การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday September 8, 2005 14:08 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                           8 กันยายน 2548
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
ที่ ธปท. ฝสว.(21)ว. 1681/2548 เรื่อง นำส่งแนวทางปฏิบัติ เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือที่ ธปท.สนส.(21)ว.2004/2547 เรื่องนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สินทรัพย์สภาพคล่องลงวันที่ 29พฤศจิกายน 2547 ซึ่งได้นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมทั้งแนวทางปฏิบัติประกอบประกาศที่กล่าวส่งไปให้ท่านแล้ว นั้น
บัดนี้ เพื่อให้การรายงานสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศในการคำนวณสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงสะท้อนฐานะที่แท้จริงในแต่ละวันของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยขอยกเลิกเฉพาะแนวทางปฏิบัติประกอบประกาศข้างต้น และให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ เรื่อง การกำหนดธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องฉบับใหม่ที่ได้แนบมาพร้อมนี้ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2549 เป็นต้นไป ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องรายงานข้อมูลการดำรงทรัพย์สภาพคล่องตามหลักเกณฑ์ที่แก้ไขตามหนังสือฉบับนี้เป็นครั้งแรกสำหรับปักษ์ 8-22 มกราคม 2549
สาระสำคัญในการปรับปรุงครั้งนี้มีอยู่ 2ประการ ดังนี้
1.ปรับปรุงรายชื่อองค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบโดยเปลี่ยนชื่อจากบริษัท ทศท . คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มาเป็น บริษัท ทีโอทีจำกัด (มหาชน)
2.กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ ทุกสิ้นวันในการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินเงินตราต่างประเทศทุกรายการภายใต้ขอบเขตที่กำหนด โดยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนจาก 3 แหล่ง ดังนี้
2.1 อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์
2.2 อัตราแลกเปลี่ยนจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น Reuters,Bloomberg,
Telerate
2.3 อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยทางโทรเลขและอัตราขายถัวเฉลี่ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากแหล่งข้อมูลเดิมอย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่เป็นวันทำการสิ้นเดือน ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยทางโทรเลขและอัตราขายถัวเฉลี่ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ในการแปลงค่า
อนึ่ง ให้ธนาคารพาณิชย์แจ้งความประสงค์ว่าจะเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากแหล่งใดในการแปลงค่ามายังฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกำกับสถาบันการเงินก่อนหน้าวันที่แนวทางปฏิบัติดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ และหากต้องการเปลี่ยนแปลงแหล่งข้อมูลจะต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนพร้อมแสดงเหตุผลประกอบด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติด้วย
ขอแสดงความนับถือ
(นายเกริก วณิกกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย: แนวทางปฏิบัติ เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยงและวิเคราะห์
โทร. 0-2283-5307, 0-2283-6820
หมายเหตุ [
] มีการจัดประชุมชี้แจงในวันที่.............ณ..................
[ X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
แนวทางปฏิบัติ เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
1.รายชื่อองค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ (ตามนัยข้อ 3(4)ฉ ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น)
ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถนำหุ้นกู้ พันธบัตร และตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดย
สถาบันดังต่อไปนี้เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้
1.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
1.2 การไฟฟ้านครหลวง
1.3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
1.4 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
1.5 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
1.6 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
1.7 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
1.8 บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
1.9 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
1.10 การเคหะแห่งชาติ
1.11 การประปานครหลวง
1.12 การประปาส่วนภูมิภาค
1.13 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
1.14 ธนาคารอาคารสงเคราะห์
1.15 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
1.16 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
1.17 บริษัท ปตท. สพ. จำกัด (มหาชน)
1.18 โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
1.19 ธนาคารออมสิน
1.20 บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
1.21 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
1.22 บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
1.23 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
2. การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ให้ธนาคารพาณิชย์นับมูลค่าหลักทรัพย์เข้าเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องโดยใช้ราคาตาม
บัญชีตามวิธีการที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และ
ตราสารทุน ดังนี้
2.1 กรณีหลักทรัพย์ไม่มีการซื้อหรือขายระหว่างเดือน:ให้ใช้ราคาตามบัญชี ณ วัน
สิ้นเดือนก่อนเป็นมูลค่าของหลักทรัพย์สภาพคล่องที่จะใช้ดำรงในเดือนถัดไป (โดยให้เริ่มใช้ราคาตาม
บัญชีใหม่ในวันทำการแรกของเดือนถัดไป)
2.2 กรณีหลักทรัพย์มีการซื้อหรือขายระหว่างเดือน
2.2.1 กรณีการซื้อเพิ่มเข้ามาระหว่างเดือน:ให้ใช้ราคาซื้อในการนับหลักทรัพย์
ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องในเดือนนั้น และให้เปลี่ยนไปใช้ราคาตามบัญชี (ราคา Mark-to-
market ณ วันสิ้นเดือน) ในวันทำการแรกของเดือนถัดไป
2.2.2 กรณีขายหลักทรัพย์ออกไประหว่างเดือน:ให้หักหลักทรัพย์ที่ขาออกไป
ด้วยมูลค่าซึ่งคำนวณด้วยวิธีการที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี
2.2.3 กรณีทำธุรกรรม Repo กับธนาคารแห่งประเทศไทย : ให้นับมูลค่าหลักทรัพย์
ที่ถือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องด้วยวิธีการดังนี้
ผู้กู้ ผู้ให้กู้
ณ วันทำสัญญาRepo หักหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วย -ในการนับสินทรัพย์ที่ได้จากการทำธรุ
กรรม Repo
(Settlement date) มูลค่าซึ่งคำนวณด้วยวิธีการที่ เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องให้ใช้ราคาที่ต่ำ
กว่า
กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ระหว่าง (1) หรือ (2)ซึ่งคือ
เสมือนเป็นการจำหน่ายหลักทรัพย์ (1)ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ได้รับมา
ปรับด้วยอัตราส่วนลด (Hair cut) ตาม
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย
การซื้อขายพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าจะซื้อ
คืนหรือขายคืนทที่สายตลาดการเงินกำหนด
ซึ่งก็คือ จำนวนเงินที่ให้กู้ยืม)
(2)ราคาตามบัญชี(ราคา
marktomarket ณ วัน
สิ้นเดือน(โดยถือเสมือนหนึ่งว่าหลักทรัพย์
ดังกล่าวรวมอยู่ในบัญชีเงินลงทุนของ
สถาบันการเงิน)
ทั้งนี้ หากสัญญา Repo สิ้นสุดก่อนถึงวัน
สิ้นเดือนก็ให้ใช้ราคาตาม(1)ในการนับ
สินทรัพย์สภาพคล่องตลอดไป
ณ วันครบกำหนดสัญญา Repo รับคืนด้วยราคาที่ใช้ในการนับ ตัดหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วยราคาที่ใช้นับ
มูลค่า
มูลค่า ณ วันทำธุรกรรม Repo เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องในวันก่อนหน้า
เว้นแต่สัญญา Repo สิ้นสุดใน
เดือนถัดไป ให้ใช้ราคา Mark-
to-Market ของหลักทรัพย์นั้น
ในวันสิ้นเดือนก่อนสัญญา
Repo สิ้นสุด
2.2.4 กรณีทำธุรกรรม Private Repo(ซึ่งรวมถึงธุรกรรม Bilateral Repo):ให้นับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ถือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องด้วยวิธีการดังนี้
ผู้กู้ ผู้ให้กู้
ณ วันทำสัญญา หักหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วย -ในการนับสินทรัพย์ที่ได้จากการทำธรุ
กรรม
Private Repo มูลค่าซึ่งคำนวณด้วยวิธีการที่ Private Repoเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง
ให้
(Settlement date) กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ใช้ราคาที่ต่ำกว่าระหว่าง(1)หรือ(2)ซึ่ง
คือ
เสมือนเป็นการจำหน่ายหลักทรัพย์ (1)ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ได้รับมา
ปรับด้วยอัตราส่วนลด (Hair cut)ณ
วันทำสัญญา (ซึ่งก็คือ จำนวนเงินที่ให้กู้
ยืม)
(2) ราคาตลาดทุกสิ้นวัน
ณ วันครบกำหนดสัญญา รับคืนด้วยราคาที่ใช้ในการนับ ตัดหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วยราคาที่ใช้
นับมูลค่า
Private Repo มูลค่า ณ วันทำธุรกรรม เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องในวันก่อนหน้า
Private Repoเว้นแต่สัญญา
Private Repo สิ้นสุดใน-
เดือนถัดไป ให้ใช้ราคา Mark
to-Market ของหลักทรัพย์นั้น
ในวันสิ้นเดือนก่อนสัญญา
Private Repo สิ้นสุด
3.เงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตามนัยข้อ 2(2) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น)
เงินกู้ยืมในกรณีดังต่อไปนี้ถือเป็นเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องในแต่ละกรณี ดังนี้
3.1 เงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์และกิจการวิเทศธนกิจที่กู้ยืมจากต่างประเทศตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยมีเงื่อนไขตั้งแต่วันกู้ยืมว่าจะมีการผ่อนชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วนคืนต่างประเทศเป็นงวดๆInstallment) ในช่วง 1 ปีนับแต่วันกู้ยืมนั้น ให้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉพาะเงินกู้ยืมส่วนที่มีระยะเวลาชำระคืนก่อนครบ 1 ปี ตั้งแต่วันกู้ยืมเท่านั้น
อนึ่ง สำหรับเงินกู้ยืมจากต่างประเทศตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปที่มีการให้กู้ต่อแก่ลูกค้าเป็นระยะเวลา 2 ปีขึ้นไปเช่นกัน โดยมีข้อตกลงว่าลูกค้าจะชำระเงินกู้ยืมเป็นงวดๆ ละเท่าๆ กัน และต้องเป็นงวดละ 3 เดือนขึ้นไป จะสามารถนำเงินที่ได้รับจากลูกหนี้จ่ายคืนเงินกู้ยืมจากต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้สำหรับเงินกู้ยืมที่ได้กระทำก่อนวันที่ 23 ธันวาคม 2547 เท่านั้น
3.2เงินกู้ยืมจากต่างประเทศระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้น ไปที่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระคืนก่อนครบกำหนดได้ หากเป็นเงื่อนไขเรียกชำระคืนกรณีที่เกิดการผิดนัด (Event of Default)ซึ่งได้นิยามอย่างชัดเจนว่าเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้กู้เอง ไม่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ส่วนเงื่อนไขเรียกชำระคืนในกรณีที่เกิดจากความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจ โดยรวมของประเทศหรือเงื่อนไขในทำนองเดียวกันซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผันผวนทางการเมืองCountry Risk หรือ Sovereign risk)ของประเทศไทย ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
3.2.1 เงื่อนไขเรียกชำระคืนได้เมื่อมีการยึดสินทรัพย์ หรือรายได้บางส่วนหรือทั้งหมดของผู้กู้มาเป็นของรัฐ ( Nationalisation )
3.2.2 การประกาศห้ามหรือระงับชำระหนี้โดยรัฐบาล ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไทยหรือผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ( Moratorium )
3.2.3 การที่ประเทศไทยยกเลิกการเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF )
3.2.4 สำหรับกรณีเงื่อนไขของสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนตามดุลพินิจของผู้ให้กู้ เช่น เงื่อนไขเรียกชำระคืนได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในประเทศในทางเศรษฐกิจ การเงินหรือการเมือง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือออกข้อบังคับระเบียบหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ของทางการที่อาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของสัญญากู้ยืมหรือมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เป็นต้น นั้น จะต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ดังนี้
3.2.4.1 กรณีเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกให้ชำระคืนในช่วง1ปีนับแต่วันกู้นั้นจะต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับเงินกู้ยืมนั้นในช่วง 1 ปีแรก หลังจากนั้นแล้วไม่ต้องดำรง
3.2.4.2 กรณีมีเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกให้ชำระคืนต่อเมื่อพ้นช่วง 1 ปีนับแต่วันกู้ยืมแล้ว สถาบันการเงินผู้กู้ไม่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับเงินกู้ยืมดังกล่าว
4.หลักเกณฑ์เกี่ยวกับหลักทรัพย์ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน (ตามนัยข้อ 3(4) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น)
4.1 หลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ธนาคารให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ดำรงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามนัยข้อ 3(4) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กล่าว หมายรวมถึง หลักทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ ทั้งที่ออกจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ
4.2 ตั๋วสัญญาใช้เงินของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยสามารถเริ่มนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตั้งแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ธนาคารพาณิชย์จะต้องปรับมูลค่าที่นำมาใช้ดำรงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องให้สอดคล้องกันด้วย
4.3 การคัดเลือกผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ ( Custodian ) สำหรับหลักทรัพย์ที่ใช้ดำรงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง ให้ถือปฏิบัติดังนี้
4.3.1 ธนาคารพาณิชย์ที่เก็บรักษาหลักทรัพย์ไว้กับCustodianในต่างประเทศจะต้องเลือกใช้ Custodian ที่เป็นสถาบันทีมีฐานะมั่นคง และมีเครือข่ายการให้บริการในศูนย์กลางการเงินที่สำคัญ ซึ่งได้รับ Credit Rating จาก Moody’s ไม่ต่ำกว่า Aa3 หรือ Standard & Poors ไม่ต่ำกว่า AA- ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องกำหนดให้ Custodian จัดส่งใบยืนยันยอดหลักทรัพย์ หรือStatement of transactions ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
4.3.2 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์จะเลือกใช้ Custodian ที่มีคุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ในข้อ4.3.1 ธนาคารพาณิชย์จะต้องแจ้งรายชื่อของ Custodian ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบก่อน
5.ข้อกำหนดอื่น ๆ
5.1เงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะนำมาคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์สภาพคล่องตามนัยข้อ 3(2) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น จะเริ่มนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ต่อเมื่อมีการแจ้งรายชื่อศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์กับฝ่ายจัดการธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วเท่านั้น
5.2ในการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศสำหรับการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ ทุกสิ้นวันในการแปลงค่าโดยสามารถเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์เอง อัตราแลกเปลี่ยนจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่นReuters,Bloomberg,Telerateหรืออัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยทางโทรเลขและอัตราขายถัวเฉลี่ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ โดยต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากแหล่งข้อมูลเดิมอย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่เป็นวันทำการสิ้นเดือน ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยทางโทรเลขและอัตราขายถัวเฉลี่ยตามประกาศฉบับที่กล่าวในการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศนอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้าว่าจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนใดในการแปลงค่า และหากต้องการเปลี่ยนแปลงแหล่งข้อมูลจะต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนพร้อมแสดงเหตุผลประกอบด้วย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องทราบถึงการใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ต่างกันเพื่อการวิเคราะห์ปรับข้อมูลระหว่างธนาคารพาณิชย์ให้สามารถเทียบเคียงกันได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ