มิติใหม่และโอกาสของการเลือกใช้เงินหยวนเพื่อการค้า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 4, 2012 13:23 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

นางสาวพชรนันท์ เกษมชัยนันท์

เจ้าหน้าที่ลงทุนอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ในปัจจุบัน ทุกท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าประเทศจีนมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกมาก จีนมีความสำคัญและมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เศรษฐกิจจีนขยายตัวในระดับสูง (สูงถึง 8.1% ต่อปี ในไตรมาส 1 ปี 2555) ประกอบกับทางการจีนมีแนวการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างเด่นชัดเพื่อให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยเร่งเพิ่มบทบาทและสนับสนุนความสัมพันธ์ทางการค้ากับนานาประเทศ โดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศที่เป็นเครือข่ายทางการผลิตที่สาคัญอย่างกลุ่มประเทศอาเซียนรวมถึงประเทศไทย

จากความสำคัญของประเทศจีนในสายตาประชาคมโลกข้างต้น ประกอบกับจีนเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่สองของประเทศไทย ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศมีการลงทุนข้ามประเทศระหว่างกันในแต่ละปีเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งการลงทุนในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนที่รวมถึงธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย

คำถามคือ ไทยมีความพร้อมรับมือกับวิวัฒนาการสาคัญนี้มากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านของเราหลายๆ ประเทศ จึงต้องย้อนกลับมาถามว่า ไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง แล้วต้องทำอะไรบ้าง คำถามแรกว่าไทยจะได้ประโยชน์อะไรกับการหันมาใช้เงินสกุลหยวนแลกโดยตรงกับเงินบาท โดยไม่ผ่านเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ประการแรกที่ดิฉันเห็นได้ชัด คือ ผู้ประกอบการไทยมีทางเลือกในการลดความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนการที่ต้องไปอิงโดยตรงกับเงินสกุลดอลลาร์สรอ. สกุลยูโร สกุลเยน เป็นต้น ซึ่งท่านก็ทราบดีแล้วว่าค่าเงินสกุลหลักๆ ดังกล่าวผันผวนมากจากผลของจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ มาจนถึงวิกฤติหนี้ของยุโรป กรีซ ซึ่งนับวันจะยิ่งมีการลุกลามออกไปอีก ขณะที่เงินหยวนมีความผันผวนต่ามากโดยเปรียบเทียบกับทุกสกุล (ในรอบปีที่ผ่านมาเงินหยวนเทียบกับ USD มีความผันผวนเพียงร้อยละ 2.08 ขณะที่เงินบาทเทียบกับ USD มีมากกว่า 2 เท่าคือร้อยละ 5.50) ซึ่งก็เป็นอานิสงค์จากที่ทางการจีนดูแลอยู่เพื่อให้คนในประเทศค่อยๆ เคยชินกับระบบกลไกตลาดในอนาคต ประการที่สอง ดิฉันเห็นว่า หากธุรกิจเลือกใช้เงินหยวนชำระค่าสินค้ากับคนจีน น่าจะช่วงลดต้นทุนได้ระดับหนึ่งในแง่ผู้ประกอบการจีนไม่ต้องเสีย spread ในการทาธุรกรรมผ่านสกุลเงินที่สาม และยังเป็นจังหวะดีที่ทางการจีนให้การสนับสนุนการใช้เงินหยวนในภูมิภาคอย่างจริงจัง และดำเนินการด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้นว่า ได้ทยอยผ่อนคลายกฎระเบียบ ให้เงินหยวนสามารถเปลี่ยนมือได้เสรีมากขึ้น ทั้งด้านเงินทุนไหลเข้าและเงินทุนไหลออกจากจีน และการสนับสนุนให้เกิดศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเงินหยวนภายนอกประเทศ ซึ่งเริ่มจากศูนย์กลางในฮ่องกง ในมาเลเซีย ในสิงคโปร์ และปัจจุบันกำลังจะขยายไปยังยุโรป ผ่านศูนย์กลางการเงินของโลกที่มหานครลอนดอน

ทั้งนี้ ขอเรียนข้อเท็จจริงให้ทราบว่าหนทางจะให้เงินหยวนเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายย่อมต้องมีอุปสรรคอยู่พอสมควร เป็นต้นว่า ข้อจำกัดทางด้านความเข้าใจในกฎระเบียบของทางการจีนที่ซับซ้อน เข้าใจยาก โดยเฉพาะเมื่อต้องแปลจากภาษาจีนที่อาจได้ความหมายไม่ครบถ้วน และปัญหาว่าจะมีเงินหยวนหมุนเวียนในระบบเพียงพอและมีประสิทธิภาพเพียงใด ทำให้ต้นทุนในการทำธุรกรรมยังแพงเกินไป ไม่คุ้มกับการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยใช้เงินดอลลาร์ สรอ.อย่างในปัจจุบัน ซึ่งส่วนนี้ฟ้องจากตัวเลขที่ผู้ประกอบการยังใช้เงินหยวนในการชำระด้านการค้าในระดับต่ำ พบว่าปี 2554 มูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปจีนสูงถึงจานวน 27,402 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 11.98 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยขณะที่มูลค่าการนำเข้ามากถึง 30,582 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 13.38 ของยอดนำเข้าสินค้าจากจีน แต่กลับพบว่าใช้เงินหยวนเพื่อชำระค่าสินค้าระหว่างกันโดยเฉลี่ยเพียง 0.2% ของยอดการชำระเงินระหว่างกันโดยรวมเท่านั้น

อย่างไรก็ดี ปัญหาเหล่านี้ทางการของไทยและจีนทราบเป็นอย่างดี จึงเกิดความร่วมมือกันในระดับหลายระดับ โดยในแง่ผู้รับผิดชอบด้านการชำระเงิน ธปท.ร่วมมือกับธนาคารกลางของจีนได้ตกลงร่วมกันลงนามในสัญญากู้ยืมระดับทวิภาคี Currency Swap Arrangement เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อให้มั่นใจว่า ธปท.สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินหยวนอย่างเพียงพอรองรับความต้องการชาระเงินหยวนของผู้ประกอบการไทยเป็นต้น ส่วนในเรื่องอุปสรรคด้านระเบียบที่เป็นภาษาจีนและการแปลความออกมาอาจผิดเพี้ยนไป ไม่ครบถ้วน จึงมีความพยายามร่วมกันศึกษาระเบียบและจัดทำคู่มือการทำธุรกรรมเงินหยวนเป็นฉบับภาษาไทย พร้อมการเร่งศึกษาและผลักดันแนวทางการทำธุรกรรมเงินหยวน เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการทาธุรกรรมโดยการดาเนินการดังกล่าวคาดว่าจะเป็นรูปธรรมในปีนี้ นอกจากนี้ ทราบมาว่าเร็วๆ นี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสำนักงานตัวแทนที่ กรุงปักกิ่ง นอกจากจะเป็นช่องทางประสานแนวนโยบายระหว่างธนาคารกลางของทั้ง 2 ประเทศในอนาคตแล้ว ยังใช้เป็นหน้าต่างเรียนรู้ สร้างความเข้าใจกับเศษฐกิจและการลงทุนในประเทศจีนด้วย

ท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความชิ้นนี้จะทำให้ผู้อ่านเห็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะใช้เงินหยวนในการทำธุรกรรมมากขึ้น รวมทั้งเตรียมพร้อมปรับตัวในทันกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มี

แนวโน้มว่าประเทศจีนจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอาจกลายเป็นศูนย์กลางของความมั่งคั่งและเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกแซงหน้ากลุ่มประเทศตะวันตกในอีกไม่นาน

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 3 - 5 เมษายน 2555

          ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ