กรุงเทพโพลล์: "ประเด็นเศรษฐกิจเดือนกันยายน 53”

ข่าวผลสำรวจ Monday September 13, 2010 09:25 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์ 67.1% เชื่อค่าเงินบาทไม่หลุดต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเสนอผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ดูแลเสถียรภาพ ของค่าเงินบาทและราคาสินค้า

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-10 ก.ย. ที่ผ่านมา พบว่า

นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 67.1 เชื่อว่าค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่สูงกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐโดย เฉลี่ย และให้เหตุผลของการแข็งค่าดังกล่าวว่าเป็นผลมาจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น/ตลาดตราสารหนี้(ร้อยละ 31.3) การส่งออกที่ ขยายตัวสูง/การเกินดุลการค้า (ร้อยละ 20.3) ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น/ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยและกลุ่มประเทศชั้นนำ(ร้อยละ 15.8)

ประเด็นเกี่ยวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 58.9 เชื่อว่านักลงทุนจะได้เห็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุดภายในปีนี้ ซึ่งระดับดัชนีดังกล่าว นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 43.8 เชื่อว่าเป็นระดับที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ขณะที่ร้อยละ 41.1 เชื่อว่าเป็นระดับที่สูงกว่าปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 250 บาทต่อวันของนายกรัฐมนตรีนั้น นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 64.4 สนับสนุนแนวคิดของนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่า ระดับราคาสินค้าในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนมีค่าครองชีพเพิ่มขึ้นซึ่งจะกระทบกับ ประชาชนผู้ใช้แรงงาน นอกจากนี้การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ด้านข้อเสนอนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยที่ต้องการให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่เข้ามา ดูแลมากที่สุดคือ ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทและเสถียรภาพของราคาสินค้า(ร้อยละ 58.6) ดูแลธนาคารพาณิชย์ให้เกื้อกูลต่อเศรษฐกิจและคนใน ประเทศ (ร้อยละ 22.7) และดูแลการเข้าถึงโอกาสทางการเงิน (โดยเฉพาะคนระดับรากหญ้าและ SMEs)(ร้อยละ 9.4)

(ดังรายละเอียดต่อไปนี้)

1. ความเห็นประเด็น “การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยในช่วงที่เหลือของปี”
ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่สูงกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐโดยเฉลี่ย           ร้อยละ          67.1
ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐโดยเฉลี่ย           ร้อยละ          27.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ                                                  ร้อยละ           5.5

2. ความเห็นประเด็น  “ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าในปัจจุบัน”
อันดับ   1          เงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น/ตลาดตราสารหนี้                                  ร้อยละ          31.3
อันดับ   2          การส่งออกที่ขยายตัวสูง/การเกินดุลการค้า                                          ร้อยละ          20.3
อันดับ   3          ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น/ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยและกลุ่มประเทศชั้นนำ(สหรัฐฯ, ยูโรโซน, ญี่ปุ่น)   ร้อยละ          15.8
อันดับ   4          เศรษฐกิจประเทศ G-3 ที่ยังแย่อยู่ (G-3 ได้แก่ประเทศ สหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  เยอรมนี)       ร้อยละ          14.2
อันดับ   5          พื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง/เศรษฐกิจไทยเติบโตสูง                                   ร้อยละ          11.4
อันดับ   6          การเมืองที่มีเสถีรภาพมากขึ้น                                                    ร้อยละ          3.4
อันดับ   7          การโจมตีค่าเงินบาท                                                          ร้อยละ          1.8
อันดับ   8          อื่นๆ คือ  นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของประเทศ G-3                              ร้อยละ          0.4
             ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ                                                           ร้อยละ          1.4

3.  ความเห็นประเด็น SET index ว่า  “ภายในปีนี้นักลงทุนจะได้เห็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุดหรือไม่”
นักลงทุนจะได้เห็น  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุด                ร้อยละ          58.9
นักลงทุนจะไม่ได้เห็น  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุด              ร้อยละ          27.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ                                        ร้อยละ          13.7

4.  ความเห็นประเด็น SET index ว่า  “ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 1,000 จุด  เป็นระดับที่สะท้อนเศรษฐกิจไทยอย่างไร”
ดัชนีฯ อยู่ในระดับที่สูงกว่าปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ          ร้อยละ          41.1
ดัชนีฯ อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ          ร้อยละ          4.1
ดัชนีฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ      ร้อยละ          43.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ                                          ร้อยละ          11.0

5.  ความเห็นเกี่ยวกับ  แนวคิดการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 250 บาทต่อวันของนายกรัฐมนตรี
เห็นด้วย                      ร้อยละ          64.4

เพราะ 1. ราคาสินค้าในปัจจุบันเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนมีค่าครองชีพเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบ การปรับเพิ่ม ค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

2. ค่าแรงขั้นต่ำเดิมอยู่ในระดับต่ำเกินไป(ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น) อีกทั้งที่ผ่านมาค่าแรงขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าราคา สินค้าที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ภาครัฐควรจะต้องมีมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

3. การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำถือเป็นการกระตุ้นการบริโภคอีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาอุปสงค์ภายในประเทศ ลดการพึ่ง พาตลาดต่างประเทศ อันจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยมีความสมดุลมากขึ้น

ไม่เห็นด้วย                    ร้อยละ          27.4

เพราะ 1. การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา ดังนั้นจึงควรแก้ด้วยการควบคุมภาวะเงินเฟ้อมากกว่า นอกจากนี้ ยังส่งผลให้แรงงานไร้ทักษะว่างงานมากขึ้น

2. จะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยที่ผลิตภาพการผลิตไม่ได้เพิ่มขึ้นตามส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย และจะกระทบต่อเนื่องมายังการลงทุน

3. ไม่ควรเพิ่มค่าแรงเท่ากับทุกพื้นที่เพราะอัตราเงินเฟ้อแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน อีกทั้งทักษะความรู้ของแรงงานแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน

ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ         ร้อยละ          8.2


6.  ข้อเสนอนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจของไทยที่ต้องการให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ (คุณประสาร  ไตรรัตน์วรกุล)
เข้ามาดูแลมากที่สุด (ในขอบข่ายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย)
1.  ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทและเสถียรภาพของราคาสินค้า  โดยการ

-การควบคุมเงินทุนไหลเข้าโดยเฉพาะเงินไหลเข้าเพื่อการเก็งกำไร (Hot money)

-เสนอให้ตั้งกองทุนความมั่นคงแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund)

-เสนอให้ดูแลอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสมต่อการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท และเสถียรภาพราคาสินค้า ร้อยละ 58.6 2. ดูแลธนาคารพาณิชย์ให้เกื้อกูลต่อเศรษฐกิจและคนในประเทศ โดยการ

-ดูแลส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากให้เหมาะสม

-ดูแลอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนบุคคลไม่ควรสูงเกินควรเช่นปัจจุบัน (ควรเสนอทางเลือกให้กับคนที่มีระเบียบวินัยในการชำระเงินกู้ด้วย อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า)

-ดูแลค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ให้เป็นธรรม

          -แก้ปัญหา NPL ในระบบสถาบันการเงิน                                                        ร้อยละ  22.7
3.  ดูแลการเข้าถึงโอกาสทางการเงิน (โดยเฉพาะคนระดับรากหญ้าและ SMEs) โดยการ

-การเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับคนรากหญ้าและSMEs

-จัดตั้งธนาคารชุมชนหรือแหล่งเงินทุนในชุมชน เพื่อลดการผูกขาดของระบบธนาคาร

          -อัตราดอกเบี้ยสำหรับคนกลุ่มนี้ควรอยู่ในระดับต่ำ                                                  ร้อยละ   9.4
4.  อื่นๆ  เช่น  การนำทุนสำรองไปใช้ประโยชน์   การยอมให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง  กระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนและภาคเอกชน ดำเนิน
นโยบายที่สอดคล้องกันระหว่างนโยบายการเงินกับนโยบายการคลัง  เป็นต้น                                        ร้อยละ   9.3

หมายเหตุ: มีนักเศรษฐศาสตร์ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ทั้งหมด 53 คน
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้  เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                   นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่าน ช่องทางสื่อมวลชน

2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการ คลัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัท หลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์คณะ เศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  6-10  กันยายน  2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   13  กันยายน 2553

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                         จำนวน         ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ                    31          42.5
           หน่วยงานภาคเอกชน                 30          41.1
           สถาบันการศึกษา                    12          16.4
          รวม                              73         100.0

เพศ
            ชาย                            37          50.7
            หญิง                            36          49.3
          รวม                              73         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี                     1           1.3
            26 ปี — 35 ปี                    34          46.6
            36 ปี — 45 ปี                    18          24.7
            46 ปีขึ้นไป                       20          27.4
          รวม                              73         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                        3           4.1
             ปริญญาโท                       55          75.4
             ปริญญาเอก                      15          20.5
          รวม                              73         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                       15          20.5
              6-10 ปี                       24          32.9
              11-15 ปี                       7           9.6
              16-20 ปี                       9          12.3
              ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป                18          24.7
          รวม                              73         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ