื่อสะท้อนถึงพฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมในวันลอยกระทง ตลอดจนมุม มองในด้านต่างๆ ที่ เกี่ยวกับเทศกาลวันลอยกระทง ในยุค 2009 ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จำนวน 29 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางเขน บางขุนเทียน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หนองแขม และหลักสี่ จากนั้นสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้ง สิ้น 1,149 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.0 และเพศหญิง ร้อยละ 51.0

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน+/-3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมา ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล        :  27 — 29 ตุลาคม 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ            :  1 พฤศจิกายน 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                               จำนวน         ร้อยละ
เพศ
            ชาย                                 563          49.0
            หญิง                                 586          51.0
          รวม                                 1,149        100.00

อายุ
            18-25 ปี                             326          28.4
            26-35 ปี                             312          27.2
            36-45 ปี                             260          22.6
            46 ปีขึ้นไป                            251          21.8
          รวม                                 1,149        100.00

การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                        704          61.3
            ปริญญาตรี                             402          35.0
            สูงกว่าปริญญาตรี                         43           3.7
          รวม                                 1,149        100.00

อาชีพ
           ข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ             103           9.0
           พนักงานบริษัทเอกชน                      332          28.9
           ค้าขาย  ประกอบอาชีพส่วนตัว               304          26.5
           รับจ้างทั่วไป                            135          11.7
           พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                  74           6.4
           อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ   201          17.5
          รวม                                 1,149        100.00

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ