ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจพบว่าโอกาสวันแม่ปีนี้สิ่งที่ลูกวัยรุ่นตั้งใจจะทำให้แม่มากที่สุดอันดับแรกคือจะนำ ดอกมะลิ พวงมาลัยไปกราบแม่ (ร้อยละ 23.5) รองลงมาคือให้เวลาอยู่กับแม่ พาแม่ไปเที่ยว พาไปทานข้าว (ร้อยละ 14.8) และบอกรักแม่ กอด แม่ หอมแม่ (ร้อยละ 14.6) ส่วนในมุมมองของผู้เป็นแม่นั้นของขวัญวันแม่ที่อยากได้จากลูกมากที่สุดอันดับแรกคือให้ลูกเป็นคนดีของสังคม (ร้อยละ 43.8) รองลงมาคือให้เชื่อฟังคำสั่งสอนของแม่ (ร้อยละ 17.8) และตั้งใจเรียนหนังสือ (ร้อยละ 14.8)
เมื่อสอบถามความรู้สึกของแม่ที่มีต่อลูก พบว่า เรื่องที่ลูกทำให้แม่ดีใจ ปลื้มใจมากที่สุดคือ การที่ลูกตั้งใจเรียนหนังสือ ไม่หนีเรียน (ร้อยละ 33.3) ส่วนเรื่องที่ลูกทำให้เสียใจและทุกข์ใจมากที่สุดคือ การที่ลูกดื้อ ไม่เชื่อฟังแม่ เถียงแม่ และพูดจาก้าวร้าวกับแม่ (ร้อยละ 40.0) และความรู้สึก ของแม่เมื่อต้องเฆี่ยนตีหรือทำโทษลูกคือรู้สึกเสียใจมากที่สุด (ร้อยละ 55.1)
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบความรู้สึกของลูกที่มีต่อแม่ พบว่า เรื่องที่แม่ทำให้ลูกดีใจปลื้มใจมากที่สุดคือ การที่แม่แสดงออกถึงความรักโดยการก อด หอม ดูแลเอาใจใส่ให้ความอบอุ่น (ร้อยละ 28.7) ส่วนเรื่องที่แม่ทำให้รู้สึกเสียใจทุกข์ใจมากที่สุดคือ การถูกแม่ดุด่า ต่อว่า ตำหนิ จู้จี้ ขี้บ่น (ร้อย ละ 31.7) และความรู้สึกของลูกเมื่อถูกแม่เฆี่ยนตีหรือทำโทษคือรู้สึกเสียใจ น้อยใจมากที่สุด (ร้อยละ 39.8)
สำหรับเรื่องที่เป็นห่วงและวิตกกังวลมากที่สุดจากสภาพสังคมในปัจจุบัน พบว่า
แม่เป็นห่วงลูกในเรื่องยาเสพติดมากที่สุด (ร้อยละ 44.8)
รองลงมาคือการคบเพื่อนไม่ดี (ร้อยละ 44.6)
และภัยจากอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 31.4)
ในขณะที่ลูกเป็นห่วงแม่มากที่สุดในเรื่องปัญหาสุขภาพ (ร้อยละ 81.2)
รองลงมาคือการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย (ร้อยละ 59.5)
และห่วงเรื่องแม่เครียดและคิดมาก (ร้อยละ 45.3)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของแม่และลูกที่เป็นวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับความใจในที่อยากบอกซึ่งกันและกันในโอกาสวันแม่ที่จะมา ถึงในปีนี้ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย ตลอดจนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้าง ความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่และลูกวัยรุ่นต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงอายุ 15-25 ปี และวัยรุ่นอายุ 15-25 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จำนวนทั้งสิ้น 30 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางขุนเทียน บางคอแหลม บางแค บางนา บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พระโขนง มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สาทร หนองจอก หลักสี่ และห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,013 คน เป็นแม่ร้อยละ 42.7 และลูกร้อยละ 57.3
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำ แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 6-8 สิงหาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 10 สิงหาคม 2553ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ สถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง เป็นแม่ (ที่มีลูกอายุ 15-25 ปี) 433 42.7 เป็นลูก (อายุ 15-25 ปี) 580 57.3 รวม 1,013 100.0 อายุลูก 15 - 18 ปี 203 34.9 19 - 22 ปี 203 34.9 23 - 25 ปี 174 30.2 รวม 580 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--