กรุงเทพโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไรกับนโยบายของ ผบ.ตร. คนใหม่

ข่าวผลสำรวจ Tuesday September 14, 2010 10:54 —กรุงเทพโพลล์

จากการที่ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา ได้ ประกาศนโยบายการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ตำรวจทุกคนยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติโดยเคร่งครัดเพื่อให้ตำรวจสามารถเป็นที่พึ่งของ ประชาชนได้อย่างแท้จริง ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับนโยบายของ ผบ. ตร. คนใหม่” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,134 คน เมื่อวันที่ 10 - 12 กันยายน ที่ ผ่านมา พบว่า

จากนโยบาย 5 ด้านที่ประกาศ มีเพียง 2 ด้านที่ประชาชนเชื่อว่าจะทำได้ คือ ตำรวจจะพิทักษ์รักษาสถาบัน

พระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดล่วงละเมิด ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติสูงสุด โดยจะปฏิบัติให้เห็นผลทันที (มีผู้เชื่อว่าทำได้ร้อยละ 70.1) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเดินหน้าอย่างมีทิศทางโดยยกระดับตำรวจให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน ปรับปรุง ทบทวน และพัฒนาระบบการ ทำงานโดยใช้ยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง โดยจะปฏิบัติให้เห็นผลภายในระยะเวลา 1-3 ปี (มีผู้เชื่อว่าทำได้ร้อยละ 61.2) ส่วนอีก 3 ด้านที่เชื่อ ว่าทำไม่ได้ได้แก่ ตำรวจทุกนายจะใส่ใจบริการประชาชนไม่ใส่เกียร์ว่าง เลิกรับส่วย สินบน และข่มขู่รีดไถ โดยจะปฏิบัติให้เห็นผลทันที (มีผู้เชื่อว่าทำ ไม่ได้ร้อยละ 81.6) รองลงมาคือ ตำรวจจะต้องสามารถควบคุมปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาสังคมทั่วไป ให้อยู่ในภาวะไม่กระทบต่อการ ดำรงชีวิตของประชาชน โดยจะปฏิบัติให้เห็นผลภายในระยะเวลา 1 ปี (มีผู้เชื่อว่าทำไม่ได้ร้อยละ 64.5) และ ตำรวจต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน อย่างแท้จริง โดยมีกิริยา วาจาสุภาพ ยิ้มแย้ม แจ่มใส เมื่อประชาชนมาขอความช่วยเหลือ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างข้าราชการตำรวจ ทุกระดับชั้นและเสริมสร้างสำนึกการทำประโยชน์ เพื่อส่วนรวม โดยปฏิบัติตนอยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกับประชาชนทุกคน โดยจะปฏิบัติให้เห็นผลภาย ในระยะเวลา 6 เดือน (มีผู้เชื่อว่าทำไม่ได้ร้อยละ 60.4)

ส่วนประเด็นเรื่องการยึดหลักความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ โดยใช้ระบบคุณธรรมและอาวุโสเพื่อแก้ปัญหาการซื้อขาย ตำแหน่งนั้นประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 56.2 เชื่อว่าทำไม่ได้

สำหรับความเห็นต่อภาพลักษณ์ของตำรวจไทยภายหลังการเข้ารับตำแหน่งของ ผบ.ตร. คนใหม่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.1 เห็นว่าภาพลักษณ์ตำรวจยังคงเหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 25.2 ที่เห็นว่าภาพลักษณ์ดีขึ้น และอีกร้อยละ 4.7 คิดว่าภาพลักษณ์แย่ลง

เมื่อถามถึงอุปสรรคในการพัฒนาการทำงานของตำรวจ ประชาชนมองว่าอุปสรรคสำคัญที่สุดอันดับแรกในการพัฒนาการทำงานของตำรวจ ไทยให้มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้คือ การไม่มีจิตสำนึกในหน้าที่ของตน (ร้อยละ 26.9) รองลงมาคือ ค่านิยมในแวดวงตำรวจ เช่น การใช้อำนาจข่มขู่ รีดไถ รับสินบน (ร้อยละ 22.5) และการถูกแทรกแซงจากภาคการเมือง (ร้อยละ 21.6)

สำหรับปัญหาที่ต้องการให้ตำรวจเน้นแก้ไขเป็นอันดับแรกในขณะนี้ได้แก่ ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 26.5) รองลงมาคือ ปัญหาความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (ร้อยละ 24.3) และปัญหาการสร้างสถานการณ์และความไม่สงบทางการเมือง (ร้อยละ 11.8)

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความคิดเห็นต่อการที่ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. คนใหม่ได้แถลงนโยบายการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 7 กันยายน ที่ผ่านมา ว่านโยบายดังกล่าวต่อไปนี้จะทำได้จริงตามที่แถลงหรือไม่
          แนวนโยบายด้านต่างๆ                                           เชื่อว่าทำได้    เชื่อว่าทำไม่ได้        รวม
                                                                       (ร้อยละ)       (ร้อยละ)       (ร้อยละ)
ตำรวจจะพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดล่วงละเมิด
ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติสูงสุด โดยจะปฏิบัติให้เห็นผลทันที                    70.1          29.9         100.0

สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเดินหน้าอย่างมีทิศทางโดยยกระดับตำรวจให้เป็นที่ยอมรับ
ของประชาชน ปรับปรุง ทบทวน และพัฒนาระบบการทำงานโดยใช้ ยุทธศาสตร์
นำการเปลี่ยนแปลง โดยจะปฏิบัติให้เห็นผลภายในระยะเวลา 1-3 ปี                       61.2          38.8         100.0

ตำรวจต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีกิริยา วาจาสุภาพ ยิ้มแย้ม แจ่มใส
เมื่อประชาชนมาขอความช่วยเหลือ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างข้าราชการตำรวจ
ทุกระดับชั้นและเสริมสร้างสำนึกการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
โดยปฏิบัติตนอยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกับประชาชนทุกคน โดยจะปฏิบัติให้เห็นผล
ภายในระยะเวลา 6 เดือน                                                     39.6          60.4         100.0

ตำรวจจะต้องสามารถควบคุมปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาสังคมทั่วไป
ให้อยู่ในภาวะไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน โดยจะปฏิบัติให้เห็นผล
ภายในระยะเวลา 1 ปี                                                        35.5          64.5         100.0

ตำรวจทุกนายจะใส่ใจบริการประชาชนไม่ใส่เกียร์ว่าง เลิกรับส่วย สินบน และข่มขู่รีดไถ
โดยจะปฏิบัติให้เห็นผลทันที                                                      18.4          81.6         100.0

หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

2. ความคิดเห็นต่อการยึดหลักความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ โดยใช้ระบบคุณธรรมและอาวุโส พบว่า
          คิดว่าทำได้            ร้อยละ          43.8
          คิดว่าทำไม่ได้          ร้อยละ          56.2

3. ความเห็นต่อภาพลักษณ์ของตำรวจไทยภายหลังการเข้ารับตำแหน่งของ ผบ.ตร. คนใหม่ พบว่า
          ดีขึ้น                 ร้อยละ          25.2
          เหมือนเดิม            ร้อยละ          70.1
          แย่ลง                ร้อยละ           4.7

4.  อุปสรรคสำคัญที่สุดในการพัฒนาการทำงานของตำรวจไทยให้มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นที่พึงของประชาชนได้ คือ
          การไม่มีจิตสำนึกในหน้าที่ของตน                                        ร้อยละ    26.9
          ค่านิยมในแวดวงตำรวจ เช่น การใช้อำนาจข่มขู่ รีดไถ รับสินบน                ร้อยละ    22.5
          การถูกแทรกแซงจากภาคการเมือง                                      ร้อยละ    21.6
          ความไม่เป็นธรรมในการปรับชั้นยศ และความไม่เป็นธรรมในหน่วยงานตำรวจ       ร้อยละ    11.3
          การขาดสวัสดิการ ได้เงินเดือนน้อย เบี้ยเลี้ยงน้อย                          ร้อยละ     9.9
          การขาดการอบรม พัฒนา เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ             ร้อยละ     3.3
          การขาดเครื่องมือที่ทันสมัยเหมาะสมกับงาน                                ร้อยละ     2.3
          การขาดการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐอย่างเพียงพอ                       ร้อยละ     2.2

5. ปัญหาที่ต้องการให้ตำรวจเน้นแก้ไขเป็นอันดับแรกในขณะนี้ ได้แก่
          ปัญหายาเสพติด                                                    ร้อยละ    26.5
          ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน                         ร้อยละ    24.3
          ปัญหาการสร้างสถานการณ์และความไม่สงบทางการเมือง                      ร้อยละ    11.8
          ปัญหานักเรียนตีกัน                                                  ร้อยละ     9.4
          ปัญหาภายในแวดวงตำรวจด้วยกันเอง                                    ร้อยละ     8.7
          ปัญหาการจราจร                                                   ร้อยละ     8.3
          ปัญหาผู้มีอิทธิพลในพื้นที่                                               ร้อยละ     7.0
          อื่นๆ อาทิ ปัญหาการพนัน ปัญหาการคอร์รัปชัน                              ร้อยละ     4.0

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 27 เขต จาก 50 เขต ทั้ง เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา คันนายาว จอมทอง ดอนเมือง ดุสิต ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน ปทุมวัน ป้อมปราบ พญาไท พระนคร มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง สาทร สายไหม หนองจอก และหลักสี่ และจังหวัดในเขตปริมณฑลรวม 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,134 คน เป็นชายร้อยละ 50.2 และหญิงร้อยละ 49.8

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :   10 - 12  กันยายน 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :    14  กันยายน 2553

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                           จำนวน         ร้อยละ
เพศ
                       ชาย                   569          50.2
                       หญิง                   565          49.8
          รวม                              1,134         100.0

อายุ
                      18 - 25 ปี              290          25.6
                      26 - 35 ปี              300          26.4
                      36 - 45 ปี              263          23.2
                      46 ปีขึ้นไป               281          24.8
          รวม                              1,134         100.0

การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี                  713          62.9
               ปริญญาตรี                       363          32.0
               สูงกว่าปริญญาตรี                   45           4.0
              ไม่ระบุการศึกษา                    13           1.1
          รวม                              1,134         100.0

อาชีพ
     ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ               111           9.8
     พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                287          25.3
     ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                 355          31.3
     รับจ้างทั่วไป                               143          12.6
     พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                     94           8.3
     อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น    142          12.5
     ไม่ระบุอาชีพ                                 2           0.2
          รวม                              1,134         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ