กรุงเทพโพลล์: ทัศนะของประชาชนต่อปัญหาภาวะโลกร้อน และผลกระทบต่อประเทศไทย

ข่าวผลสำรวจ Thursday December 3, 2009 09:17 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่องทัศนะของประชาชนต่อปัญหาภาวะโลกร้อนและผลกระทบต่อ ประเทศไทย เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม และการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 15 (cop15) ที่ประเทศเดนมาร์ก วันที่ 7-18 ธันวาคม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากกับปัญหาภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลกระทบกับประเทศไทย โดยเชื่อว่าภาวะโลกร้อนทำให้สภาพอากาศแปรปรวน มีฤดูฝนยาวนาน อากาศหนาวสลับร้อน และในอนาคตอาจเป็นสาเหตุให้เกิดวันสิ้นโลกได้ ขณะที่การลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟมเป็นวิธีที่ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งใจจะทำมากที่สุดเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังเห็นด้วยหาก รัฐบาลจะออกนโยบายหรือมาตรการที่เข้มงวดจริงจังในการรับมือกับปัญหาภาวะโลกร้อน พร้อมชื่นชม ปตท. ที่มีบทบาทช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ระดับการให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนที่จะส่งผลกระทบกับประเทศไทย
          มาก                                                  ร้อยละ 74.3
          ปานกลาง                                              ร้อยละ 23.2
          น้อย                                                  ร้อยละ  2.1
          ไม่ให้ความสำคัญเลย                                      ร้อยละ  0.4

2. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่าภาวะโลกร้อนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดวันสิ้นโลกในอนาคต
          เชื่อว่าเป็นไปได้                                         ร้อยละ 79.0
          เชื่อว่าเป็นไปไม่ได้                                       ร้อยละ 21.0

3. ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเด่นชัดที่สุดในขณะนี้
          สภาพอากาศแปรปรวน มีฤดูฝนยาวนาน อากาศหนาวสลับร้อน         ร้อยละ 43.4
          อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น                                     ร้อยละ 25.4
          เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น เช่น พายุ คลื่นยักษ์สึนามิ               ร้อยละ 17.4
          ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น                                    ร้อยละ  7.2
          เกิดโรคระบาดชนิดใหม่                                    ร้อยละ  5.9
          อื่นๆ                                                  ร้อยละ  0.5
          คิดว่าไม่มีผลกระทบ                                       ร้อยละ  0.2

4. วิธีที่ประชาชนตั้งใจจะทำมากที่สุดเพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน ได้แก่
          ลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟม                            ร้อยละ 27.1
          ช่วยปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ป่าไม้                               ร้อยละ 25.7
          ลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์          ร้อยละ 22.7
          เลือกใช้สินค้าที่มีฉลากประหยัดไฟ                             ร้อยละ 14.0
          เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน เช่น รถประจำทาง รถไฟฟ้า            ร้อยละ 10.5

5. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่ารัฐบาลควรออกนโยบายหรือมาตรการที่เข้มงวดจริงจังมากขึ้นในการรับมือวิกฤตภาวะโลกร้อน
          เห็นด้วย                                               ร้อยละ 98.7

โดยในจำนวนนี้เห็นว่านโยบายหรือมาตรการที่รัฐควรประกาศใช้เพื่อรับมือวิกฤตภาวะโลกร้อน ได้แก่

          1.   ควบคุมคุณภาพโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม                    ร้อยละ 30.1
          2.   รณรงค์ลดการใช้พลังงาน ประหยัดไฟ                                    ร้อยละ 24.9
          3.   พัฒนาการใช้พลังงานทดแทนเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม                ร้อยละ 22.7
          4.   ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน                                ร้อยละ 12.8
          5.   ควบคุมจำนวนประชากร                                              ร้อยละ 4.5
          6.   สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์                                       ร้อยละ 3.7
               ไม่เห็นด้วย                                                         ร้อยละ 1.3
(โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ประชาชนต้องมีจิตสำนึกเอง  เป็นการกำหนดข้อบังคับมากเกินไป และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ)

6. หน่วยงาน องค์กร และบริษัทเอกชนในประเทศไทยที่มีบทบาทในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้
อย่างน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
          บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)                              ร้อยละ 25.8
          บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)                        ร้อยละ 10.3
          สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3                            ร้อยละ 10.1
          การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)                    ร้อยละ  8.8
          กระทรวงพลังงาน                                       ร้อยละ  6.5

รายละเอียดในการสำรวจ ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองออกเป็น 36 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอกได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางซื่อ บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สายไหม หนองแขม หนองจอก และหลักสี่ จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมาย ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,113 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.6 และเพศหญิงร้อยละ 49.4

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   28 - 29 พฤศจิกายน 2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :    3 ธันวาคม 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                          จำนวน        ร้อยละ
เพศ
       ชาย                                 563          50.6
       หญิง                                 550          49.4
รวม                                      1,113         100.0

อายุ
       18 ปี — 25 ปี                         289          26.0
       26 ปี — 35 ปี                         306          27.5
       36 ปี — 45 ปี                         252          22.6
       46 ปีขึ้นไป                            266          23.9
รวม                                      1,113         100.0

การศึกษา
       ต่ำกว่าปริญญาตรี                        578          52.0
       ปริญญาตรี                             489          43.9
       สูงกว่าปริญญาตรี                         46           4.1
รวม                                      1,113         100.0

อาชีพ
         ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ          96           8.6
         พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน           313          28.2
         ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว           357          32.1
         รับจ้างทั่วไป                         123          11.0
         พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ           86           7.7
         อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน  นักศึกษา   138          12.4
รวม                                      1,113         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ