รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 1/2556

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 23, 2013 14:00 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ)

ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 9 มกราคม 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทย

เผยแพร่ ณ วันที่ 23 มกราคม 2556

คณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล (ประธาน) นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ (รองประธาน) นางทองอุไร ลิ้มปิติ นายอาพน กิตติอาพน นายศิริ การเจริญดี นายณรงค์ชัย อัครเศรณี และนายอัศวิน คงสิริ

ภาวะตลาดการเงิน

ความเชื่อมั่นในตลาดการเงินโลกปรับดีขึ้นหลังสหรัฐฯสามารถหาข้อยุติเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาฐานะการคลัง (Fiscal Cliff) ได้ในระดับหนึ่ง ส่งผลให้เงินสกุลหลักส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ยกเว้น เงินเยนที่อ่อนค่าลงจากการคาดการณ์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาลใหม่ ขณะที่เงินทุนไหลเข้าในภูมิภาคกลับมาเร่งขึ้นจากเงินลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น สาหรับเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วหลังจากได้รับปัจจัยบวกตามการเจรจา Fiscal Cliff แต่โดยรวม ยังสอดคล้องกับทิศทางค่าเงินของภูมิภาค

อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทรงตัวใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นทุกระยะหลังการประชุมครั้งก่อน สะท้อนมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและ การคาดการณ์ของตลาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้

ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ

เศรษฐกิจโลกในภาพรวมฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีสัญญาณที่ดีขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการจ้างงานและภาคที่อยู่อาศัยที่ค่อยๆปรับดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงภาคธุรกิจมีความพร้อมที่จะกลับมาลงทุนหลังนโยบายการคลังมีความชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนในการปรับเพิ่มเพดานหนี้และการปรับลดรายจ่าย (Sequestration) ซึ่งต้องเจรจาให้แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ยังคงเป็นความเสี่ยงสาคัญที่อาจกระทบความเชื่อมั่นในระยะสั้น สาหรับ เศรษฐกิจจีนปรับดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีอุปสงค์ภายในประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนที่สาคัญ เช่นเดียวกับ เศรษฐกิจเอเชียส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม กรรมการบางท่านเห็นว่าปัญหาข้อพิพาทเขตแดนระหว่างจีนและญี่ปุ่นยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจภูมิภาคที่ต้องติดตามต่อไป ในอีกด้านหนึ่ง เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโร มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง แต่คาดว่าจะค่อยๆฟื้นตัวในปีนี้ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกหลักโดยเฉพาะเยอรมนี ส่วนหนึ่งจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในกรีซซึ่งช่วยลดความเสี่ยงได้มาก สาหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอทั้งจากการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่คาดว่าจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้จากัด

เสถียรภาพด้านราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี แรงกดดันเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ธนาคารกลางส่วนใหญ่จึงยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังผ่อนคลายลงในช่วงก่อนหน้า เพื่อรอประเมินความชัดเจนของพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะต่อไป

ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

ประมาณการเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวดีกว่าที่ประเมินในการประชุมครั้งก่อน จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวสูงกว่าคาด ทั้งการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน มองไปข้างหน้า การใช้สิทธิในโครงการรถคันแรกและความสามารถในการเร่งผลิตของบริษัทผลิตรถยนต์ที่มากเกินคาดและ การปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2556 เป็นปัจจัยสนับสนุนอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นมาจากการประชุมครั้งก่อน ขณะที่การส่งออกคาดว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในสินค้าและตลาดส่วนใหญ่ สอดคล้องกับแนวโน้มการส่งออกของประเทศอื่นในภูมิภาค สาหรับภาคบริการและการท่องเที่ยวขยายตัวดีตามจานวนนักท่องเที่ยวที่สูงมากในช่วงก่อนหน้า

ในภาพรวมผลกระทบจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำรอบแรกต่อ profit margin ของธุรกิจ การจ้างงานและระดับราคามีไม่มาก เหตุผลหลักเนื่องจาก 1) ธุรกิจมีการปรับตัว เช่น ใช้เครื่องจักรมากขึ้น 2) ตลาดแรงงานตึงตัวสูงและมีความยืดหยุ่นในการเคลื่อนย้ายแรงงาน และ 3) การแข่งขันในประเทศที่สูงทาให้การปรับขึ้นราคาสินค้าทาได้ยาก ซึ่งท่าให้คาดว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบสองจะส่งผลกระทบไม่มากเช่นกัน อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ จะติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะข้างหน้า

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าแรงส่งของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ที่ดีกว่าคาด และปัจจัยสนับสนุน อุปสงค์ในประเทศที่มีมากขึ้นในระยะข้างหน้า ส่งผลให้การคาดการณ์เศรษฐกิจส่าหรับทั้งปี 2555 และ ปี 2556 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากการประชุมครั้งก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 4.9 ต่อปี ตามล่าดับ โดยการส่งออกจะทยอยกลับมามีบทบาทต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ควบคู่ไปกับอุปสงค์ในประเทศ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ค่อยๆปรับดีขึ้น สาหรับความเสี่ยงด้านต่าต่อ การขยายตัวทางเศรษฐกิจปรับลดลงชัดเจนจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ลดลง แต่ยังคงมากกว่าความเสี่ยงด้านสูง ในส่วนของแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะต่อไป ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับการประชุม ครั้งก่อน

การพิจารณานโยบายการเงินที่เหมาะสม

คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ตลอดปีที่ผ่านมานโยบายการเงินที่ผ่อนปรนมีส่วนสาคัญในการสนับสนุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากอุทกภัยและรองรับผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอได้อย่างน่าพอใจ ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังคงมีความไม่แน่นอน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยัง ทรงตัวอยู่ในกรอบเป้าหมาย นโยบายการเงินที่ผ่อนปรนยังเป็นนโยบายที่เหมาะสมในการสนับสนุนให้ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการฯ ได้หารือเกี่ยวกับทางเลือกที่เหมาะสมในการดาเนินนโยบายการเงิน และมีข้อสรุปดังนี้

(1) เศรษฐกิจโลกในภาพรวมมีเสถียรภาพมากขึ้น จากเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีนที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจน และเศรษฐกิจเอเชียที่ขยายตัวดีจากแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศ แม้คาดว่าปัญหาหนี้สาธารณะ ในกลุ่มประเทศยูโรและปัญหาฐานะการคลังของสหรัฐฯจะยังคงเป็นความเสี่ยงสาคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป แต่แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มคืบหน้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยง Tail risk ของเศรษฐกิจโลกลดลงชัดเจน

(2) เศรษฐกิจไทยขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน กอปรกับมีแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ซึ่งจะทาให้แรงส่งของเศรษฐกิจในประเทศเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยถึงกลาง ปี 2556 ขณะที่การส่งออกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในเกือบทุกหมวดสินค้าและตลาด

(3) ภาวะการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับผ่อนปรนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่ยังเหลืออยู่ สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ยังติดลบเล็กน้อย และสินเชื่อภาคเอกชนที่ ยังขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง ขณะที่การเร่งตัวของสินเชื่อภาคเอกชนโดยเฉพาะสินเชื่อภาคครัวเรือน บางประเภทอาจก่อให้เกิดการเร่งตัวของหนี้ครัวเรือน และนาไปสู่การสะสมความไม่สมดุลในระบบการเงินได้

คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี

ทั้งนี้ คณะกรรมการบางท่านให้ข้อสังเกตว่า แม้ระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศ แต่จาเป็นต้องระมัดระวังและติดตามประเด็นความเสี่ยงที่อาจกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศในระยะข้างหน้าด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเร่งตัวของสินเชื่อและหนี้ภาคครัวเรือน ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในภาวะที่ประเทศหลักยังดาเนินนโยบายการเงินผ่อนปรนต่อเนื่อง และระดับหนี้สาธารณะของภาครัฐที่แม้ปัจจุบันยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังแต่ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

สายนโยบายการเงิน

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ