การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล: ไทยได้หรือเสีย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 24, 2012 14:24 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

นายศรานุวัตร ยีแก้ว นางสาวจิดาภา ช่วยพันธุ์

สิงหาคม 2555

ในปัจจุบันการแข่งขันทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ทำให้เกิดกระแสการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค เพื่อเพิ่มอานาจการต่อรองในเวทีโลก รวมถึงประชาคมอาเซียน ที่มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) มาตั้งแต่ปี 2535 และจะมีการรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ภายในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลให้สินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน และเงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกประชาคมอาเซียน ได้เล็งเห็นถึงการลงทุนที่จะไหลเข้ามาในภูมิภาค เพื่อใช้อาเซียนเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการในอนาคต ทำให้มาตรการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT) ถูกหยิบขึ้นมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศและดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI)

การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นมาตรการหนึ่งที่จะดึงดูด นักลงทุนที่สนใจเข้าไปแสวงหาผลกาไรจากการลงทุนในต่างประเทศ มีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตและการลงทุนออกจากประเทศที่มีการจัด เก็บภาษีในอัตราที่สูงไปสู่ประเทศที่มีอัตราต่ากว่า ซึ่งรัฐบาลของหลายประเทศเริ่มมีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในประเทศของตนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบยุโรปที่ถือเป็นรัฐสวัสดิการและมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงนั้น ต่างก็หันมาแข่งขันกันลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลง แม้กระทั่งประเทศในกลุ่มสมาชิกประชาคมอาเซียนเอง ก็ได้เริ่มทยอยปรับลดมาตั้งแต่ปี 2548

สำหรับประเทศไทยได้มีการปรับลดอัตราภาษีลงเป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี 2555 หลังจากที่ใช้อัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 มาตั้งแต่ปี 2535 โดยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและรองรับการเข้าสู่ AEC ในปี 2558 โดยปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี รอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้จัดเก็บในอัตราร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิ และให้ลดลงเหลืออัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน จะเห็นว่าไทยมีอัตราภาษีต่ากว่า ทุกประเทศ หากอัตราภาษีลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 20 ในปี 2556 ยกเว้นประเทศสิงคโปร์ ที่มีการจัดเก็บภาษี เงินได้นิติบุคคลเพียงร้อยละ 17 ตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งเป็นอัตราที่น้อยที่สุดในภูมิภาคนี้

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ปี 2543-2555

อัตราร้อยละ

ประเทศ                         2543  2548  2553  2554  2555
อัตราเฉลี่ยของโลก                  29   27.4    25    23   n/a
สิงคโปร์                          26     20    17    17    17
กัมพูชา                          n/a     20    20    20    20
บรูไน                           n/a    n/a  23.5    22    22
ไทย                             30     30    30    30    23*
มาเลเซีย                         28     28    25    25    25
อินโดนีเซีย                        30     30    25    25    25
เวียดนาม (ในประเทศ/นอกประเทศ) 45/25     28    25    25    25
ลาว (ในประเทศ/นอกประเทศ)       n/a  35/20 35/20 35/20    28
ฟิลิปปินส์                          32     32    30    30    30
พม่า                            n/a    n/a   n/a    30    30
ที่มา : KPMG และ www.intergro-inc.com
*อัตราภาษีร้อยละ 23 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2555 และจะเริ่มใช้อัตราภาษีร้อยละ 20 ในปี 2556

ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวนี้ มีทั้งผลดีและผลเสียต่อประเทศไทย โดยรัฐบาลประเมินว่าการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2555 ลดลงประมาณ 52,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นของการดำเนินมาตรการนี้ แต่ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจในระยะยาวนั้นเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงมากกว่า เพราะอัตราการจัดเก็บภาษีที่ลดลงจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ และเป็นการเพิ่มความน่าสนใจ ของประเทศไทย ให้กับนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอนาคตเนื่องจากได้รับผลกำไรมากขึ้น การขยายการลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศนี้จะทาให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีโดยรวมของรัฐบาลมากขึ้น และจะเกิดการจ้างงานใหม่ภายในประเทศ เมื่อประชาชนมีกำลังจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รายได้จากภาษีก็จะเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย เช่น ในปี 2553 ธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่าประเทศสิงคโปร์มีมูลค่าการไหลเข้าของ FDI สูงถึง 38.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือร้อยละ 17 ซึ่งมากกว่าไทยที่มีมูลค่าเพียง 6.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ถึง 6 เท่า พร้อมกันนี้ เมื่อพิจารณาถึงลำดับความง่ายต่อการทาธุรกิจในอาเซียน จะพบว่าสิงคโปร์อยู่อันดับหนึ่งและประเทศไทยอยู่ที่อันดับสอง แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมการจัดเก็บภาษีอากร (ซึ่งรวมภาษีทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล) ประเทศไทยจะลดมาอยู่ลำดับห้าซึ่งเป็นผลมาจากระบบภาษีของไทยที่มีความซับซ้อน เช่น นอกจากนักลงทุนจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว หากมีการจ่ายเงินปันผล นักลงทุนก็จะโดนหักภาษีเงินปันผลด้วย ซึ่งแตกต่างจากประเทศสิงคโปร์ ที่มีการเรียกเก็บภาษีจากรายได้ โดยที่ไม่มีการเก็บภาษีจากเงินปันผลที่จ่ายโดยนิติบุคคล ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้นับเป็นอุปสรรคหนึ่งสำหรับนักลงทุนจากต่างชาติในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

การจัดลำดับการเข้าทาธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ประเทศ ความง่ายต่อการทาธุรกิจ ภาษีอากร*

  1 สิงคโปร์           1            1
  2 ไทย              2            5
  3 มาเลเซีย          3            3
  4 บรูไน             4            2
  5 เวียดนาม          5            9
  6 อินโดนีเซีย         6            7
  7 ฟิลิปปินส์           7            8
  8 กัมพูชา            8            4
  9 ลาว              9            6
  10 พม่า           n/a          n/a
ที่มา : ธนาคารโลก (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2554)
*รวมภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินประกันสังคม ภาษีค่าจ้างแรงงาน ภาษีทรัพย์สิน
ภาษีการค้า และภาษีอื่น ๆ

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าผลดีที่ประเทศไทยจะได้รับจากมาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ภาคการผลิตอย่างแท้จริง ทาให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC พร้อมกันนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขความซับซ้อนของระบบภาษีในภาพรวมสำหรับนักลงทุนในประเทศไทย เพื่อลดความยุ่งยากและเป็นการสร้างมาตรฐานในระยะยาว โดยพิจารณาการจัดเก็บภาษีจากรายได้นิติบุคคลเพียงอย่างเดียว ซึ่งการปฏิรูประบบภาษีนี้ จะทำให้มาตรการภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีแนวโน้มจะลดลงในอนาคต อาจส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันภายในภูมิภาค ดังนั้น การมีกรอบความร่วมมือด้านอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลระหว่างกันของประเทศสมาชิก จะทาให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ