สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนเมษายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 28, 2008 16:22 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนเมษายน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของปาล์มน้ำมัน ขณะเดียวกันการผลิต ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น และการท่องเที่ยวขยายตัว ขณะที่ประมงลดลงต่อเนื่อง
ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้น ส่วนการลงทุนหดตัว สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวสูงขึ้นโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 สูงสุดในรอบ สองปี ทางด้านสินเชื่อและเงินฝากขยายตัว
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนเมษายน ปี 2551 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกรเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 36.7 จากผลผลิต พืชหลักที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 โดยผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 68.3 เนื่องจากสภาพ อากาศเอื้ออำนวย ขณะที่ผลผลิตยางพาราลดลงร้อยละ 2.6 จากการที่มีฝนตกหนักช่วงปลาย เดือน ส่วนราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ13.1 ตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อย ละ 11.3 และ 37.5 ตามลำดับ
ประมงทะเล ยังคงอยู่ในภาวะซบเซา จากต้นทุนการทำประมงอยู่ในระดับสูง ตาม ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้มีเรือประมงส่วนหนึ่งหยุดทำการประมง ส่งผลให้ปริมาณและ มูลค่าสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ลดลงร้อยละ 7.7 และ 2.5 ตามลำดับ ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคากุ้ง เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยกุ้งขาวขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ตลาดมหาชัยราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.0 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3
2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากการ ผลิตอุตสาหกรรมยางที่เร่งตัวขึ้นตามความต้องการของจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและมาเลเซีย โดยอุตสาหกรรม ยางแท่งน้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน มีปริมาณส่งออกผ่านด่านศุลกากรใน ภาคใต้จำนวน 75,597.3 เมตริกตัน 52,534.6 เมตริกตัน และ 30,944.7 เมตริกตันเพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.7 20.2 และ10.2 ตามลำดับ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ การผลิตเร่งตัวขึ้นเช่นกัน โดย อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากขยายตลาดไปตะวันออกกลาง และสัตว์น้ำแช่แข็ง ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เนื่องจากญี่ปุ่นมีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลดอก ซากุระบาน สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมีผลผลิตจำนวน 133,871.3 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 72.1 ตามปริมาณวัตถุดิบ
3. การท่องเที่ยว ภาวะท่องเที่ยวขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดิน ทางผ่านด่านตรววจคนเข้าเมืองในภาคใต้ ประมาณ 265,656 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 19.4 เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ภาครัฐและเอกชนร่วมมือจัดกิจกรรมเพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในส่วนภาคใต้ตอนล่างที่มีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เดินทางเข้า มาท่องเที่ยวมากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นใจในความปลอดภัย สำหรับอัตราการเข้าพักในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 57.3
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เนื่องจากดัชนีในหมวดยานยนต์เพิ่มร้อยละ 29.4 ตามการเพิ่มขึ้นของการจด ทะเบียนรถยนต์ทุกประเภท และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เนื่องจาก ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้น และการ ท่องเที่ยวที่ขยายตัว
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนโดยรวมหดตัว เนื่องจากผู้ลงทุนยังขาดความ เชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จากการที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและ ปัญหาการเมือง โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนโครงการและเงินทุนลดลง ร้อยละ 57.1 และ 47.9 ตามลำดับ ขณะเดียวกันพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลง ร้อยละ 9.1 อย่างไรก็ตามปริมาณการจำหน่ายปูนซิเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ส่วนการจดทะเบียน ธุรกิจนิติบุคคลใหม่ จำนวนรายและทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และ 6.7 ตามลำดับ
6. การจ้างงาน ตำแหน่งงานว่างที่ผู้ประกอบการใช้บริการผ่านสำนักงานจัดหางาน จังหวัดในภาคใต้ มีจำนวน 5,805 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 72.8 โดย ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่ต้องการผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระดับปวส. คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 29.1 และ 28.1 ของตำแหน่งงานว่างทั้งหมด ด้านผู้สมัครงาน มีจำนวน 5,541 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.5 ผู้สมัครงานส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป รองลงมาเป็นวุฒิมัธยมศึกษา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.1 และ 32.4 ของผู้สมัครงานทั้งหมด ขณะที่ผู้ได้รับการบรรจุงานเดือนนี้มีจำนวน 4,184 อัตราเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.5
7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนนี้เป็นอัตราที่สุงสุด ในรอบ 2 ปี โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 6.8 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ6 .0 ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.3 และ 4.4 ตามลำดับ ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าขนส่งและ ค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าทุกชนิดเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 4.0 สูงขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อน
8. การค้าต่างประเทศ การค้าต่างประเทศผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า ทั้งสิ้น 1,657.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.7 แยกเป็นมูลค่า การส่งออก 1,098.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.0 ตามการ เพิ่มขึ้นของการส่งออกยางพาราและอาหารกระป๋อง ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 559.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.2 ตามการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์ ก่อสร้างและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น
9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มี จำนวน 15,266.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 92.0 ตามการเพิ่มขึ้นของการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในทุกคลังจังหวัด ส่วนภาษีอากร จัดเก็บได้ลดลง โดยจัดเก็บได้จำนวน 2,422.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 แยกเป็นภาษีสรรพากรจำนวน 2,091.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 ขณะที่ ภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรจัดเก็บได้จำนวน 217.4 ล้านบาท และ114.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.0 และ 0.7 ตามลำดับ
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2551 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ มีเงินฝาก คงค้างประมาณ 423,600.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.8 และสินเชื่อคง ค้าง ประมาณ 353,700.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.5
ข้อมูลเพิ่มเติม : นายพสุธา ระวังสุข โทร.0-7423-6200 ต่อ 4345 e-mail : pasuthar@bot.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ