ผลสำรวจเรื่อง “จาก 2G สู่ 3G สังคมไทยพร้อมแค่ไหน?”
ประชาชน 58.5% ตั้งตารอ ระบบ 3G เน้นใช้งานเพื่อบันเทิงมากกว่าสาระและความรู้
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจเรื่อง “จาก 2G สู่ 3G สังคมไทยพร้อมแค่ไหน?” โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,143 คน ผลการสำรวจพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.5 พร้อมที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G แทน 2G หากมีการเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบ ในจำนวนนี้ ร้อยละ 36.3 ระบุว่าพร้อมจะเปลี่ยนไปใช้ภายใน 1 ปี ส่วนที่เหลือร้อยละ 16.7 และร้อยละ 5.5 ระบุว่าพร้อมจะเปลี่ยนไปใช้ภายใน 3 ปี และ 5 ปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยังคงมีประชาชนอีกร้อยละ 41.5 ที่ยังไม่มีแผนจะใช้ระบบ 3G ภายใน 5 ปี (ในจำนวนนี้ร้อยละ 29.6 คิดว่าจะไม่เปลี่ยนไปใช้เลย) นั่นแสดงให้เห็นว่าระบบโทรศัพท์ 2G ยังคงมีความจำเป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีอายุ 46 ปีขึ้นไป โดยคนกลุ่มนี้จำนวนร้อยละ 58.1 ไม่คิดจะเปลี่ยนไปใช้ระบบ 3G เลยโดยให้เหตุผลว่าระบบ 2G เดิมก็ดีอยู่แล้ว
เมื่อสอบถามถึงความรู้ความเข้าใจในระบบ 3G พบว่า ประชาชนร้อยละ 48.5 มีความรู้ในระดับปานกลางเท่านั้น(คือรู้ว่าเร็วขึ้น แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรได้บ้าง) ส่วนร้อยละ 37.6 ไม่มีความรู้เลย และร้อยละ 13.9 มีความรู้ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเฉพาะประชาชนที่ระบุว่าจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ 3G พบว่าร้อยละ 58.9 ของคนกลุ่มนี้ก็มีความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G เพียงในระดับปานกลางเท่านั้น นอกจากนี้ เมื่อทำการศึกษาลงลึกถึงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน (ระบบ 2G) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะเน้นใช้ประโยชน์เพื่อการบันเทิงเป็นหลัก(นอกเหนือจากการพูดคุยสนทนาตามปกติ) ขณะที่พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์หลังจากการเปิดใช้ระบบ 3G ประชาชนที่ตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ระบบ 3G ร้อยละ 31.1 ระบุว่าจะใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่าสาระความรู้หรือเพื่อประโยชน์ในการทำงาน ผลการสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าประโยชน์ของระบบ 3G ในช่วงเริ่มแรกของการเปิดใช้ จะยังคงมีอยู่อย่างจำกัดเท่านั้น แต่คาดว่าประโยชน์จะเพิ่มขึ้นในอนาคตหากประชาชนมีความคุ้นเคยและมีความรู้ในระบบ 3G มากขึ้น
สำหรับการปรับเปลี่ยนโทรศัพท์จากระบบ 2G มาเป็นระบบที่รองรับ 3G กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตั้งใจที่จะเปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์ยี่ห้อ Nokia คิดเป็นร้อยละ 56.2 รองลงมาเป็นยี่ห้อ iPhone ร้อยละ 17.4 และ Blackberry ร้อยละ 11.8 ส่วนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการซื้อโทรศัพท์ระบบ 3G อยู่ที่ 5,000-10,000 บาท (ร้อยละ 37.0) 10,001-15,001 บาท (ร้อยละ 26.9) และไม่เกิน 5,000 บาท (ร้อยละ 18.5) ส่วนค่าใช้บริการ 3G ต่อเดือนสูงสุดที่ประชาชนรับได้อยู่ที่ 401-600 บาทต่อเดือน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ไม่มีความรู้เลย มีความรู้ปานกลาง มีความรู้มาก
จะเปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี 21.9 58.9 19.2 100.0 คงไม่เปลี่ยนไปใช้ภายใน 5 ปี 40.4 51.5 8.1 100.0 จะไม่เปลี่ยนไปใช้เลย 67.8 26.6 5.6 100.0 รวม 37.7 48.5 13.8 100.0รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อศึกษารูปแบบการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึงความรู้ความเข้าใจและความพร้อมในการใช้ระบบโทรศัพท์มือถือระบบ 3G เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสังคมไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมส่วนรวมต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มพื้นที่เก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ที่ประชาชนมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆของประเทศและประชากรเป้าหมายที่มีโทรศัพท์มือถือ) โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,143 คน เป็นชายร้อยละ 50.0 และหญิงร้อยละ 50.0
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 6 - 8 สิงหาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 16 สิงหาคม 2553ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 571 50.0 หญิง 572 50.0 รวม 1,143 100.0 อายุ 18 ปี — 25 ปี 299 26.2 26 ปี — 35 ปี 335 29.3 36 ปี — 45 ปี 259 22.7 46 ปีขึ้นไป 250 21.8 รวม 1,143 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 713 62.4 ปริญญาตรี 393 34.3 สูงกว่าปริญญาตรี 37 3.3 รวม 1,143 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 77 6.8 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 429 37.5 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 295 25.8 รับจ้างทั่วไป 158 13.9 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 62 5.3 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน นักศึกษา 122 10.7 รวม 1,143 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--