รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ไตรมาส 1/2559

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 4, 2016 15:26 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ( Export Business Expectation Index ) ไตรมาส 1/2559 (Q1/2016)

ไตรมาส 1/2559 การส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 204 ราย คาดการณ์ว่าในไตรมาสที่ 1/2559 (มกราคม - มีนาคม) การส่งออกและความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยดัชนี มีค่า 55.5 และ 55.7 ตามลำดับ

ผู้ประกอบการส่งออกคาดว่าการส่งออกในไตรมาส ที่ 1/2559 (มกราคม - มีนาคม) จะดีขึ้น ร้อยละ 22.4 ไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 66.2 และลดลง ร้อยละ 11.4 ทำให้ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก มีค่าเท่ากับ 55.5 แสดงว่าการส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่อุปกรณ์ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ข้าว ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป เครื่องอิเล็กทรอนิกส์

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกลดลงได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน

ในไตรมาสที่ 1/2559 (มกราคม - มีนาคม) ผู้ประกอบการส่งออกคาดการณ์ว่าความสามารถในการแข่งขันจะดีขึ้น ร้อยละ 20.9 ไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 69.7 ร้อยละ 9.5 เป็นผลให้ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน มีค่า 55.7 แสดงว่าผู้ประกอบการส่งออกเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

สินค้าที่คาดว่าความสามารถในการแข่งขัน สูงขึ้น ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ข้าว ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป เครื่องอิเลคทรอนิกส์

สินค้าที่คาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ลดลง ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป

ดัชนีมูลค่าส่งออก

ดัชนีมูลค่าส่งออกเดือนธันวาคม 2558 มีค่าเท่ากับ 42.3 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลงได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา เครื่องอิเลคทรอ นิกส์

ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้นได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ รองเท้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ข้าว อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนธันวาคม 2558 มีค่า 40.6 สินค้าที่มีคำสั่งซื้อใหม่ ลดลงได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา เครื่องอิเลคทรอนิกส์

ส่วนสินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วน ข้าว อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารสำเร็จรูป

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนธันวาคม 2558 มีค่า 45.5 สินค้าคงคลังที่ ลดลงได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา อาหารสำเร็จรูป

ส่วนมูลค่าสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้นได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ข้าว อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เครื่องอิเลคทรอนิกส์

ดัชนีการจ้างงาน
เดือน            %ดีขึ้น     %เท่าเดิม   %ลดลง   ผลต่าง   ดัชนี
ธันวาคม 58        7.9        82.7     9.4    -1.5  49.3
พฤศจิกายน 58      8.7        80.3    11.1    -2.4  48.8
ตุลาคม 58        10.3        80.4     9.3     1.0  50.5

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

ปัญหา
  • อัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ
  • ขาดแคลนแรงงานฝีมือและไร้ฝีมือ
  • ขาดแคลนวัตถุดิบทำให้การผลิตลดลง
  • การส่งออกลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลก

ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • รักษาค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ
  • รัฐบาลควรมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • อบรมแรงงานต่างด้าวให้เป็นแรงงานฝีมือมากขึ้น
  • ขยายข้อตกลง FTA โดยเร็ว

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th


แท็ก การส่งออก   tat  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ