ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นเยาวชนอายุ 15 -25 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสวันเยาวชน วันที่ 20 กันยายนที่จะถึงนี้ พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่(ร้อยละ 62.1) ให้ความสนใจต่อเหตุการณ์ทางการเมืองค่อนข้างน้อยถึงไม่สนใจเลย แม้ส่วนใหญ่(ร้อยละ 79.9) จะยังเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคนในสังคม
ทั้งนี้เยาวชนเห็นว่าสภาพการเมืองไทยในปัจจุบัน มีแต่ความขัดแย้งและจ้องจับผิดกัน(ร้อยละ 47.6) รองลงมาคือ วุ่นวาย น่าปวดหัว(ร้อยละ 26.7) ไม่เป็นประชาธิปไตย(ร้อยละ 11.5) และมีแต่ความรุนแรง(ร้อยละ 6.5) โดยมีมุมมองต่อนักการเมืองไทยว่า คำนึงถึงแต่เรื่องผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง(ร้อยละ 44.0) รองลงมาคือ ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ(ร้อยละ 16.2) คอร์รัปชันโกงกิน(ร้อยละ 12.2) และดีแต่พูด(ร้อยละ 10.8)
สำหรับสิ่งที่อยากฝากบอกนักการเมืองมากที่สุดคือ ให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติให้มากๆ(ร้อยละ 28.9) รองลงมาคือให้ตั้งใจทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงกิน(ร้อยละ 27.1) และให้เลิกทะเลาะกัน บ้านเมืองจะได้สงบ(ร้อยละ 17.7)
เมื่อถามว่าในอนาคตอยากเป็นนักการเมืองหรือไม่ เยาวชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 90.6 ระบุว่า ไม่อยากเป็น โดยให้เหตุผลว่า นักการเมืองมีชื่อเสียงที่ไม่ดี มีแต่คนเกลียด ไม่โปร่งใส กลัวไม่ปลอดภัย และต้องรับผิดชอบคนหมู่มาก เป็นต้น โดยมีเพียงร้อยละ 9.4 ที่ระบุว่าอยากเป็นนักการเมือง โดยให้เหตุผลว่า จะพัฒนาประเทศให้ดีกว่านี้ อยากเป็นผู้นำที่ดีนำพาประเทศให้พ้นวิกฤติ จะทำให้การคอร์รัปชันหมดไปจากเมืองไทย และอยากรู้ว่าแค่ทำสิ่งดีๆ ให้ประชาชนมันยากตรงไหน เป็นต้น
สำหรับโครงการของรัฐบาลที่เยาวชนส่วนใหญ่ระบุว่าได้รับประโยชน์โดยตรงมากที่สุดคือ โครงการเรียนฟรี 15 ปี(ร้อยละ 46.3) รองลงมาคือ โครงการกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา(ร้อยละ 7.3) และโครงการรถเมล์ฟรี(ร้อยละ 5.2)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
แฝงความรุนแรงไว้ภายใน ฯลฯ
- มีความรู้ความสามารถเหมาะกับการเป็นตัวแทนของประชาชน ร้อยละ 4.6
- อื่นๆ อาทิ ไม่ดีพอ ไม่กล้าตัดสินใจ ดีและเลวปะปนกัน ฯลฯ ร้อยละ 0.8
- ให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติให้มากๆ ร้อยละ 28.9
โดยให้เหตุผลว่า (เป็นคำถามปลายเปิดให้เยาวชนระบุเอง) นักการเมืองมีชื่อเสียงที่ไม่ดี มีแต่คนเกลียด ไม่โปร่งใส กลัวไม่ปลอดภัย ต้องรับผิดชอบคนหมู่มาก ฯลฯ
- อยากเป็น ร้อยละ 9.4โดยให้เหตุว่า (เป็นคำถามปลายเปิดให้เยาวชนระบุเอง) จะพัฒนาประเทศให้ดีกว่านี้ อยากเป็นผู้นำที่ดีนำพาประเทศให้พ้นวิกฤติ จะทำให้การคอร์รัปชันหมดไปจากเมืองไทย อยากรู้ว่าแค่ทำสิ่งดีๆ ให้ประชาชนมันยากตรงไหน ฯลฯ
- โครงการกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ร้อยละ 7.3
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากเยาวชนอายุ 15 - 25 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน จำนวน 38 เขต จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,159 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.7 และเพศหญิงร้อยละ 52.3
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 10 - 12 กันยาน 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 16 กันยายน 2553ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 553 47.7 หญิง 606 52.3 รวม 1,159 100.0 อายุ 15 ปี - 18 ปี 380 32.8 19 ปี — 22 ปี 418 36.1 23 ปี — 25 ปี 361 31.1 รวม 1,159 100.0 การศึกษา มัธยมศึกษา / ปวช. 356 30.7 อนุปริญญา / ปวส. 57 4.9 ปริญญาตรี 592 51.2 สูงกว่าปริญญาตรี 31 2.6 จบการศึกษาแล้ว 123 10.6 รวม 1,159 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--