ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุคนกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงด้านการเมืองสูงที่สุด โดยร้อยละ 62.8 อยากให้ควบคุมสถานการณ์ ยุติปัญหาการชุมนุม และทำการเมืองให้สงบโดยเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- เพิ่มจำนวนและจัดสรรเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลให้ทั่วถึงเพื่อแก้ปัญหาการถูกทำร้ายร่างกาย ฉกชิงวิ่งราว ร้อยละ 5.7
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจความเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในด้านต่างๆ
2. เพื่อสะท้อนความเห็นต่อสิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงในชีวิตของคนกรุงเทพฯ
3. เพื่อเสนอแนะต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,318 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 44.2 และเพศหญิงร้อยละ 55.8
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 7 เมษายน 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 7 เมษายน 2553ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 582 44.2 หญิง 736 55.8 รวม 1,318 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 344 26.1 26 - 35 ปี 428 32.5 36 - 45 ปี 260 19.7 46 ปีขึ้นไป 286 21.7 รวม 1,318 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 632 48.0 ปริญญาตรี 588 44.6 สูงกว่าปริญญาตรี 98 7.4 รวม 1,318 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 92 7.0 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 348 26.4 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 396 30.0 รับจ้างทั่วไป 116 8.8 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 134 10.2 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 232 17.6 รวม 1,318 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--