ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก (Export Business Index) ประจำเดือนมีนาคม (March 2017)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 24, 2017 15:19 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก (Export Business Index) ประจำเดือนมีนาคม(March 2017)

Highlights

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออกในไตรมาสที่ 2/2560 (เมษายน-มิถุนายน) ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกและดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยดัชนี มีค่า 65.7 และ 65.0 ได้ผลดังนี้

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออกผู้ประกอบการส่งออกคาดว่าการส่งออก ไตรมาสที่ 2/2560(เมษายน-มิถุนายน) จะดีขึ้นร้อยละ40.9 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 49.6 และลดลงร้อยละ 9.4 ทำให้ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก ไตรมาสที่ 2/2560 มีค่าเท่ากับ 65.7 แสดงว่าการส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสำเร็จรูปและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผลมาจากผู้ประกอบการมีกำลังการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นและได้รับคำสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มขึ้นทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออก

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกลดลงได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการส่งออกคาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ไตรมาสที่ 2/2560 (เมษายน-มิถุนายน) จะดีขึ้น ร้อยละ35.4 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 59.1 และลดลง ร้อยละ 5.5 เป็นผลให้ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน มีค่าเท่ากับ 65.0 แสดงว่าผู้ประกอบการส่งออกเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

สินค้าที่คาดว่าจะมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยางเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็งเชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ สาเหตุหลักมาจากความต้องการของตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น

สินค้าที่คาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ลดลงได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

Highlights

ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนมีนาคม 2560 เท่ากับ57.1 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ในระดับ 50.3 แสดงว่าผู้ส่งออกมีมุมมองว่าภาวะการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 257 ราย มีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้

ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนมีนาคม 2560 มีค่าเท่ากับ 62.6 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกมีทิศทางดีขึ้น สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น ในกลุ่มเอเชียใต้ ออสเตรเลีย และแอฟริกา ทำให้สินค้าส่งออกที่มีมูลค่า เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงานและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลงได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนมีนาคม 2560 มีค่าเท่ากับ 62.4 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลมาจากการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และการขยายตลาดใหม่ที่เพิ่มขึ้น สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลงได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ

ดัชนีการจ้างงาน เดือนมีนาคม 2560 มีค่าเท่ากับ 54.7 แสดงให้เห็นว่าทิศทางการจ้างงานของภาคการส่งออกยังคงมีทิศทางที่ดี โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนมีนาคม 2560 มีค่าเท่ากับ 48.8 แสดงว่าสินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการเร่งระบายสินค้ารุ่นเดิมออกสู่ตลาด และเพิ่มกำลังการผลิตสินค้ารุ่นใหม่ทดแทนสินค้าคงคลังที่ ลดลงได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เชื้อเพลิงและพลังงาน อาหารสำเร็จรูป และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่สินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป และอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

ปัญหา
  • อัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ
  • ขาดแคลนแรงงานทีมีฝีมือและไร้ฝีมือ
  • ขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศและต่างประเทศ
  • ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น
  • การแข่งขันทางด้านราคาและคุณภาพสินค้าจากประเทศคู่แข่ง
ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • รักษาค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ
  • พัฒนาแรงงานให้มีแรงงานที่มีฝีมือเพิ่มมากขึ้น
  • เร่งแก้ไขกฎระเบียบและขั้นตอนในการส่งออกเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า
ภาคผนวก

1. กลุ่มสินค้าเป้าหมายที่ทำการสำรวจมีจำนวน86กลุ่มสินค้า

2. การคำนวณดัชนีเป็นดัชนีการกระจาย(DiffusionIndex)ซึ่งเป็นดัชนีที่มีคุณสมบัติเด่นในการเป็นตัวชี้นำ(leadingindicator)และแสดงทิศทางการเติบโต(growth)ของภาวะธุรกิจจากการแปลงข้อมูลเชิงคุณภาพ(qualitative)ให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ(quantitative)โดยกำหนดค่าคำตอบที่ได้รับจากผู้ตอบแบบสอบถามคือเพิ่มขึ้นให้คะแนนเท่ากับ1เท่าเดิมให้คะแนนเท่ากับ0.5และลดลงให้คะแนนเท่ากับ0จากนั้นนำคะแนนทั้งหมดมารวมกันหารด้วยจำนวนผู้ตอบแบบทั้งหมดแล้วคูณด้วย100จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลาดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ100และค่าต่ำสุดเท่ากับ0

3. การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อแสดงทิศทางเศรษฐกิจภาคการส่งออกใช้เส้นค่า50(breakevenpoint)เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาถ้าผลการคำนวณดัชนีอยู่เหนือเส้น50 แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจดีขึ้นถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น50 แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลงและถ้าดัชนีอยู่ใต้เส้น50แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจแย่ลง

ทั้งนี้ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวหากดัชนีตัดแนวเส้น50ลงมาหมายถึงภาวะธุรกิจแย่ลงหรือชะลอตัวสำหรับในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวถ้าดัชนีตัดแนวเส้น50ขึ้นไปแสดงว่าภาวะธุรกิจดีขึ้นหรือขยายตัว

สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

โทร.0 2507 5799-80 โทรสาร 0 2507 5806, 0 2507 5825

www.price.moc.go.th Email: neworders@moc.go.th


แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ