รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 3/2559 (กรกฎาคม - กันยายน 2559)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 25, 2016 14:51 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 3/2559 (กรกฎาคม - กันยายน 2559)

ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในไตรมาสที่ 3/2559 มีแนวโน้มดีขึ้นแต่มีความกังวลต่อความเปราะบางของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อุปสงค์ในประเทศอยู่ในระดับต่ำ

ดัชนี                        Q2/56  Q3/56  Q4/56  Q1/57  Q2/57  Q3/57  Q4/57  Q1/58  Q2/58  Q3/58  Q4/58  Q1/59  Q2/59
สถานการณ์ปัจจุบัน (Q/Q)         46.3   39.5   43.3   38.0   43.0   46.1   44.1   42.0   39.0   37.1   42.9   42.6  42.8
คาดการณ์ไตรมาสถัดไป (NQ)      55.5   56.8   55.2   49.2   61.4   64.5   60.7   54.8   51.6   53.9   57.5   51.2   55.5

จากผลการสำรวจภาวะธุรกิจไตรมาส 2 ปี 2559 ในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 จากผู้ประกอบการจำนวน 1,927 ราย พบว่า ดัชนีภาวะธุรกิจ มีค่า 42.8 สูงกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีค่า 42.6 ค่าดัชนีต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการยังไม่มีความเชื่อมั่น เนื่องจากมีความกังวลต่อความเปราะบางของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อุปสงค์ในประเทศอยู่ในระดับต่ำ การส่งออกลดลง ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ต้นทุนและการแข่งขันสูงขึ้น

ขณะที่ ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจอีก 3 เดือนข้างหน้า มีค่า 55.5 ซึ่งมีค่าสูงกว่าที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 3/2559 มีสัญญาณดีขึ้น จากการลงทุนภาครัฐ อาทิ การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ การท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี สถานการณ์ภัยแล้งเริ่มคลี่คลาย ทำให้ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้น ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายสาขา

เมื่อพิจารณาจากผู้ประกอบการรายสาขา พบว่า สาขาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และก่อสร้าง มีความเห็นว่าภาวะธุรกิจมีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ สาขาพาณิชยกรรม การเงินและประกันภัย และบริการ ที่มีการปรับลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการบริโภคของประชาชนยังฟื้นตัวไม่มากนัก เศรษฐกิจชะลอตัว ต้นทุนและการแข่งขันสูง

สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มดีขึ้นในทุกสาขาสังเกตได้จาก ค่าดัชนีสูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังมีทิศทางที่ดี

ผลสำรวจภาวะธุรกิจรายภาค

ภาวะธุรกิจรายภาคต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน พบว่า ในเกือบทุกภาค ยกเว้น ภาคกลาง มีค่า ผู้ประกอบการเห็นว่าภาวะธุรกิจในปัจจุบันทุกสาขาไม่ดี ยกเว้นสาขาการเงินและประกันภัยเท่านั้น ต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง และต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้น กังวลต่อความเปราะบางของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อุปสงค์ในประเทศอยู่ในระดับต่ำ การส่งออกลดลง อย่างไรก็ตามนักธุรกิจยังมีความคาดหวังว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า เศรษฐกิจจะดีขึ้นในทุกสาขา โดยมีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ต้นทุนและการแข่งขันสูงขึ้น

สำหรับการคาดการณ์อีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ในเกือบทุกภาคยกเว้น ภาคเหนือ ที่มีความเชื่อมั่นลดลง และค่าดัชนีต่ำกว่า 50

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

ความคิดเห็น

1. เศรษฐกิจซบเซา ลูกค้าชะลอการสั่งซื้อทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ

2. ขาดแคลนแรงงาน ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ต้นทุนในการประกอบการสูงขึ้น

3. ยอดขายลดลงจากภาวะภัยแล้ง และเศรษฐกิจภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัว

4. ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้เท่าเดิม

5. ภาคการเกษตร ผลผลิตไม่ดี ราคาตกต่ำ

6. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้าลงทุนเพื่อขยายกิจการ

ข้อเสนอแนะ

1. กำกับดูแลเรื่องภาษีอากร เพื่อเร่งรัดการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ และลดภาษีที่เก็บซ้ำซ้อน

2. ออกมาตรการใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นการก่อสร้าง ซึ่งจะส่งผลให้มีเงินทุนหมุนเวียนในระบบมากขึ้น

3. ควรออกกฎระเบียบหรือมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศจากการนำเข้าสินค้าที่มีการแข่งขันไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ

4. แก้ปัญหาระบบน้ำ และภัยแล้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกร

5. มาตรการที่ออกมาส่วนใหญ่เอื้อประโยชน์ให้ร้านค้าขนาดใหญ่ จึงควรหาวิธีการช่วยเหลือร้านค้าเล็กๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้

6. แก้ไขปัญหาการทับซ้อนในการทำธุรกิจ ลดขั้นตอนการขอใบอนุญาตต่างๆ เพื่อส่งเสริมการค้าให้คล่องตัว

7. ส่งเสริมการขาย โดยให้มีการแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

8. ควรมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน

9. ให้ความรู้แก่เกษตรกร ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เน้นส่งออก

10. จัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยว ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม

11. ควรเร่งมาตรการการลงทุน โดยเฉพาะการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันและ

เกิดแรงจูงใจในการลงทุน

12. ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ

13. รักษาเสถียรภาพทางการเมืองและควรให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว

ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โทร. 0 2507 5805 โทรสาร. 0 2507 5806 / 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: gsurvey@moc.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ