การปรับปรุงแบบรายงานที่กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์ยื่น

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday July 7, 1999 15:48 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                 7  กรกฎาคม  2542เรียน    ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร
สาขาธนาคารต่างประเทศทุกธนาคาร
ที่ ธปท.ง. (ว) 2410 /2542 เรื่อง การปรับปรุงแบบรายงานที่กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์ยื่น
ตามที่ธนาคารได้มีหนังสือที่ ธปท.ง. (ว) 243/2542 ลงวันที่ 25 มกราคม 2542 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2542 นั้น
เพื่อประโยชน์ในการติดตามการค้างชำระเงินให้สินเชื่อ การจัดชั้นสินทรัพย์ การกันเงินสำรองและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารจึงได้ยกเลิกแบบรายงานตาราง 32.1, ธ.พ. 9, ธ.พ. 9.2, ธ.พ. 9.3, ธ.พ. 9.4, ธ.พ. 9.4/1, ธ.พ. 9.5, ว.ธ. 9.4, ว.ธ. 9.4/1 และ ว.ธ. 9.5 ที่ออกตามหนังสือที่ ธปท.ง.(ว) 3358/2541 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2541 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามหนังสือที่ กค 0303/25849 ลงวันที่ 11 กันยายน 2541 และหนังสือที่ ธปท.ง.(ว) 4825/2541 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2541 และให้ใช้แบบรายงานที่แนบมาพร้อมนี้แทนสำหรับการรายงานข้อมูลตั้งแต่งวดสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2542 เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล)
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. แบบรายงาน ตาราง 32.1, ธ.พ. 9, ธ.พ. 9.2, ธ.พ. 9.3, ธ.พ. 9.4, ธ.พ. 9.4/1,ธ.พ. 9.5, ว.ธ. 9.4, ว.ธ. 9.4/1 และ ว.ธ. 9.5 พร้อมคำอธิบายที่ปรับปรุงใหม่
2. สรุปประเด็นการปรับปรุงแบบรายงานของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวกับประกาศสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2542
ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงินโทร. 628-5572, 280-0631 และ 283-5832
หมายเหตุ : ธนาคารจะไม่จัดชี้แจงการปรับปรุงแบบรายงานข้างต้น
ง*ว90-กส25109-25420707ด
ลับ
ธนาคาร................................................…จำกัด ตาราง 32.1
เงินให้สินเชื่อค้างชำระ และเงินให้สินเชื่อจัดชั้น แยกตามประเภทธุรกิจ สำหรับเจ้าหน้าที่
ณ วันที่ ................................................. ธนาคารแห่งประเทศไทย
หน่วย : พันบาท
เงินให้สินเชื่อค้างชำระ เงินให้สินเชื่อจัดชั้น
ประเภท เงินให้ รวม เกิน 1 เดือน เกิน 3 เดือน เกิน 6 เดือน รวม ปกติ กล่าวถึง ต่ำกว่า สงสัย สงสัย สูญ
ธุรกิจ สินเชื่อ ถึง 3 เดือน ถึง 6 เดือน ถึง 12 เดือน เป็นพิเศษ มาตราฐาน จะสูญ
ทั้งสิ้น
(A) (B) (C) (D) (E) (F) (G) (H) (I) (J) (K) (L) (M)
1.การเกษตร ประมง และป่าไม้ 1
2.การเหมืองแร่และย่อยหิน 2
3.การอุตสาหกรรม 3
4.การก่อสร้าง 4
5.การค้าส่งและค้าปลีก 5
6.การนำสินค้าเข้า 6
7.การส่งสินค้าออก 7
8.การธนาคารและธุรกิจการเงิน 8
9.ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 9
10.การสาธารณูปโภค 10
11.การบริการ 11
12.การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 12
12.1 เพื่อที่อยู่อาศัย 12.1
12.2 บัตรเครดิต 12.2
12.3 อื่น ๆ 12.3
รวม 13
ดอกเบี้ยค้างรับ 14
รวมทั้งสิ้น 15
หมายเหตุ 1/ เงินให้สินเชื่อที่เคยค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไปของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จัดชั้นปกติได้ทันที จำนวน ……………….. พันบาท (N)
2/ เงินให้สินเชื่อที่เคยค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไปของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จัดชั้นปกติได้หลังจากปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ได้ครบ 3 งวด แล้ว จำนวน ………………… พันบาท (O)
3/ เงินให้สินเชื่อของลูกหนี้จัดชั้นสูญและจัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้ว จำนวน ……………….. พันบาท (P)
ขอรับรองว่ารายงานนี้ถูกต้อครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง
…………………………………..(เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนาม)
(………………………………………………………………..)
ตำแหน่ง……………………………………………………….
วันที่…………………………………………………………..
คำอธิบายประกอบการจัดทำรายงาน
เงินให้สินเชื่อค้างชำระและเงินให้สินเชื่อจัดชั้นแยกตามประเภทธุรกิจ (ตาราง 32.1)
ก. ข้อความทั่วไป
1. ให้ธนาคารพาณิชย์ จัดทำรายงานเงินให้สินเชื่อค้างชำระและเงินให้สินเชื่อจัดชั้น แยกตามประเภทธุรกิจ (ตาราง 32.1) ชุดรวมทุกสำนักงาน เป็นประจำทุกเดือนตามแบบที่กำหนด โดยให้รายงานยอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้น เงินให้สินเชื่อค้างชำระ ณ สิ้นเดือนที่รายงาน และให้รายงานยอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อจัดชั้น ณ เดือนสิ้นไตรมาสที่รายงาน ทั้งนี้ ให้แยกตามประเภทธุรกิจที่กำหนด และรายงานเป็นหน่วยพันบาท โดยให้ใส่เครื่องหมายจุลภาค “,” หลังหลักพันและหลักล้าน
2. ให้ยื่นรายงานดังกล่าว จำนวน 2 ชุด ต่อฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในสิ้นเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
3. ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำรายงานเงินให้สินเชื่อค้างชำระและเงินให้สินเชื่อจัดชั้นแยกตามประเภทธุรกิจดังกล่าวในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ (Computer Readable Form) ลงในแผ่น Diskette ตามรูปแบบ (Record Specification Format) และคำอธิบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยให้จัดส่งพร้อมกับรายงานตามข้อ 2
4. หากมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับรายงานนี้ โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 628-5572 , 280-0631
ข. ความหมายของรายการ
1. ประเภทธุรกิจ หมายถึง ประเภทธุรกิจตามคำนิยามในตาราง 33 ประกอบรายงาน ธ.พ. 3 (รายงานเงินให้สินเชื่อของทุกสำนักงานในประเทศแยกตามประเภทธุรกิจ)
2. เงินให้สินเชื่อทั้งสิ้น หมายถึง ยอดคงค้างทั้งสิ้นของเงินให้สินเชื่อแก่ธุรกิจแต่ละประเภท ณ วันสิ้นเดือนที่รายงาน ซึ่งยอดรวมของทุกประเภทธุรกิจจะต้องเท่ากับยอดเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้น (รวมเงินต้นของเงินให้สินเชื่อระหว่างธนาคารและตลาดเงิน) ที่รายงานในแบบ ธ.พ. 3
3. เงินให้สินเชื่อค้างชำระ หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ยังไม่มีการชำระเงินต้นและหรือดอกเบี้ย เมื่อถึงวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามงวดที่กำหนดในสัญญา หรือเมื่อได้ทวงถาม หรือเรียกให้ชำระหนี้แล้ว โดยให้รายงานยอดคงค้างเฉพาะเงินต้นตามสัญญาที่ค้าง ณ สิ้นเดือนที่รายงาน ไม่รวมดอกเบี้ยค้างชำระ ยกเว้นเงินให้สินเชื่อประเภทเงินเบิกเกินบัญชีซึ่งทบดอกเบี้ยรวมกับเงินต้นแล้ว ทั้งนี้ ให้แยกรายงานตามระยะเวลาที่ค้างชำระ ดังนี้
- เกิน 1 เดือนถึง 3 เดือน หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระนับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระเกินกว่า 1 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือน
- เกิน 3 เดือนถึง 6 เดือน หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระนับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระเกินกว่า 3 เดือนแต่ไม่เกิน 6 เดือน
- เกิน 6 เดือน ถึง 12 เดือน หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระนับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนแต่ไม่เกิน 12 เดือน
- เกิน 12 เดือน หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระนับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระเกินกว่า 12 เดือน
ตัวอย่างเช่น นาย ก. มีการกู้ยืม 2 สัญญา สัญญาที่ 1 เงินต้น 100 ล้านบาท กำหนดให้ชำระเป็นเงินต้น 5 ล้านบาทและดอกเบี้ย 1 ล้านบาท สัญญาที่ 2 เงินต้น 50 ล้านบาท กำหนดให้ชำระเป็นเงินต้น 3 ล้านบาทและดอกเบี้ย 1 ล้านบาท ทั้งสองสัญญามีกำหนดชำระในวันที่ 20 ของทุกเดือน มีการชำระเงินดังนี้
- งวดที่ 1 วันที่ 20 มกราคม ชำระครบตามสัญญาที่ 1 ส่วนสัญญาที่ 2 ชำระเพียง ดอกเบี้ย
- งวดที่ 2 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ไม่มีการชำระเลย
- งวดที่ 3 วันที่ 20 มีนาคม ไม่มีการชำระเลย
การรายงานให้แยกรายงานตามลักษณะของแต่ละสัญญา ดังนี้
การรายงาน ณ สิ้นเดือนมกราคม ทั้ง 2 สัญญาจะยังไม่นำมารายงานยอดค้างชำระของลูกหนี้รายนี้ การรายงาน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ให้รายงานหนี้ตามสัญญาที่ 2 เป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 1 เดือน ด้วยจำนวนเงินต้น 50 ล้านบาทการรายงาน ณ สิ้นเดือนมีนาคม ให้รายงานหนี้ตามสัญญาที่ 1 เป็นค้างชำระเกิน 1 เดือน ด้วยยอดคงค้าง 95 ล้านบาท และรายงานหนี้ตามสัญญาที่ 2 เป็นค้างชำระเกิน 2 เดือน ด้วยยอดคงค้าง 50 ล้านบาทสำหรับลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในระหว่างติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินใหม่ ให้รายงานการค้างชำระตามระยะเวลาเดิมก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จนกว่าจะเปลี่ยนสถานะเป็นลูกหนี้ปกติ แต่หากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ได้ ให้นับระยะเวลาการค้างชำระรวมกับระยะเวลาการค้างชำระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จัดชั้นปกติได้ทันทีโดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ไม่ต้องรายงานยอดการค้างชำระ และเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ได้ ก็ให้เริ่มนับระยะเวลาการค้างชำระใหม่
4. เงินให้สินเชื่อจัดชั้น หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ถูกจัดชั้นตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ระดับ คือ ปกติ กล่าวถึงเป็นพิเศษ ต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ให้รายงานยอดคงค้างเฉพาะเดือนสิ้นสุดไตรมาส โดยแยกตามประเภทธุรกิจที่กำหนด
5. ดอกเบี้ยค้างรับ หมายถึง ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่รับรู้เป็นรายได้ของเงินให้สินเชื่อทุกประเภท โดยให้แสดงเป็นยอดรวมไว้ท้ายรายงาน แยกตามระยะเวลาที่ค้างชำระตามสัญญาหรือแยกตามสถานะการจัดชั้นแล้วแต่กรณี
6. หมายเหตุ 1 หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อที่เคยค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไปของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จัดชั้นปกติได้ทันทีโดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หากต่อมามีการค้างชำระอีกให้หักยอดเงินให้สินเชื่อดังกล่าวออก และให้กลับไปแสดงในรายการค้างชำระต่อไป
7. หมายเหตุ 2 หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อที่เคยค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไปของลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จัดชั้นปกติได้ หลังจากปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ครบ 3 เดือนหรือ 3 งวดการชำระเงินแล้ว หากต่อมามีการค้างชำระอีกให้หักยอดเงินให้สินเชื่อดังกล่าวออก และให้กลับไปแสดงในรายการค้างชำระต่อไป
8. หมายเหตุ 3 หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อของลูกหนี้จัดชั้นสูญและลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันเงินสำรองครบร้อยละ 100 ซึ่งได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชีแล้ว
ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
พฤษภาคม 2542
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ