กรุงเทพโพลล์: คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2553

ข่าวผลสำรวจ Monday December 28, 2009 09:11 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อเศรษฐกิจปีเสือ ดีกว่า ปีวัว คาดขยายตัว ร้อยละ 3.0 เตือนส่งออกจับตาเงินบาทแข็งค่า ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 21 แห่ง เรื่อง “คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2553” พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.8 คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2553 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัว ของเศรษฐกิจโลกอันจะช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัวร้อยละ 9.6 แต่ทั้งนี้ ผู้ส่งออกจะต้องจับตาและบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่นัก เศรษฐศาสตร์คาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าลงไปถึงระดับ 32.00-32.99 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งราคาน้ำมันที่คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 80-89 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

ส่วนอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย คาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำอันเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2553

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบกับภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2553 นั้น นักเศรษฐศาสตร์ยังคงกังวลต่อปัญหาความเปราะบางของเศรษฐกิจ โลก ปัญหาการเมืองและการชุมนุมประท้วง และปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีมาบตาพุด และแหลมฉบัง เป็นต้น

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้) 1. ความเห็นต่อประเด็น การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2553 เปรียบเทียบกับปี 2552 พบว่า

          ร้อยละ    84.9          เห็นว่าเศรษฐกิจโลกปี 2553 จะดีกว่าปี 2552  โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4
          ร้อยละ     1.5          เห็นว่าเศรษฐกิจโลกปี 2553 จะแย่กว่าปี 2552
          ร้อยละ    13.6          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

2.           ความเห็นต่อประเด็น  การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (Real GDP)ในปี 2553 เปรียบเทียบกับปี 2552   พบว่า
          ร้อยละ    81.8          เห็นว่าเศรษฐกิจไทยปี 2553 จะดีกว่าปี 2552  โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0
          ร้อยละ     7.6          เห็นว่าเศรษฐกิจไทยปี 2553 จะแย่กว่าปี 2552
          ร้อยละ    10.6          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

3. ความเห็นต่อประเด็น  การขยายตัวของการส่งออกในปี 2553  เปรียบเทียบกับปี 2552  พบว่า
          ร้อยละ    71.2          เห็นว่า  การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 9.6
          ร้อยละ    10.6          เห็นว่า  การส่งออกจะขยายตัวติดลบ
          ร้อยละ    18.2          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

4. ความเห็นต่อประเด็น  ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2553  พบว่า
          ร้อยละ    0.0          เห็นว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับสูงกว่า 99  ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
          ร้อยละ    3.0          เห็นว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับ 90-99 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
          ร้อยละ   40.9          เห็นว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับ 80-89 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
          ร้อยละ   39.4          เห็นว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับ 70-79 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
          ร้อยละ    7.6          เห็นว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับ 60-69 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
          ร้อยละ    1.5          เห็นว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
          ร้อยละ    7.6          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

5. ความเห็นต่อประเด็น  อัตราเงินเฟ้อในปี 2553 พบว่า
          ร้อยละ    81.8          เห็นว่า  อัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวเป็นบวกได้ในระดับร้อยละ 2.4
          ร้อยละ     7.6          เห็นว่า  อัตราเงินเฟ้อจะยังคงติดลบ
          ร้อยละ    10.6          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

6. ความเห็นต่อประเด็น  อัตราดอกเบี้ยนโยบาย  พบว่า
          ร้อยละ    66.7          เห็นว่า  ธนาคารแห่งประเทศไทย จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 1.25

เป็นร้อยละ 2.00 ภายในสิ้นปี 2553 โดยจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในไตรมาส 3

          ร้อยละ    21.2          เห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ  1.25
          ร้อยละ    12.1          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

7.  ความเห็นต่อประเด็น ทิศทางค่าเงินบาทปี 2553  พบว่า
          ร้อยละ    16.7          เห็นว่า  ค่าเงินบาทจะแข็งค่ากว่า 32.00  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
          ร้อยละ    43.9          เห็นว่า  ค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 32.00-32.99  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
          ร้อยละ    27.3          เห็นว่า  ค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.00-33.99  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
          ร้อยละ     4.5          เห็นว่า  ค่าเงินบาทจะอ่อนค่ากว่า 34.00  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
          ร้อยละ     7.6          ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)

8. ความเห็นต่อประเด็น  ปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบกับภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2553  พบว่า

อับดับ 1 (ร้อยละ 32.6) ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก (เช่น ภาวะฟองสบู่ในหลายประเทศและการเลื่อนการชำระหนี้

ของดูไบเวิลด์)

อันดับ 2 (ร้อยละ 29.0) ปัญหาการเมืองและการชุมนุมประท้วง

อันดับ 3 (ร้อยละ 12.6) ราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น

อันดับ 4 (ร้อยละ 12.4) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (เช่น กรณีมาบตาพุด และแหลมฉบัง)

อันดับ 5 (ร้อยละ 5.8) ค่าเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่า

อันดับ 6 (ร้อยละ 3.8) ปัญหาหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

อันดับ 7 (ร้อยละ 2.0) ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

อันดับ 8 (ร้อยละ 1.8) การเปิดเสรีของกลุ่มการค้าอาเซียน

หมายเหตุ: ตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจในรายงานการสำรวจฉบับนี้เป็นค่าเฉลี่ยที่ได้จากการสำรวจ

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่อง ทางสื่อมวลชน

2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้อง ใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 21 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวง พาณิชย์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย บริษัททริสเรทติ้งจำกัด บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :  14-18  ธันวาคม  2552

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  28  ธันวาคม 2552

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่

           หน่วยงานภาครัฐ             36          54.5
           หน่วยงานภาคเอกชน          19          28.8
           สถาบันการศึกษา             11          16.7
รวม                                 66         100.0

เพศ
            ชาย                     38          57.6
            หญิง                     28          42.4
รวม                                 66         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี              2           3.0
            26 ปี — 35 ปี             32          48.6
            36 ปี — 45 ปี             16          24.2
            46 ปีขึ้นไป                16          24.2
รวม                                 66         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                 4           6.1
             ปริญญาโท                49          74.2
             ปริญญาเอก               13          19.7
รวม                                 66         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                16          24.2
              6-10 ปี                19          28.9
              11-15 ปี                6           9.1
              16-20 ปี                9          13.6
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป         16          24.2
รวม                                 66         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ