นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม ในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างน่าพอใจ โดยเฉพาะใน ไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยด้านอุปทานเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคเกษตร และด้าน อุปสงค์จากภาคการส่งออกที่เร่งตัวขึ้น ประกอบกับการนำเข้าชะลอตัว อย่างไรก็ดี มีสัญญาณว่าอุปสงค์ ภาคเอกชน ได้แก่ การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
2. เสถียรภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นโดยรวม ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นมากจากที่ขาดดุล สูงในช่วงครึ่งแรกของปีเป็นเกินดุลต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปใน เดือนพฤศจิกายนชะลอลงจากเดือนตุลาคมที่ร้อยละ 6.2มาอยู่ที่ร้อยละ5.9 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวใน เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 2.4
3. คณะกรรมการฯ เห็นว่า เศรษฐกิจไทยมีแรงขับเคลื่อนที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ส่วน ความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อ แม้จะปรับลดลงแต่ในระบบเศรษฐกิจยังคงมีแรงกดดันด้านราคาอยู่ และอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงติดลบ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ในทิศทางขาขึ้น ต่อไป แต่ความจำเป็นที่ต้องปรับอย่างรวดเร็วมีน้อยลง คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 3.75 เป็นร้อยละ 4.00 ต่อปี โดยมีผลทันที
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณจิตตาภา วารุณประภา โทร 0 2356 7872 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างน่าพอใจ โดยเฉพาะใน ไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยด้านอุปทานเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคเกษตร และด้าน อุปสงค์จากภาคการส่งออกที่เร่งตัวขึ้น ประกอบกับการนำเข้าชะลอตัว อย่างไรก็ดี มีสัญญาณว่าอุปสงค์ ภาคเอกชน ได้แก่ การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
2. เสถียรภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นโดยรวม ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นมากจากที่ขาดดุล สูงในช่วงครึ่งแรกของปีเป็นเกินดุลต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปใน เดือนพฤศจิกายนชะลอลงจากเดือนตุลาคมที่ร้อยละ 6.2มาอยู่ที่ร้อยละ5.9 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวใน เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 2.4
3. คณะกรรมการฯ เห็นว่า เศรษฐกิจไทยมีแรงขับเคลื่อนที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ส่วน ความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อ แม้จะปรับลดลงแต่ในระบบเศรษฐกิจยังคงมีแรงกดดันด้านราคาอยู่ และอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงติดลบ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ในทิศทางขาขึ้น ต่อไป แต่ความจำเป็นที่ต้องปรับอย่างรวดเร็วมีน้อยลง คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 3.75 เป็นร้อยละ 4.00 ต่อปี โดยมีผลทันที
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณจิตตาภา วารุณประภา โทร 0 2356 7872 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--