ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย

ข่าวกฏหมายและประกาศ Tuesday November 22, 2005 10:42 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                      22 พฤศจิกายน 2548
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท
ที่ ธปท.ฝกส.(12) ว.2210/2548 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
อาศัยอำนายตามความในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 และความในเงื่อนไขแนบใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2548 เพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยในการประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าและการทำธุรกรรมเพื่อบริหารสินทรัพย์/หนี้สิน และเพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเองและได้นำลงประกาศในราชกิจกานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 122 ตอนพิเศษ 129 ง ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งนำส่งมาพร้อมนี้แล้ว รวมทั้งนำส่งประเด็นคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับ ขอบเขตการประกอบธุรกิจและการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่ได้จัดทำขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายเกริก วณิกกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการ(แทน)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำ
ธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
2. ประเด็นคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำ
ธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน
โทร.0-2283-6826, 0-2283-6298, 0-2356-7468
หมายเหตุ [
] มีการจัดประชุมชี้แจงในวันที่............ณ.....................
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศ
เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำธุรกรรมของ
ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกำหนดกรอบที่ชัดเจนให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยซึ่งมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทราบถึงขอบเขตการประกบธุรกิจเพื่อการให้บริการแก่ลูกค้า และขอบเขตการทำธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณชย์เพื่อราย่อยเอง ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าขอบเขตการประกอบธุรกิจเพื่อการให้บริการแก่ลูกค้า
2.อำนาจตามกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดสำหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยในการประกอบธุรกิจเพื่อการให้บริการแก่ลูกค้าและในการทำธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อการป้องกันความเสี่ยงตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
ทั้งนี้ กรอบธุรกิจและธุรกรรมสำหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามประกาศฉบับนี้นอกจากจะหนดขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 ทวิ ข้างต้นแล้ว ยังถูกกำหนดโดยเงื่อนไขแนบใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์รายย่อยตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดไว้ด้วย
3.ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยทุกธนาคาร
4.เนื้อหา
4.1ในประกาศฉบับนี้
"ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ โดยมีเงื่อนไขห้ามประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และห้ามประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตราสารอนุพันธ์ เว้นแต่จะเป็นการป้องกันความเสี่ยงสำหรับตนเอง รวมทั้งมีเงื่อนไขกำหนดให้บริการได้เฉพาะแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามคำจำกัดความที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และจำกัดวงเงินการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละรายดังนี้
(1) ให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่เป็นประชาชนรายย่อยต่อรายได้ไม่เกินวงเงินร้อยละ 0.05 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ในกรณีที่เป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และร้อยละ 1 ของเงินกองทุน ชั้นที่ 1 ในกรณีที่เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน
(2) ให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อรายได้ไม่เกินวงเงินร้อยละ 10 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(3) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(4) ธนาคารพาณิชย์
(5) บริษัทเงินทุน
(6) เครดิตฟองซิเอร์
(7) บริษัทหลักทรัพย์
(8) บริษัทประกันชีวิต
(9) สถาบันการเงินต่างประเทศ
(10) กองทุนรวม
(11) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(12) กองทุนส่วนบุคคล
(13) กองทุนบำเหน็จบำนาญ
(14) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(15) นิติบุคคลอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
"การลงทุนในตราสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้า" หมายความว่า การลงทุนในตราสารหนี้ ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้ ทำให้กิจการถือหลักทรัพย์นั้นไว้เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อหากำไรจากการเปลี่ยนแปลง ราคาของตราสารนั้น
"การลงทุนในตราสารที่มีวัตถุประสงค์เผื่อขาย" หมายความว่า การลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดซึ่งไม่ถือเป็นการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้าและในขณะเดียวกันไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดหรือเงินลงทุนในบริษัทลูกหรือบริษัทร่วม
4.2 ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าและสามารถทำธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองได้ภายในขอบเขตดังต่อไปนี้
4.2.1 ธุรกิจเพื่อการให้บริการแก่ลูกค้า
ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจพื้นฐานของธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำ เพื่อการให้บริการลูกค้าภายใต้ขอบเขตดังต่อไปนี้
ก.ธุรกิจพื้นฐาน ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละรายได้ โดยจำกัดวงเงินการให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยแต่ละรายไม่เกินร้อยละ 0.05 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ในกรณีที่ไม่มีหลักประกันและไม่เกินร้อยละ 1 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ในกรณีที่มีหลักประกัน และวงเงินการให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 โดยให้มีข้อยกเว้นในการนับคำนวณวงเงินสินเชื่อเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดอัตราส่วนจำนวนเงิน ที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพัน เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงิน
กองทุน และรายการตามที่ระบุในมาตรา 13 ทวิแห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ วงเงินการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละรายจะต้องนับรวมวงเงินการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้รายนั้นๆ ตามมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยอนุโลมด้วย
ส่วนธุรกิจพื้นฐานอื่น เช่น การรับฝากเงินทุกประเภท หรือการโอนเงิน/ชำระเงิน ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถดำเนินการได้โดยไม่จำกัดคู่สัญญา
ข. ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศได้ ดังนี้
ข.1 ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศได้ตามที่บุคคลรับอนุญาตกระทำได้ เช่า การซื้อพันธบัตรต่างประเทศ หรือเช็คสำหรับเดินทางที่พึงจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่จำกัดจำนวน และขายพันธบัตรต่างประเทศแก่ผู้จะเดินทางออกไปนอกประเทศเป็นมูลค่าคนหนึ่งไม่เกิน 5ฒ000 ดอลลาร์สหรัฐหรือเทียบเท่าต่อการเดินทางหนึ่งครั้ง โดยไม่จำกัดคู่สัญญา และต้องขายพันธบัตรต่างประเทศที่รับซื้อไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาตรายอื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของยอดส่วนต่างระหว่างพันธบัตรต่างประเทศที่รับซื้อไว้กับธนบัตรต่างประเทศที่ขายไปทุกสกุลรวมกันในแต่ละเดือน รวมทั้งต้องขายเช็คสำหรับเดินทางที่รับซื้อไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาตรายอื่นที่ไม่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับซื้อไว้ ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศนี้ไม่รวมการรับฝากเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
ข.2 ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถมีบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศที่ต่างประเทศและส่งเงินตราต่างประเทศออกไปสำรองไว้ในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศที่ต่างประเทศนั้นเพื่อปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขในการเข้าเป็นสมาชิกเพื่อการดำเนินธุรกิจด้านบัตรเครดิตได้ อย่างไรก็ดี หากในการประกอบธุรกิจด้านบัตรเครดิตนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเป็นผู้ได้รับชำระเงินตราต่างประเทศธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องนำเงินตราต่างประเทศที่ได้รับกลับเข้ามาได้ประเทศไทยทันทีที่ได้รับ พร้อมทั้งขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศนั้นกับตัวแทนรับอนุญาตรายอื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ในประเทศไทยภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้มาหรือนำเข้า
ค.ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากธนาคารพาณิชย์หรือธุรกิจอันเป็นประเพณีที่ธนาคารพาณิชย์พึงกระทำ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจการเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงิน การรับอาวัลตั๋วเงิน การรับรองตั๋วเงิน หรือการค้ำประกัน หรือธุรกิจทำนองเดียวกันด้วยก็ได้ รวมถึงธุรกิจอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตไว้แก่ธนาคารพาณิชย์แล้ว เช่น การเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ การดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ การประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน เป้นต้น ทั้งนี้ ยกเว้นธุรกิจดังต่อไปนี้
1) การให้สาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณชย์ไทยเป็นผู้จัดการกองทุน เพื่อการลงทุน หรือการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือรับบริหารสินทรัพย์ให้แก่บุคคลในต่างประเทศ
2) ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการขายชอร์ต
3) ธุรกิจการค้าตราสารแห่งหนี้
4) ธุรกิจการค้าหลกัทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
5) ธุรกิจการรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
6) ธุรกิจที่เกี่ยวกับอนุพันธ์ทางการเงิน
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจตามข้อ ค.ได้ โดยไม่จำกัดคู่สัญญา เว้นแต่ในกรณีธุรกิจที่ถือเป็นการให้สินเชื่อ หรือมีลักษณะคล้ายสินเชื่อ หรือธุรกิจการจัดจำหน่ายตราสารแห่งหนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะสามารถให้บริการได้เฉพาะแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเท่านั้น สำหรับกรณีการประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อการให้เช่าแบบลีสซิ่ง การให้สินเชื่อภายใต้การให้บริการทางการเงินตามหลักอาริอะฮ์ การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงแบบมีสิทธิไล่เบี้ย และการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้แบบมีสิทธิไล่เบี้ยนั้น ใหธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในตารางประเภทธุรกิจตาม ม.9ทวิ ที่อนุญาตให้ ธย. ทำด้วย
4.2.2 ธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สิ้นและเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเอง
(1) ธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเอง
ก.การกำหนดขอบเขตธุรกรรมตามสกุลเงิน
ก.1 ธุรกรรมในสกุลเงินบาท ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทำธุรกรรมในสกุลเงินบาทได้ทุกประเภท ยกเว้นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์ทางการเงินซึ่งสามารถทำได้เฉพาะเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยเองเท่านั้น อย่างไรก็ดีธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยสามารถทำธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝงซึ่งมีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรหรือกลุ่มของตัวแปรที่มีเงื่อนไขกำหนดให้มีการชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวน เฉพาะเพื่อการลงทุน โดยตัวแปรที่ใช้อ้างอิงต้องเข้าข่ายตามที่กำหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศ เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณชย์ทำธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝง
ก.2 ธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยสามารถทำธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยเองได้ เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
ข.การกำหนดขอบเขตธุรกรรมด้านสินทรัพย์ ธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยสามารถทำธุรกรรมด้านสินทรัพย์เพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยเอง ได้เฉพาะกับคู่สัญญาที่เป็นประชาชนรายย่อย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันการเงิน บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(ประเทศไทย) จำกัด องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และรัฐบาลเท่านั้น
สำหรับธุรกรรมการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน ห้ามธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินที่ขายโดยนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่กำหนดในข้อ ข.วรรคหนึ่ง
สำหรับธุรกรรมการลงทุนในตราสารหนี้/ตราสารทุน ห้ามธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยลงทุนในตราสารหนี้/ตราสารทุนที่ออกโดยนิติบุคคลอื่นไม่ใช่นิติบุคคลที่กำหนดในข้อ ข.วรรคหนึ่ง เว้นแต่การลงทุนในตราสารดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อค้า หรือมีวัถุประสงค์เผื่อขายที่มีกำหนดระยะเวลาการถือครองไม่เกินกว่า 1 ปี
ทั้งนี้ ตราสารที่ธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยถืออยู่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้านั้นต้องไม่มีข้อจำกัดในการซื้อขาย มีการประเมินมูลค่าที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอและต้องมีการจัดการบริหารจัดการที่ดี โดยธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินตามหนังสือเวียนที่ ธปท.สนส.(21)ว.2738/2546 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อาทิ กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการถือครองฐานะในบัญชีเพื่อค้า กำหนดให้มีกระบวนการที่ใช้ในการประเมินมูลค่าเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีกระบวนการควบคุมภายในและมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการตรวจ
สอบการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อค้าที่ได้กำหนดขึ้น
(2) ธุรกรรมเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยเอง ธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยสามารถทำธุรกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเองได้ เช่น ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับตราสารอนุพันธ์ประเภทต่างๆ และธุรกรรมการซื้อ/ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เป็นต้น ทั้งนี้ธุรกรรมดังกล่าวต้องเป็นการทำเพื่อป้องกันความเสี่ยง และไม่มีลักษณะของการเก็งกำไร
4.3 ธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยจะต้องบันทึกบัญชีรายได้จากการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง
4.4 ในการประกอบธุรกิจและการทำธุรกรรมตามประกาศฉบับนี้ ให้ธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ หรือหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องด้วย
5. เกณฑ์การผ่อนผัน
ในกรณีที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้จัดตั้งเป็นธนาคารพาณชย์เพื่อรายย่อยหรือมีการควบรวมหรือโอนกิจการของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เพื่อจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย มีผลให้การประกอบธุรกิจและการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในข้อ 4.2 ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยถือปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการทำธุรกรรม ดังนี้
(1) กรณีสัญญามีกำหนดอายุ (Term loan) ผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหรือทำธุรกรรมตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุสัญญา
(2) กรณีสัญญาที่ไม่มีกำหนดอายุ(Call loan) ผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหรือทำธุรกรรมไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่เปิดดำเนินการของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้น หลังจากนั้น จะต้องดำเนินการให้การประกอบธุรกิจและทำธุรกรรมเป็นไปตามขอบเขตที่กำหนด
ทั้งนี้ เกณฑ์การผ่อนผันตามข้อ (1) และ(2) มีผลบังคับใช้เฉพาะกรณีสัญญาที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเท่านั้น ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในการอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2548
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ตารางประเภทธุรกิจตาม ม.9 ทวิ ที่อนุญาตให้ ธย.ทำ
ที่ ธุรกิจตาม ม.9 ทวิ ที่อนุญาติให้ ธพ.ทำ การอนุญาต ธย.ทำธุรกิจ คู่สัญญา ธย.
/อนุญาต
Xไม่อนุญาต
1 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย
1.1 การเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและ
ประกันชีวิต[ต้องได้รับอนุญาตจากนาย
ทะเบียนและปฏิบัติตามเกณฑ์ พรบ.ประกันภัย
] / ไม่จำกัด
1.2 การเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาของ
บริษัทประกันภัย
1.3 การให้บริการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการประกันภัยแก่ลูกค้าสินเชื่อ
เพื่อที่อยู่อาศัย
2. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์
2.1 การเป็นนายหน้าตัวแทนจำหน่าย
หลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
เฉพาะตราสารแห่งหนี้
2.2 การเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้น
2.3 การจัดการออกตราสารแห่งหนี้
2.4 การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
2.5 การดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์
บัตรเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้
เอกสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินและ
เอกสารอื่น(Custodian Service)
2.6 การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ / ไม่จำกัด
2.7 การติดต่อหรือแนะนำบริการ
ของบริษัทหลักทรัยพ์ให้แก่ลูกค้า
2.8 การเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน
2.9 การจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน
(ธย.ทำได้เฉพาะ Best Effort
ไม่ให้ทำแบบ Firm Underwrite)
2.10 การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
2.11 การเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์
ของกองทุนรวม
2.12 การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
2.13 การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
2.14 การขายทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์
ในลักษณะที่ก่อให้เกิดการ / พิจารณารายกรณี
ออกตราสารเพื่อนำไปขายต่อ
(Securitization)
2.15 การจัดการแปลงสินทรัพย์เป็น
หลักทรัพย์เพื่อเสนอต่อ สำนักงานก.ล.ต.
2.16 การจัดจำหน่ายตราสารแห่งหนี้ / จำกัดผู้ออกตราสาร
แห่งหนี้เฉพาะ SMEs
2.17 การให้สาขาในต่างประเทศ
ของ ธพ.ไทยเป็นผู้จัดการกองทุน
เพื่อการลงทุน หรือการพัฒนาระหว่าง
ประเทศ หรือรับบริหารสินทรัพย์
ให้แก่บุคคลในต่างประเทศ
2.18 การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
กิจการการยืมและให้ยืม
หลักทรัพย์และการขายชอร์ต X
(SBL-Securities Borrowing
and Lending, Short Sales)
2.19 การค้าตราสารแห่งหนี้
2.20 การค้าหน่วยลงทุน
3. PRIVATE REPO
การประกอบธุรกิจซื้อคืนภาคเอกชน
(Private Repo)
-ด้านให้กู้ยืมเงิน จำกัดคู่สัญญาเฉพาะ
ประชาชนรายย่อย
SMEs สง.
/ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ
องค์การของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ รัฐบาล
-ด้านกู้ยืมเงิน ไม่จำกัดคู่สัญญา
4. เช่าซื้อ/ลีสซิ่ง/การให้เช่า
4.1 การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มี
ไว้เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ
หรือที่ได้รับจากการชำระหนี้
หรือสาขาที่ปิด / ไม่จำกัด
4.2 การให้บุคคลภายนอกใช้บริการ
ศูนย์ฝึกอบรม
4.3 การให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบ
ลิสซิ่งอันเนื่องมาจากการปรับปรุง / จำกัดเฉพาะ
โครงสร้างหนี้ ประชาชนรายย่อย
4.4 การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ และ SMEs
ให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลิสซิ่ง
4.5 การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ จำกัดลูกค้าเฉพาะ
ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง / ประชาชนรายย่อย
(ธย.ทำได้เฉพาะ Domestic Factoring) และ SMEs
5. ตราสารอนุพันธ์
5.1 ธุรกิจ Credit Linked Notes /
Credit Linked Deposit
5.2 ธุรกรรม Credit Default Swap
5.3 ธุรกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการ
บริหารความเสี่ยงหลักทรัพย์
ประเภทตราสารหนี้
5.4 ธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มี X
อนุพันธ์ทางการเงินแฝง
5.5 ธุรกรรมอนุพันธ์ด้าน Commodity
5.7 การลงทุนในตราสาร
Collateralized Debt
Obligation (CDO)
5.8 Plain Vanilla Derivatives
6. E-banking
6.1 การใช้บริการเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตในการประกอบธุรกิจ
6.2 การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Money) / ไม่จำกัด
6.3 การให้บริษัทประกันภัยเปิด
บริการผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
ที่ใช้ในการฝากและถอนเงินและ
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์อื่น
7. ธุรกิจการให้คำแนะนำและบริการ
ทางการเงินอื่น
7.1 การให้บริการจัดทำหรือวิเคราะห์
โครงการเพื่อการลงทุน
(Feasibility Studies)
7.2 การจัดหาเงินกู้จากแหล่งต่างๆ
ให้แก่ผู้ต้องการกู้เงิน
(Loan Syndication)
7.3 การเป็นที่ปรึกษาในการซื้อกิจการ
รวมกิจการ หรือควบกิจการ
(Acquisition, Merger
or Consolidation)
7.4 การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
(Financial Advisor) / ไม่จำกัด
7.5 การให้บริการข่าวสารข้อมูล
7.6 การเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้
โดยมีค่าตอบแทน
7.7 การประกอบธุรกิจ Escrow
Account
7.8 การเป็นตัวแทนหรือรับจ้าง
บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
ให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(TAMC)
7.9 การประกอบกิจการให้บริการ
ด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น
7.10 การให้บริการทางการ
เงินตามหลักชาริอะฮ์ จำกัดเฉพาะ
ประชาชนรายย่อย และ
/ SMEs ในกรณีธุรกิจที่
เป็นสินเชื่อ หรือมี
ลักษณะคล้ายสินเชื่อ
7.11 การรับซื้อหรือรับโอน / จำกัดลูกค้าเฉพาะ
ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม SMEs
ประเด็นคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับ
ขอบเขตการประกอบธุรกิและขอบเขตการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
สารบัญ
1.คำจำกัดความ .........................................................5
1.1 การให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่เป็น "ประชาชนรายย่อย" หมายถึงอะไร ครอบคลุมเฉพาะ
บุคคลธรรมดาที่มีรายได้น้อยหรือไม่...................................... 5
1.2 "สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น" ภายใต้นิยามของ "สถาบันการเงิน"
ในประกาศขอบเขตฯ หมายถึงอะไร รวมถึงสหกรณ์หรือไม่..................... 5
1.3 "สินทรัพย์ถาวรสุทธิ" ที่กำหนดในนิยามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
หมายถึงอะไร.................................................... 5
1.4 นิยาม "การจ้างงาน" รวมถึงการจ้างพนักงาน Outsource หรือไม่............. 6
2.การให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพัน เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด......................7
2.1 ธย.สามารถร่วมลงทุน (Joint Venture) กับคู่สัญญารายย่อยหรือวิสาหกิจขนาดกลาง
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ