ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 4/2553 (ตุลาคม - ธันวาคม 2553) จากการสอบถามนักธุรกิจ จำนวน 1,870 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 45.2 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 44.9 และไม่ดีร้อยละ 9.9 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 67.6 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 แสดงถึงความเชื่อมั่นของนักธุรกิจต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองและค่าเงินบาทที่แข็งเกินไป ส่งผลกระทบต่อการส่งออก
สำหรับการคาดการณ์ของนักธุรกิจในปี 2554 ดัชนี มีค่า 75.2 ส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นร้อยละ 58.6 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 33.4 และไม่ดีร้อยละ 8.0
1. ภาวะธุรกิจทั่วไป
ภาพรวมภาวะธุรกิจดีขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังไม่แน่ใจในสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจของปี 2553 ที่ฟื้นตัว เป็นการฟื้นตัวในบางภาคส่วน เช่น ธุรกิจส่งออก อุตสาหกรรมเกษตร ฯลฯ และการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดโลก
2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ
เกษตรกรรม เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ผลผลผลิตเสียหาย แต่ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี อุตสาหกรรม ค่าเงินบาทแข็งเกินไป ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกพาณิชยกรรม การแข่งขันทางการค้าสูงมาก ภาวะการค้าทั่วไปซบเซา กำลังซื้อลดลง จากความไม่เชื่อมั่นและการประหยัดการใช้จ่ายของประชาชนก่อสร้าง การก่อสร้างน้อย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนและปลายงบประมาณการเงิน สถาบันการเงินมีการขยายสาขาบริการมากขึ้น แนวโน้มธุรกิจไปได้ด้วยดีบริการ การท่องเที่ยวซบเซา รวมทั้งลูกค้าผู้ใช้บริการมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย
3. ผลประกอบการของธุรกิจ
ผลกำไรลดลง จากสภาพการแข่งขันในธุรกิจที่สูง
4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ
ธุรกิจประสบปัญหาต้นทุนสูงขึ้นในทุกด้านจากราคาวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และการบริหารจัดการ
5. การจ้างงานในธุรกิจ
ขาดแคลนแรงงานฝีมือ และแรงงานปฏิบัติการอย่างรุนแรง
6. การขยายกิจการของธุรกิจ
มีการขยายกิจการเพิ่มมากขึ้น จากผู้ประกอบการในประเทศรวมถึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่ม
1. ขอให้ภาครัฐดูแลค่าเงินให้เหมาะสมและมีเสถียรภาพ
2. รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ภาษีที่จัดเก็บสามารถสร้างประโยชน์สูงสุด
3. อยากให้ภาครัฐเปิดโอกาสให้มีการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฎหมาย
4. กระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทั้งโฆษณาประชาสัมพันธ์และดูแลแหล่งท่องเที่ยว
5. รัฐควรแก้ไขด้านภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น
6. ส่งเสริมระบบ Logistics ระบบราง เป็นการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการแข่งขัน
7. รัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร ให้ความรู้ด้านการผลิต วิธีการเก็บเกี่ยวและดูแลเรื่องสินค้าไม่มี คุณภาพ
8. ขอให้กระทรวงพาณิชย์ มีส่วนร่วมในการจัดการฝึกอบรมด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการ เช่น การตลาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การมองตลาดภายในและระหว่างประเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับธุรกิจ
9. ใช้นโยบายการคลังโดยเร่งใช้จ่ายงบประมาณ กระจายลงสู่รากหญ้าและภูมิภาคให้มากขึ้น
10. กระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการเงินปล่อยเงินสู่ระบบเศรษฐกิจ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20-25
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th