ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 18, 2024 15:13 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 112.0

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนกุมภาพันธ์ 2566 (YoY)ลดลง-1.1 2. เดือนมกราคม 2567 (MoM)ไม่เปลี่ยนแปลง0.0 3. ช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)ลดลง-1.1 Highlights

          ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เท่ากับ 112.0 เมื่อเทียบกับ         เดือนกุมภาพันธ์ 2566 (YoY)ลดลงร้อยละ 1.1 เป็นผลจากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงตามราคาเหล็กในตลาดเอเชียและจีน ตามการลดลงของราคาวัตถุดิบ (เศษเหล็ก บิลเล็ต) และพลังงาน (ถ่านหิน)  หมวดสุขภัณฑ์ลดลงจากความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐที่ชะลอตัวในช่วงรองบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงและความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงจากราคายางมะตอยที่ปรับลดลงตามราคาปิโตรเลียมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดกระเบื้อง หมวดวัสดุฉาบผิว และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ดัชนีราคาสูงขึ้น

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง ภาพรวมดัชนีราคาเกือบทุกหมวดค่อนข้างทรงตัว หมวดที่ดัชนีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดสุขภัณฑ์ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ขณะที่หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากมีปริมาณเหล็กในตลาดสูงขณะที่ความต้องการใช้ชะลอตัว1. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2566(YoY)ลดลงร้อยละ 1.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้สูงขึ้นร้อยละ5.0 จากการสูงขึ้นของไม้พื้นไม้ฝาไม้แบบไม้โครงคร่าวและเสาเข็มไม้เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (แร่ยิปซั่ม)

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงท่อระบายน้ำคอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จ และคอนกรีตหยาบ ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.6 จากการลดลงของเหล็กฉาก เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย เหล็กตัว Iเหล็กตัว Hและท่อเหล็กดำ ตามการลดลงของราคาวัตถุดิบ (เศษเหล็ก บิลเล็ต) และพลังงาน (ถ่านหิน)

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องเคลือบปูพื้น กระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา และครอบสันโค้ง เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับสูงขึ้น (แร่ยิปซั่ม สี)

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 2.9 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นปูน สีรองพื้นโลหะ และสีน้ำอะครีลิคทาภายในและภายนอก เนื่องจากราคาวัตถุดิบปรับสูงขึ้น (ผงสี กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 2.4 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก และราวจับสแตนเลส ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายไฟฟ้า VCTท่อ PVCและเสาไฟถนน เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธาณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 5.1 จากการลดลงของยางมะตอยที่ลดลงตามราคาปิโตรเลียม และอลูมิเนียมแผ่นเรียบ ลดลงตามราคาวัตถุดิบ (อลูมิเนียม) ที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

2.เทียบกับเดือนมกราคม 2567 (MoM) ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีรายละเอียด ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้หมวดซีเมนต์ หมวดกระเบื้อง และหมวดวัสดุฉาบผิวรวมทุกหมวด0.0 ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.1

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของเหล็กฉาก เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย ท่อสแตนเลส และท่อเหล็กดำ เนื่องจากความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างภาครัฐและเอกชนชะลอตัว

หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของโถส้วมชักโครก ราวจับสแตนเลส และสายฉีดชำระ ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก)

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของเสาไฟถนน หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ เครื่องตัดไฟอัตโนมัติ ข้อต่อท่อประปา และท่อ PE เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น (เม็ดพลาสติก) และความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านสาธาณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 จากการสูงขึ้นของยางมะตอยตามการสูงขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

3. เฉลี่ย 2เดือน (ม.ค. -ก.พ.) ปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA) ลดลงร้อยละ 1.1

หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 5.0

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 5.0 จากการสูงขึ้นของไม้พื้น ไม้ฝา ไม้โครงคร่าว เสาเข็มไม้ และแผ่นไม้อัด เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

หมวดซีเมนต์ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และปูนกาวซีเมนต์ ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (แร่ยิปซั่ม)

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของคอนกรีตหยาบ คอนกรีตผสมเสร็จ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ขอบคันคอนกรีต และรางน้ำคอนกรีต ตามการสูงขึ้นราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์ หิน ทราย)

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.4 จากการลดลงของเหล็กตัวซี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -ผิวข้ออ้อย ท่อสแตนเลส เหล็กตัว Iและเหล็กตัว H เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐชะลอตัว

หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา กระเบื้องเคลือบปูพื้น และครอบสันโค้ง เนื่องจากราคาวัตถุดิบ (ดิน หินแร่ สี) สูงขึ้น และความต้องการใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 2.9 จากการสูงขึ้นของสีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะครีลิคทาภายใน -ภายนอก สีรองพื้นปูน และสีรองพื้นโลหะ ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ (ผงสี กาว)

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 2.7 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก และราวจับสแตนเลส ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง

          หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของ         สายเคเบิล THWสายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายไฟฟ้า VCTและท่อระบายน้ำเสีย PVC เนื่องจากมีความต้องการใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสำนักงานและบ้านพักอาศัยเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 5.0 จากการลดลงของยางมะตอยที่ลดลงตามราคาปิโตรเลียม และอลูมิเนียมแผ่นเรียบลดลงตามราคาวัตถุดิบ (อลูมิเนียม) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมีนาคม 2567 มีแนวโน้มทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา เป็นผลจากราคาน้ำมันมีความผันผวนสูงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และการจำกัดการผลิตของผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก อาจส่งผลให้ต้นทุนราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งสินค้าวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น รวมทั้งปัจจัยหนุนจากการก่อสร้างด้านสาธาณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการใช้สินค้าวัสดุก่อสร้างหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2566 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างยังหดตัวต่อเนื่อง จากฐานราคาในช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ในระดับสูง รวมทั้งโครงการก่อสร้างของภาครัฐที่ชะลอตัว อัตราดอกเบี้ย และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้มีการเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้อุปสงค์ของภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2567ลดลง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ